สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฤดูกาล 1994–95
ฤดูกาล 1994–95 | ||||
---|---|---|---|---|
ประธานสโมสร | มาร์ติน เอ็ดเวิดส์ | |||
ผู้จัดการทีม | อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน | |||
กัปตันทีม | สตีฟ บรูซ | |||
สนาม | โอลด์แทรฟฟอร์ด | |||
พรีเมียร์ลีก | รองแชมป์ | |||
ผู้เข้าชมในบ้านเฉลี่ย | 43,682 คน | |||
| ||||
ฤดูกาล 1994–95 เป็นฤดูกาลที่สามของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในพรีเมียร์ลีก และเป็นฤดูกาลที่ 20 ติดต่อกันในลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ[1]
ยูไนเต็ดได้เดวิด เมย์จากแบล็กเบิร์นโรเวอส์ในช่วงต้นฤดูกาล จากนั้นพวกเขาก็ซื้อแอนดี โคลจากนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ในเดือนมกราคมด้วยค่าตัวเป็นสถิติของอังกฤษในช่วงเวลานั้นที่ 7 ล้านปอนด์ (เงินสด 6 ล้านปอนด์บวกคีธ กิลเลสพี มูลค่า 1 ล้านปอนด์ในฐานะผู้เล่นที่สลับไปเล่นให้กับนิวคาสเซิล) ในเดือนนั้น เอริก ก็องโตนาได้รับใบแดงในเกมเยือนคริสตัลพาเลซ จากการยั่วยวนของแฟนพาเลซนาม แมทธิว ซิมมอนส์ ก็องโตนาหลุดจากมือของนอร์แมน เดวีส์ ขณะที่เขากำลังพาออกจากสนาม และปล่อยกังฟูคิกใส่ซิมมอนส์ ก็องโตนาถูกแบน 8 เดือนและปรับ 20,000 ปอนด์โดยสโมสรของเขาและอีก 10,000 ปอนด์โดยสมาคมฟุตบอล
หลังจากจบฤดูกาล ยูไนเต็ดได้ขายพอล อินซ์ให้กับอินเตอร์ มิลาน และมาร์ก ฮิวส์ ให้กับเชลซี ในขณะที่อังเดร แคนเชลสกี ถูกขึ้นบัญชีขายและในที่สุดก็ตกลงย้ายไปเอฟเวอร์ตัน
เหตุการณ์ในฤดูกาล
[แก้]พรีซีชั่น
[แก้]การเซ็นสัญญาครั้งสำคัญของยูไนเต็ดในช่วงปิดฤดูกาลคือ เดวิด เมย์ ปราการหลังวัย 24 ปีของแบล็กเบิร์นโรเวอส์ ด้วยค่าตัว 1.4 ล้านปอนด์[2] โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากกัปตันทีมที่มีอายุมากแล้วอย่างสตีฟ บรูซในตำแหน่งเซ็นเตอร์แบ็ค ซึ่งเมย์เองก็สามารถเล่นแบ็คขวาได้ด้วย[3] นอกจากนี้ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ยังเพิ่มผู้เล่นสำรองด้วยการซื้อ แกรม ทอมลินสัน กองหน้าแบรดฟอร์ดซิตี วัย 18 ปี ด้วยค่าตัว 100,000 ปอนด์[4]
"กัปตันมาร์เวล" ไบรอัน ร็อบสันออกจากสโมสรเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 1993–94 หลังจาก 13 ปีที่ยูไนเต็ดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 เพื่อมาเป็นผู้เล่น-ผู้จัดการทีมของมิดเดิลส์เบรอ[5] โดยมีสตีฟ บรูซเป็นกัปตันทีมแทน เคลย์ตัน แบล็กมอร์ ผู้เล่นอีกคนที่รับใช้สโมสรมายาวนานกว่าทศวรรษ พลาดการลงเล่นตลอดทั้งฤดูกาล 1993–94 เนื่องจากอาการบาดเจ็บ ได้กลับมาร่วมงานกับร็อบสันอีกครั้งที่มิดเดิลส์เบรอ[6]
เลส ซีลีย์ ผู้รักษาประตูมือ 2 ย้ายทีมแบบไม่มีค่าตัว โดยเป็นผู้รักษาประตูให้กับยูไนเต็ด 2 ครั้งในช่วง 18 เดือนตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1989[7] เช่นเดียวกับเพื่อนร่วมทีม ไมค์ ฟีแลน ซึ่งเล่นตำแหน่งกองกลางมา 5 ปีหลังย้ายมาจากนอริช[8] หลังจากเริ่มต้นฤดูกาล นีล วิทเวิร์ธ[9] กองหลังและคอลิน แม็คคี กองหน้าก็มุ่งหน้าออกจากถิ่นโอลด์แทรฟฟอร์ดเพื่อเซ็นสัญญากับคิลมาร์น็อคในสกอตติชพรีเมียร์ลีก[10]
มีการสับเปลี่ยนหมายเลขผู้เล่นภายในทีม เดวิด เมย์ สวมเสื้อหมายเลข 12 แทนที่ ไบรอัน ร็อบสัน อดีตกัปตันทีมที่ออกจากสโมสรไป
สิงหาคม
[แก้]ฤดูกาลของยูไนเต็ดเริ่มต้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1994 ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ โดยพวกเขาพบกับแบล็กเบิร์นโรเวอส์ในเอฟเอแชริตีชีลด์ (ปัจจุบันคือเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์) พวกเขาชนะ 2-0 จากจุดโทษของเอริก ก็องโตนา และอีกประตูจากพอล อินซ์[11] การป้องกันแชมป์ลีกของพวกเขาเริ่มต้นในอีก 6 วันต่อมาที่โอลด์แทรฟฟอร์ด ซึ่งพวกเขาพบกับควีนส์พาร์กเรนเจอส์ และคว้าชัยชนะ 2-0 เสมอ 1-1 กับนอตทิงแฮมฟอเรสต์ ที่เพิ่งเลื่อนชั้นกลับขึ้นมาอีกครั้ง ก่อนจะชนะทอตนัมฮอตสเปอร์ 1-0 และสุดท้ายเปิดบ้านเอาชนะวิมเบิลดัน 3-0 โดยยูไนเต็ดรั้งอันดับ 2 เมื่อสิ้นเดือนหลังจากผ่านไป 4 นัดโดยมีเพียงนิวคาสเซิลยูไนเต็ดเท่านั้นที่นำหน้าพวกเขา[12]
กันยายน
[แก้]ความท้าทายในลีกของยูไนเต็ดยังคงดำเนินต่อไป และพวกเขาก็เริ่มความท้าทายในลีกคัพและแชมเปียนส์ลีกด้วย ในวันที่ 11 กันยายน พวกเขาแพ้นัดแรกของฤดูกาล โดยแพ้ 1-2 ให้กับลีดส์ยูไนเต็ด พวกเขายังแพ้เกมเยือนนัดถัดไปคือ แพ้ 2-3 สุดช็อกต่ออิปสวิชทาวน์ที่กำลังดิ้นรน สำหรับผู้ทำประตูให้ยูไนเต็ดในเกมนั้นคือพอล สโคลส์ กองหน้าวัย 19 ปี ซึ่งทำ 2 ประตูเมื่อ 3 วันก่อนหน้าในการแข่งขันนัดเปิดตัวในลีก คัพ รอบ 2 เลกแรกที่เวล พาร์ค ซึ่งพวกเขาเอาชนะพอร์ตเวล 2-1[13] ภารกิจแชมเปี้ยนส์ลีกของพวกเขาเริ่มต้นจากการเอาชนะ IFK โกเธบอร์กของสวีเดน 4-2 ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด ในนัดแรกของกลุ่ม แม้ว่าพวกเขาจะเสมอแบบไร้สกอร์ในอิสตันบูลกับกาลาตาซาราย (ที่เคยเขี่ยพวกเขาตกรอบน็อคเอาท์รอบ 2 เมื่อฤดูกาลที่แล้ว) ในรอบถัดมา
ตุลาคม
[แก้]เดือนตุลาคมเป็นอีกเดือนที่ผสมผสานกันสำหรับยูไนเต็ด ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเปิดบ้านเอาชนะเอฟเวอร์ตัน 2-0 ก่อนจะแพ้ต่อเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ 0-1 ในเกมถัดมา จากนั้นพวกเขาก็เปิดบ้านเอาชนะเวสต์แฮมยูไนเต็ด 1-0 ตามด้วย 4 วันต่อมาเสมอกับบาร์เซโลนายักษ์ใหญ่ของสเปน 2-2 ในเกมแชมเปี้ยนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่มนัดที่สามที่โอลด์แทรฟฟอร์ด จากนั้นพวกเขาเดินทางไปที่อีวูดพาร์ก พบกับคู่แข่งแย่งตำแหน่งแชมป์ลีกคือ แบล็กเบิร์นโรเวอส์ ภายใต้การคุมทีมของเคนนี แดลกลีช ซึ่งพวกเขาชนะ 4-2 โดยได้ 2 ประตูจากอังเดร แคนเชลสกี ปีกชาวรัสเซีย แต่พวกเขายังต้ามหลังจ่าฝูงคือนิวคาสเซิลยูไนเต็ด 7 คะแนนและรองจ่าฝูงคือนอตทิงแฮมฟอเรสต์ 5 คะแนน[14]
จากนั้นพวกเขาก็ตกรอบลีกคัพด้วยการบุกไปแพ้นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 0-2 ในรอบที่ 3 แต่ก็ล้างแค้นทีมนิวคาสเซิลในลีกได้ในอีก 3 วันต่อมาด้วยการชนะ 2-0 ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด ซึ่งหมายความว่าพวกเขาตามหลังนิวคาสเซิ่ล 4 แต้มเมื่อสิ้นเดือน[15]
พฤศจิกายน
[แก้]พฤศจิกายนนำมาซึ่งผลงานที่เอาแน่เอานอนไม่ได้สำหรับยูไนเต็ด เริ่มต้นเดือนด้วยการถล่มบาร์เซโลนา 4-0 ในแชมเปียนส์ลีก พวกเขากลับมาในลีก 4 วันต่อมาด้วยการชนะ 2-1 เหนือแอสตันวิลลาเพียงไม่กี่วันก่อนที่รอน แอตกินสันอดีตผู้จัดการทีมยูไนเต็ดจะถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมวิลลา จากนั้นมาเปิดบ้านเอาชนะแมนเชสเตอร์ซิตี 5-0 ในเกมแมนเชสเตอร์ดาร์บีที่โอลด์แทรฟฟอร์ด ซึ่ง อังเดร แคนเชลสกี ทำแฮตทริกได้ ทำให้ไล่จี้นิวคาสเซิลซึ่งนำเป็นจ่าฝูงของพรีเมียร์ลีกเหลือเพียง 2 แต้ม[16] พวกเขายังคว้าชัยชนะเหนือคริสตัล พาเลซ 3-0 ในเกมนัดถัดมา ซึ่งถูกบดบังด้วยอาการบาดเจ็บที่หลังของผู้รักษาประตูมือหนึ่ง พีเตอร์ สไมเกิล ซึ่งทำให้เขาต้องพักรักษาตัวใน 10 นัดถัดไปในลีก โดยผู้รักษาประตูมือ 2 แกรี วอลช์ ลงเล่นแทน และมี เควิน พิลคิงตัน ผู้รักษาประตูหนุ่มมือ 3 นั่งสแตนด์บาย[17]
ยูไนเต็ดประสบความพ่ายแพ้ที่น่าอับอายที่สุดของฤดูกาลในวันที่ 23 พฤศจิกายน เมื่อพวกเขาออกไปเยือนโกเตนเบิร์กในการแข่งขันแชมเปี้ยนส์ลีกนัดที่ 5 และจบลงด้วยความพ่ายแพ้ 1-3 ซึ่งพอล อินซ์โดนใบแดง ผลลัพธ์ทำให้พวกเขาต้องการปาฏิหาริย์เพื่อเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ มีความเป็นไปได้หาก โกเตนเบิร์ก สามารถเอาชนะบาร์เซโลนา ในเกมนัดสุดท้ายของกลุ่มได้ เช่นเดียวกับที่ยูไนเต็ดต้องเอาชนะกาลาตาซารายที่โอลด์แทรฟฟอร์ด[18]
เดือนนั้นจบลงด้วยการเสมอกันแบบไร้สกอร์กับอาร์เซนอลที่อาร์เซนอลสเตเดียม (ไฮบิวรี) ซึ่งมาร์ก ฮิวส์โดนใบแดงและพอล อินซ์ ถูกหามออกจากสนามหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าจากการสกัดกั้นการยิงของยอห์น เจนเซ่น มิดฟิลด์ของอาร์เซนอลและทีมชาติเดนมาร์ก
ธันวาคม
[แก้]แม้ว่าจะเปิดบ้านเอาชนะกาลาตาซาราย 4-0 โดยได้ประตูแรกและประตูที่สองจากกองกลางดาวรุ่งอย่าง เดวิด เบ็คแคม และไซมอน เดวีส์ (อย่าสับสนกับไซมอน เดวีส์ ที่เล่นกับทอตนัมฮอตสเปอร์) พวกเขาตกรอบแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม แต่อย่างน้อยก็ทำให้พวกเขามีสมาธิกับการป้องกันแชมป์พรีเมียร์ลีก
เดือนธันวาคมทำให้ยูไนเต็ดมีผลงานที่แข็งแกร่งมากขึ้นในลีก เมื่อพวกเขาเอาชนะนอริชซิตี, ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ และเชลซี อย่างไรก็ตามพวกเขาพ่ายแพ้ในบ้านนัดแรกในรอบ 9 เดือนในวันที่ 17 ธันวาคมเมื่อพวกเขาแพ้ 1-2 ให้กับนอตทิงแฮมฟอเรสต์[19] พวกเขาทำให้โอกาสหลุดลอยอีกครั้งในวันที่ 28 ธันวาคมเมื่อพวกเขาเสมอกันในบ้าน 1-1 กับเลสเตอร์ซิตีอันดับรองสุดท้าย[20] พวกเขาจบปีด้วยการเสมอกับเซาแทมป์ตัน 2-2 ซึ่งนิคกี บัตต์กองกลางวัย 19 ปีทำประตูแรกของเขาให้ทีมชุดใหญ่
มกราคม
[แก้]ค.ศ. 1995 เริ่มต้นด้วยชัยชนะในบ้านเหนือคอเวนทรีซิตี 2-0 ในลีก ตามด้วยการเริ่มต้นภารกิจเอฟเอคัพของพวกเขาที่บรามอลล์เลน ซึ่งพวกเขาเอาชนะเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด 2-0 ในรอบที่ 3
หลังจากล้มเหลวในการคว้าตัวสแตน คอลลีมอร์[21] กองหน้าของนอตทิงแฮมฟอเรสต์ ยูไนเต็ดก็ทำลายสถิติการย้ายทีมในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1995 ด้วยค่าตัว 7 ล้านปอนด์ในการเซ็นสัญญาคว้าตัวแอนดี โคล กองหน้าวัย 23 ปีจากนิวคาสเซิลยูไนเต็ด โคลซึ่งเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 1993-94 ด้วยจำนวน 34 ประตูและทำไปแล้ว 9 ประตูในฤดูกาล 1994-95 ทำให้ยูไนเต็ดต้องจ่ายเงินสดให้นิวคาสเซิ่ล 6 ล้านปอนด์บวกกับคีธ กิลเลสพี ปีกทีมชาติไอร์แลนด์เหนือที่มีมูลค่า 1 ล้านปอนด์ โดยยูไนเต็ดมอบเสื้อหมายเลข 17 ให้กับโคล[22] 5 วันต่อมา ทั้ง 2 สโมสรพบกันที่เซนต์เจมส์พาร์กในลีก แต่ผู้เล่นทั้ง 2 คนคือโคลและกิลเลสพีไม่ได้ลงสนามให้กับทีมใหม่ในการแข่งขันที่จบลงด้วยผลเสมอ 1-1 ยูไนเต็ดได้ประตูขึ้นนำไปก่อนจากมาร์ก ฮิวส์ ซึ่งได้รับบาดเจ็บที่หัวเข่าและไม่ได้ลงสนามจนถึงเดือนถัดมา ก่อนที่นิวคาสเซิลจะตีเสมอจากพอล คิทสัน ชายผู้เข้ามาแทนที่โคลในเกมรุกของนิวคาสเซิล
เมื่อวันที่ 22 มกราคม ยูไนเต็ดเปิดบ้านรับแบล็กเบิร์น ซึ่งยังคงเป็นจ่าฝูงของตารางที่โอลด์แทรฟฟอร์ด ประตูชัยของเอริก ก็องโตนา ทำให้พวกเขาเอาชนะเกมนี้ไปได้ 1-0 ตามแบล็คเบิร์นเหลือ 2 แต้ม[23]
25 มกราคม ค.ศ. 1995 เกิด 1 ในเหตุการณ์ที่เป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในนาทีที่ 48 ของเกมลีกที่เสมอกับคริสตัลพาเลซ 1-1 ที่เซลเฮิสต์พาร์ก เอริก ก็องโตนาโดนใบแดงจากการเตะใส่ริชาร์ด ชอว์ กองหลังของพาเลซ และจากนั้นก็ถูกแมทธิว ซิมมอนส์ซึ่งเป็นแฟนพาเลซใช้วาจาเหยียดหยาม เขาตอบกลับการเย้ยหยันด้วยการกระโดดกังฟูคิกใส่ซิมมอนส์วัย 21 ปีและแลกหมัดกัน ภายใน 48 ชั่วโมง สโมสรได้ปรับก็องโตนา 20,000 ปอนด์ ในขณะที่พาเลซสั่งห้ามซิมมอนส์เข้าสนามตลอดชีวิต และยูไนเต็ดสั่งพักก็องโตนาจากทีมชุดใหญ่ตลอดฤดูกาลที่เหลือ[24] ไม่นานสมาคมฟุตบอลได้ขยายการแบนเป็น 8 เดือน (จนถึง 30 กันยายน ค.ศ. 1995) และปรับเขาอีก 10,000 ปอนด์
ทีม
[แก้]ผู้รักษาประตู
[แก้]- (1) พีเตอร์ สไมเกิล
- (13) แกรี วอลช์
- (25) เควิน พิลคิงตัน
กองหลัง
[แก้]- (2) พอล พาร์กเกอร์
- (3) เดนิส เออร์วิน
- (4) สตีฟ บรูซ (c)
- (6) แกรี พัลลิสเตอร์
- (12) เดวิด เมย์ (สวมแทนไบรอัน ร็อบสัน ที่ย้ายออกไป)
- (23) ฟิล เนวิล
- (27) แกรี เนวิล
กองกลาง
[แก้]- (5) ลี ชาร์ป
- (8) พอล อินซ์
- (11) ไรอัน กิ๊กส์
- (14) อังเดร แคนเชลสกี
- (16) รอย คีน
- (19) นิคกี บัตต์
- (24) พอล สโกลส์
- (28) เดวิด เบ็คแคม
กองหน้า
[แก้]- (7) เอริก ก็องโตนา
- (9) ไบรอัน แมคแคลร์
- (10) มาร์ก ฮิวส์
- (15) แกรม ทอมลินสัน
- (17) แอนดี้ โคล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Manchester United Season 1994/95". StretfordEnd.co.uk. สืบค้นเมื่อ 13 June 2008.
- ↑ "Sporting Heroes".
- ↑ "May's Days". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2010. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ "Graeme Murdoch Tomlinson".
- ↑ "Manchester United Legends".
- ↑ "Sporting Heroes".
- ↑ "Sporting Heroes".
- ↑ "Sporting Heroes".
- ↑ "Neil Anthony Whitworth".
- ↑ "Colin McKee".
- ↑ "1994/95 Charity Shield".
- ↑ "F.A. Carling Premiership 1994/1995. Historical league standings at 31st August 1994".
- ↑ "Yaya Toure not fit to lace Paul Scholes' boots". Manchester Evening News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2023-03-23.
- ↑ "F.A. Carling Premiership 1994/1995. Historical league standings at 23rd October 1994".
- ↑ "F.A. Carling Premiership 1994/1995. Historical league standings at 29th October 1994".
- ↑ "F.A. Carling Premiership 1994/1995. Historical league standings at 10th November 1994".
- ↑ "Schmeichel out for six weeks". New Straits Times.
- ↑ "UEFA Champions League 94/95 / IFK Gothenburg vs Man Utd". Statbunker.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ "F.A. Carling Premiership 1994/1995. Historical league standings at 17th December 1994".
- ↑ "F.A. Carling Premiership 1994/1995. Historical league standings at 28th December 1994".
- ↑ "Stan Collymore factfile". The Guardian. London. 7 March 2001.
- ↑ "Hot shot Cole Now a Red Devil". New Straits Times.
- ↑ "F.A. Carling Premiership 1994/1995. Historical league standings at 22nd January 1995".
- ↑ "1995: Cantona banned over attack on fan". BBC News. 27 January 1995.