ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าจอมละม้าย ในรัชกาลที่ 5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าจอมละม้าย ในรัชกาลที่ 5
เกิดละม้าย สุวรรณทัต
พ.ศ. 2399
ถึงแก่กรรม19 มีนาคม 2476
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บิดาพระยาอนุชิตชาญไชย (พึ่ง สุวรรณทัต)
มารดาคุณหญิงเกษร

เจ้าจอมละม้าย ในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2399 - 19 มีนาคม 2476) เป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของพระยาอนุชิตชาญไชย (พึ่ง สุวรรณทัต) ที่เกิดแต่คุณหญิงเกษร ต่อมาได้เข้าถวายตัวต่อรัชกาลที่ 5

ประวัติ

[แก้]

เจ้าจอมละม้าย เป็นธิดาของพระยาอนุชิตชาญไชย (พึ่ง สุวรรณทัต) ที่เกิดแต่คุณหญิงเกษร มีพี่สาวอีกคนชื่อเจ้าจอมจำเริญ ในรัชกาลที่ 5 ท่านทั้งสองเป็นธิดาของพระยาอนุชิตชาญชัย(พึ่ง สุวรรณทัต) จางวางกรมพระตำรวจขวา มารดาชื่อคุณหญิงเกษร เป็นธิดาพระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงคราม (เสือ) ต้นสกุล สุนทรศารทูล คุณจอมละม้ายมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๔ ท่านคือเจ้าจอมจำเริญ เจ้าจอมละม้าย พระยาธรรมศาสตร์นาถประนัย(จุ้ย สุวรรณทัต) และคุณหญิงเชย ภรรยาพระยาอนุชิตชาญชัย (สาย สิงหเสนี) มีประวัติแค่นี้ ไม่มีประวัติเมื่อท่านไปอยู่ในวัง[1]

เจ้าจอมละม้าย ถือเป็นครูสอนนาฏศิลป์ที่มีฝีมือท่านหนึ่ง ท่านได้รับการถ่ายทอดจากละครหลวงสายรัชกาลที่ ๒ เรื่องอิเหนา และเป็นละครหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในช่วงพ.ศ. ๒๔๒๕ เจ้าจอมละม้ายได้เป็นครูละครซ้อมเรื่องอิเหนาให้กับเจ้านายต่าง ๆ ไว้สำหรับการแสดงสมโภชเฉลิมพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท การระบำกิ่งไม้เงินไม้ทองหน้าม่านเป็นการแสดงรูปแบบใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเจ้าจอมละม้ายท่านได้มีท่วงท่าการรำกิ่งไม้เงินกิ่งไม้ทองได้งามเลิศ และยังจัดท่ารำฝรั่งคู่ได้อย่างงดงาม จนการรำเป็นท่าแบบฉบับของเจ้าจอมละม้ายไปในที่สุดคือ ท่ารำฉุยฉายนางถือกิ่งไม้เงินทอง (สองนางเนื้อเหลือง) ไปในที่สุด

เมื่อละครฝ่ายวังสวนกุหลาบเริ่มมีการหัดนางในมีการคัดสรรครูละครหลวงมาต่อท่ารำให้กับละครวังสวนกุหลาบด้วย ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครราชสีมาท่านก็โปรดให้เรียกเจ้าจอมละม้ายเข้ามาสอน เนื่องจากเป็นละครที่ได้รับท่วงท่าสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยลูกศิษย์ที่สอนคือ ครูเฉลย ศุขวณิชย์ (ตัวพระ)[2]

ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เจ้าจอมละม้ายจึงได้ย้ายออกมาพำนักอยู่นอกพระราชวังดุสิต กระทั่งถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2476 อายุ 77 ปี[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5259.0
  2. http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5259.0
  3. ข่าวตาย
  4. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 570. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2020-02-10. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๕, ตอน ๓๙, ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑, หน้า ๑๑๕๓