ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอกะปง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอกะปง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kapong
ลำน้ำในเขตตำบลรมณีย์
ลำน้ำในเขตตำบลรมณีย์
คำขวัญ: 
ม่านหมอกเมืองใต้ ผลไม้นานา
พระนารายณ์ล้ำค่า ศรัทธาหลวงพ่อเซ่ง
แผนที่จังหวัดพังงา เน้นอำเภอกะปง
แผนที่จังหวัดพังงา เน้นอำเภอกะปง
พิกัด: 8°41′48″N 98°24′30″E / 8.69667°N 98.40833°E / 8.69667; 98.40833
ประเทศ ไทย
จังหวัดพังงา
พื้นที่
 • ทั้งหมด588.8 ตร.กม. (227.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด14,397 คน
 • ความหนาแน่น24.45 คน/ตร.กม. (63.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 82170
รหัสภูมิศาสตร์8203
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกะปง หมู่ที่ 2 ตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา 82170
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กะปง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพังงา

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอกะปงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

[แก้]

เดิมอำเภอกะปงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ในท้องที่เมืองตะโกลา (ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า) มีแม่น้ำไหลผ่านหมู่บ้านไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดีย ครั้งโบราณชาวอินเดียนำสำเภาขึ้นมาค้าขายกับหมู่บ้านกะปงนี้เป็นประจำ โดยที่สองฝั่งลำน้ำเป็นที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับพื้นที่เหมาะสมในการทำมาหากิน ราษฎรจากเมืองตะโกลาจึงอพยพมาอยู่มากขึ้น ปัจจุบันลำน้ำดังกล่าวถูกโคลนตมจากการทำเหมืองแร่ไหลทับถมจนตี้นเขินใช้การไม่ได้ เกี่ยวกับการปกครองในขั้นแรกปกครองดูแลโดยมีนายบ้านเป็นหัวหน้า

ในปี ร.ศ.116  ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ ตั้งที่ว่าการอำเภอ ณ หมู่ที่ 2 ตำบลกะปง จัดการปกครองเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2497 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกะปง หมู่ที่ 2 ตำบลกะปง มาตั้งอยู่ที่บ้านปากถัก หมู่ที่ 2 ตำบลท่านา อันเป็นจุดศูนย์กลางของอำเภอกะปง[1] เพื่อสะดวกแก่ประชาชนทุกตำบลที่จะมาติดต่อราชการ ณ ที่ว่าการอำเภอจนถึงปัจจุบันนี้

  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474 ยุบจังหวัดตะกั่วป่า รวมเข้ากับจังหวัดพังงา[2] ทำให้ท้องที่อำเภอกะปง โอนมาขึ้นกับจังหวัดพังงา
  • วันที่ 25 กันยายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลหลังพม่า อำเภอกะปง เป็น ตำบลรมณีย์[3]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 แบ่งการปกครองหมู่ที่ 4,5,6,7 (ในขณะนั้น) ของตำบลกะปง ตั้งขึ้นเป็นตำบลท่านา[4]
  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลท่านา ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่านา[5]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลท่านา เป็นเทศบาลตำบลท่านา[6] ด้วยผลของกฎหมาย

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอกะปงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 22 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[7]
แผนที่
1. กะปง Kapong
4
1,789
Map of Tambon
2. เหมาะ Mo
4
2,503
3. ท่านา Tha Na
4
4,002
4. เหล Le
6
2,962
5. รมณีย์ Rommani
4
3,108

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอกะปงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลท่านา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่านา เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 2
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่านา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะปงทั้งตำบลและตำบลท่านา เฉพาะหมู่ที่ 1, 3–4 และบางส่วนของหมู่ที่ 2
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหมาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหมาะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลรมณีย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรมณีย์ทั้งตำบล

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอกะปง จังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 71 (61 ง): 2099. September 28, 1954.
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 576–578. February 21, 1931. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
  3. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 877–882. September 25, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 80-81. September 20, 1956.
  6. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
  7. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.