หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
Regional Observatory for the Public, Nakhon Ratchasima
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง16 พฤศจิกายน 2557
สำนักงานใหญ่111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา, ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
  • นางสาวจุลลดา ขาวสะอาด, รักษาการผู้อำนวยการหอดูดาว
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
เว็บไซต์www.narit.or.th

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา เป็นหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนเต็มรูปแบบแห่งแรกของไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีเป้าหมายหลักให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์สำหรับประชาชนและสถานศึกษาในท้องถิ่น สนับสนุนการบริการวิชาการดาราศาสตร์แก่ชุมชน สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการที่สำคัญของภูมิภาค[1]

ประวัติ[แก้]

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552  มีมติเห็นชอบให้สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการก่อสร้างหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน จำนวน 5 แห่ง ในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา ขอนแก่น และพิษณุโลก เพื่อสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ให้ประชาชนในทุกภูมิภาคมีโอกาสในการเรียนรู้ดาราศาสตร์อย่างทั่วถึง และทัดเทียมกัน

2 มิถุนายน 2552  พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง  “การจัดตั้งและดำเนินงานหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน” นครราชสีมา ระหว่าง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

14 ตุลาคม 2552 กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงววงศิลาฤกษ์หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา

16 พฤศจิกายน 2557 กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา

ที่ตั้ง[แก้]

พื้นที่ 25 ไร่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

อาคาร[แก้]

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ภูมิภาค แต่ละแห่งประกอบด้วย

อาคารท้องฟ้าจำลองและนิทรรศการ

  • ส่วนท้องฟ้าจำลอง - มีโดมฉายดาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร ความจุ 44 ที่นั่ง ติดตั้งเครื่องฉายดาวระบบฟูลโดมดิจิทัล ความละเอียด 25 ล้านพิเซล รองรับการฉายภาพที่มีลักษณะหลากหลายและฉายสื่อการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์มาตรฐานโลก ฉายภาพยนตร์ดาราศาสตร์ และเรียนรู้การดูดาวเบื้องต้น
  • ส่วนจัดแสดงนิทรรศการความรู้ทางดาราศาสตร์ - นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์แบบ Interactive จำนวน 14 โซน

อาคารหอดูดาว เป็นอาคารสองชั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  • ส่วนของโดมไฟเบอร์กลาสทรงเปลือกหอย (Clamshell dome) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 ฟุต สามารถเปิดออกได้ 180 องศา ทำให้เห็นท้องฟ้าได้โดยรอบ ภายในโดมทรงเปลือกหอยนี้ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์หลักชนิดสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร
  • ด้านข้างเป็นระเบียงดาวมีหลังคาเลื่อนทรงสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 3.5 เมตร ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาด 14 นิ้ว จำนวน 2 ตัว กล้องโทรทรรศน์ขนาด 6 นิ้ว จำนวน 2 ตัว และกล้องดูดวงอาทิตย์อีก 1 ตัว โดยควบคุมการปิด-เปิด หลังคาเลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้า[2]

พื้นที่การเรียนรู้ภายนอกอาคาร

การให้บริการ[แก้]

  • บริการถ่ายทอดความรู้ทางดาราศาสตร์
  • ให้บริการสารสนเทศดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
  • จัดค่ายดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน นักศึกษา และสถาบันการศึกษา
  • สนับสนุนการทำงานวิจัยดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน นักศึกษา และสถาบันการศึกษา
  • จัดอบรมครูดาราศาสตร์
  • จัดกิจกรรมดูดาว สังเกตวัตถุท้องฟ้า

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-23. สืบค้นเมื่อ 2014-05-04.
  2. http://www.narit.or.th/index.php/nma/astronomy-equipment เก็บถาวร 2015-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กล้องโทรทรรศน์ภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]