ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอกบินทร์บุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอกบินทร์บุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kabin Buri
สนามกีฬาน้อมเกล้ามหาราช
สนามกีฬาน้อมเกล้ามหาราช
คำขวัญ: 
เมืองด่านหนุมาน ประตูสู่อีสานด้านบูรพา
ต้นธาราบางประกง ดงกระเฉดชะลูดน้ำ
เหมืองแร่ทองคำบ่อทอง หนองปลาแขยงแหล่งน้ำ
เขตอุตสาหกรรมที่ดี วัดมากมีคู่เมือง
แผนที่จังหวัดปราจีนบุรี เน้นอำเภอกบินทร์บุรี
แผนที่จังหวัดปราจีนบุรี เน้นอำเภอกบินทร์บุรี
พิกัด: 13°56′48″N 101°42′48″E / 13.94667°N 101.71333°E / 13.94667; 101.71333
ประเทศ ไทย
จังหวัดปราจีนบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,309.3 ตร.กม. (505.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด148,907 คน
 • ความหนาแน่น113.73 คน/ตร.กม. (294.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 25110,
25240 (เฉพาะตำบลเมืองเก่า)
รหัสภูมิศาสตร์2502
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกบินทร์บุรี เลขที่ 999 หมู่ที่ 2 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กบินทร์บุรี เดิมสะกดว่า กระบินทร์บุรี[1] เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวจังหวัด ปัจจุบันเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของภาคตะวันออก

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอกบินทร์บุรีตั้งอยู่ทางตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

[แก้]

อำเภอกบินทร์บุรีมีสถานะเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีที่ว่าการเมืองตั้งอยู่ที่บ้านหนุมาน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2444 ได้ย้ายที่ว่าการเมืองไปอยู่ที่บ้านปากน้ำ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำหนุมานและแม่น้ำพระปรงรวมกันเป็นแม่น้ำปราจีนบุรี และเมื่อมีการปฏิรูประบบการปกครองก็มีสถานะเป็นจังหวัดกระบินทร์บุรีเรื่อยมา

ต่อมาทางราชการเห็นว่าการคมนาคมระหว่างจังหวัดกระบินทร์บุรีและจังหวัดปราจิณบุรีมีความสะดวกมากขึ้นแล้ว จึงมีประกาศเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469 ให้ยุบจังหวัดกระบินทร์บุรีรวมเข้ากับจังหวัดปราจิณบุรีจนถึงปัจจุบัน[2]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอกบินทร์บุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 ตำบล 193 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[3]
1. กบินทร์ Kabin
12
15,306
2. เมืองเก่า Mueang Kao
22
18,101
3. วังดาล Wang Dan
16
7,779
4. นนทรี Nonsi
16
9,619
5. ย่านรี Yan Ri
12
8,464
6. วังตะเคียน Wang Takhian
17
10,889
7. หาดนางแก้ว Hat Nang Kaeo
7
4,374
8. ลาดตะเคียน Lat Takhian
13
11,622
9. บ้านนา Ban Na
11
9,001
10. บ่อทอง Bo Thong
10
6,496
11. หนองกี่ Nong Ki
12
15,835
12. นาแขม Na Khaem
11
5,117
13. เขาไม้แก้ว Khao Mai Kaeo
11
9,283
14. วังท่าช้าง Wang Tha Chang
23
16,466

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองหนองกี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกี่ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกบินทร์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกบินทร์
  • เทศบาลตำบลเมืองเก่า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเมืองเก่าและตำบลกบินทร์
  • เทศบาลตำบลสระบัว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลาดตะเคียน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกบินทร์ (นอกเขตเทศบาลตำบลกบินทร์และเทศบาลตำบลเมืองเก่า)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองเก่า (นอกเขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังดาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังดาลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนนทรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนนทรีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลย่านรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านรีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังตะเคียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหาดนางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดนางแก้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดตะเคียน (นอกเขตเทศบาลตำบลสระบัว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแขมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาไม้แก้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังท่าช้างทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
  • นกเป็ดน้ำหนองปลาแขยง

อยู่ริมถนนสุวรรณศร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33) ระหว่างช่วงอำเภอประจันตคาม-กบินทร์บุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 206-207 ทางซ้ายมือจะมีหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปีจะมีนกเป็ดน้ำมาอาศัยเป็นจำนวนมากนับพันตัว

เขตอุตสาหกรรม

[แก้]
  • เขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี
  • นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคกบินทร์
  • สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี
  • เขตอุตสาหกรรมบ่อทอง (อยู่ระหว่างการพัฒนา)

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
  2. "ประกาศ เรื่อง ยุบจังหวัดกบินทร์บุรีลงเป็นอำเภอขึ้นจังหวัดปราจีน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2012-04-29.
  3. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]