ไบรอัน แมคแคลร์
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | ไบรอัน จอห์น แมคแคลร์[1] | ||
วันเกิด | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 | ||
สถานที่เกิด | เบลส์ฮิลล์ | ||
ตำแหน่ง | กองหน้า, กองกลาง | ||
สโมสรเยาวชน | |||
1980–1981 | แอสตันวิลลา | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
1981–1983 | มาเธอร์เวลล์ | 40 | (15) |
1983–1987 | กลาสโกว์ เซลติก | 145 | (99) |
1987–1998 | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | 355 | (88) |
1998 | มาร์เธอร์เวลล์ | 11 | (0) |
รวม | 551 | (202) | |
ทีมชาติ | |||
1983–1985 | สกอตแลนด์ ยู-21 | 8 | (2) |
1986–1993 | ทีมชาติสกอตแลนด์ | 30 | (2) |
1990 | สกอตแลนด์ บี | 1 | (0) |
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
ไบรอัน จอห์น แมคแคลร์ (อังกฤษ: Brian John Mcclair; เกิด 8 ธันวาคม 1963) เป็นโค้ชฟุตบอลและอดีตนักฟุตบอลอาชีพชาวสกอตแลนด์ ในฐานะผู้เล่น เขาเป็นกองหน้าตั้งแต่ปี 1980 ถึง 1998 มีผลงานโดดเด่นจากการลงเล่นเกือบ 11 ปีกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด โดยเขาคว้าถ้วยรางวัล 14 รายการ รวมถึงแชมป์พรีเมียร์ลีก 4 สมัย เอฟเอคัพ 2 สมัย และยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพ
รวมถึงเป็นผู้เล่นคนสำคัญของกลาสโกว์เซลติก และมาเธอร์เวลล์ ที่มาเธอร์เวลล์ เขาผสมผสานฟุตบอลเข้ากับการเรียนคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์[2] เขามีชื่อเล่นว่า "ชอคซี" เนื่องจากนามสกุลของเขาคล้องจองกับ "เอแกลร์ช็อกโกแลต" อันโอชะ[3]
แมคแคลร์ลงเล่นให้ทีมชาติสกอตแลนด์ 30 นัดระหว่างปี 1986 ถึง 1993 และได้รับเลือกให้ติดทีมในยูโร 92
หลังจากแขวนสตั๊ดกับมาเธอร์เวลล์ในปี 1998 แมคแคลร์เริ่มต้นรับบทบาทโค้ชที่แบล็กเบิร์นโรเวอส์ ก่อนจะกลับมาที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งเขาใช้เวลา 9 ปีในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเยาวชน
ระดับสโมสร
[แก้]เริ่มต้นอาชีพ
[แก้]แมคแคลร์เริ่มต้นอาชีพของเขากับแอสตันวิลลาเมื่อออกจากโรงเรียนในปี ค.ศ. 1980 แต่ออกจากสโมสรหลังจากอยู่ได้เพียง 1 ฤดูกาล (ซึ่งฤดูกาลนั้นวิลลาเป็นแชมป์ฟุตบอลลีกครั้งสุดท้าย) โดยไม่เคยลงเล่นเลยแม้แต่นัดเดียว
จากนั้นเขาก็กลับไปสกอตแลนด์ในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1981 และเซ็นสัญญากับมาเธอร์เวลล์[4] ในตอนแรกเขาเป็นกองกลาง แต่จ็อก วอลเลซ ผู้จัดการทีมในเวลานั้น เปลี่ยนให้เขาเป็นกองหน้า[5] แมคแคลร์ทำประตูในลีก 15 ประตูใน 2 ฤดูกาล รวมถึงแฮตทริกที่เฟอร์พาร์คในเกมชนะกลาสโกว์เรนเจอส์ 3–0 เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1983[6] และสองประตูในเกมชนะกลาสโกว์เซลติก 2–1 ในอีก 11 วันต่อมา[7]
กลาสโกว์เซลติก
[แก้]ในเดือนพฤษภาคม 1983 บิลลี แมคนีล อดีตกัปตันทีมเซลติกที่นำสโมสรคว้าแชมป์ยูโรเปียนคัพในปี 1967 ซึ่งขณะนั้นเขาเป็นผู้จัดการทีมของเซลติกได้เซ็นสัญญากับแมคแคลร์เข้าสู่สโมสรด้วยค่าตัว 100,000 ปอนด์ แม็คแคลร์เป็นผู้เล่นที่เซ็นสัญญาเข้ามาแทนที่ชาร์ลี นิโคลัสที่เพิ่งขายให้กับอาร์เซนอล[8] อย่างไรก็ตาม แมคแคลร์ไม่เคยเล่นให้กับแมคนีลเนื่องจาก แมคนีลลาออกในเดือนมิถุนายนและถูกแทนที่ด้วยเดวี่ เฮย์[8]
แมคแคลร์ทำประตูได้ในเกมเปิดตัวที่พบกับพาร์ทิค ธิสเซิล ซึ่งเซลติกชนะ 2–0 ที่เฟอร์ฮิลล์ในศึกกลาสโกว์คัพเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1983[9] แมคแคลร์จบฤดูกาลแรกที่เซลติกได้อย่างน่าประทับใจ โดยยิงได้ 32 ประตูและสร้างชื่อเสียงให้ตัวเองในฐานะผู้เล่นทีมชุดใหญ่ ยิง 4 ประตูใส่ดันดีในเกมชนะ 6–2 ในเดือนกันยายน[10][11] ประตูลากเข้าไปยิงในเกมชนะสปอร์ติงลิสบอน 5–0 ในยูฟ่าคัพ[12] และประตูในเกมเอาชนะเรนเจอส์ 3–2 ในช่วงต่อเวลาพิเศษในลีกคัพรอบชิงชนะเลิศในเดือนมีนาคม 1984[13] เน้นความสามารถในการทำประตูของแมคแคลร์
ในฤดูกาลถัดมา โม จอห์นสตัน มาจากวอตฟอร์ด แม้ว่าพวกเขาจะมีบุคลิกที่ต่างกัน แต่แมคแคลร์และจอห์นสตันก็กลายเป็นคู่หูสุดอันตรายที่ทำประตูได้มากมายให้กับเซลติก[8][14] แมคแคลร์ยังคงยิงประตูให้เซลติกอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อจบฤดูกาลก็ได้รับเหรียญแชมป์เป็นครั้งแรก โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองในเกมที่เซลติกชนะดันดียูไนเต็ด 2–1 ในนัดชิงสกอตติชคัพปี 1985[15]
แม้จะมีการแข่งขันจาก Alan McInally และ Mark McGhee แต่แมคแคลร์และจอห์นสตันยังคงเป็นผู้เล่นตัวจริงในแดนหน้าของเซลติก ประตูของพวกเขาช่วยให้เซลติกคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาล 1985–86; ชัยชนะ 5–0 ที่น่าจดจำเหนือเซนต์ เมียร์เรนที่เลิฟสตรีทในวันสุดท้ายของฤดูกาลโดยที่แมคแคลร์และจอห์นสตันทำคนละ 2 ประตู ขณะที่ฮาร์ทส์ที่เป็นคู่ปรับแย่งแชมป์แพ้ดันดี 0-2[16]
ฤดูกาล 1986–87 เป็นฤดูกาลสุดท้ายของแมคแคลร์ที่เซลติก แม้จะออกสตาร์ทฤดูกาลได้อย่างสดใส แต่ฟอร์มของทีมก็เริ่มแผ่วลงในช่วงฤดูหนาวและพวกเขาถูกทิ้งห่างถึง 9 แต้ม ซึ่งแชมป์ลีกในฤดูกาลนั้นคือเรนเจอส์ ลีกคัพนัดชิงชนะเลิศแพ้ให้กับเรนเจอส์ (แม้แมคแคลร์จะทำประตูได้)[17] และแพ้ในรอบ 4 ต่อฮาร์ตส์ในสกอตติชคัพในฐานะแชมป์เก่าทำให้เซลติกจบฤดูกาลโดยไม่มีถ้วยรางวัลใด ๆ แม้ว่าเซลติกจะขาดความสำเร็จ แต่แมคแคลร์ก็ประสบความสำเร็จในปีนั้น เขายิงได้ทั้งหมด 41 ประตู จบด้วยการเป็นดาวซัลโวสูงสุดในลีกด้วยจำนวน 35 ประตู และคว้าทั้งรางวัลนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอลสกอตและรางวัลผู้เล่นแห่งปีของสกอตแลนด์[18]
ใน 4 ฤดูกาลกับเซลติก แม็คแคลร์ลงเล่น 204 นัดในทุกรายการและยิงได้ 126 ประตู[19][20] เขาคว้าแชมป์สกอตติชคัพในปี 1985 และสกอตติชพรีเมียร์ดิวิชั่นในปี 1986[21]
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
[แก้]แมคแคลร์เข้าร่วมทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1987 ด้วยค่าตัว 850,000 ปอนด์ ในตอนแรกเซลติกต้องการ 2 ล้านปอนด์ ซึ่งเป็นค่าตัวที่จะทำให้เขาเป็นผู้เล่นที่มีค่าตัวแพงที่สุดในขณะนั้น ในขณะที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเสนอเพียง 400,000 ปอนด์เท่านั้น
หลังจากแขวนสตั๊ด
[แก้]หลังจากแขวนสตั๊ดเขาได้ไปเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมแบล็คเบิร์น โรเวอร์สในฤดูกาล 1998-99 และหลังจากนั้นก็ได้มาเป็น ผ.อ.ศูนย์ฝึกเยาวชนของทีมปีศาจแดงจนถึงปี ค.ศ. 2015
เกียรติประวัติ
[แก้]- สกอตติช พรีเมียร์ลีก(1): 1985-86
- สกอตติช คัพ(1): 1984-85
- พรีเมียร์ลีก (4): 1992-93,1993-94,1995-96,1996-97
- เอฟเอ คัพ (2): 1989-90,1993-94
- ลีก คัพ (1) : 1991-92
- คอมมูนิตี้ ชิลด์ (5) : 1990,1993,1994,1996,1997
- ยูฟ่า คัพวินเนอร์ส คัพ (1) : 1990-91
- ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ (1) : 1991
ส่วนตัว
[แก้]- ผู้เล่นแห่งปีเซอร์แมตต์ บัสบี (2) : 1987–88,1991–92
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ไบรอัน แมคแคลร์". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2017.
- ↑ "Fashion Raiders: Brian McClair has been one of the Bhoys". Trendraiders.blogspot.co.uk. 3 August 2010. สืบค้นเมื่อ 6 August 2013.
- ↑ "Choccy: Brian McClair The Manchester United striker earned his nickname not". The Independent. London. 17 August 2011. สืบค้นเมื่อ 6 August 2013.
- ↑ "Brian McClair". สืบค้นเมื่อ 29 October 2021.
- ↑ Quinn, John (28 April 1987). "Buy of the century". Evening Times. p. 38. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
- ↑ Reynolds, Jim (4 January 1983). "A lesson in determination for Rangers". The Glasgow Herald. p. 14. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
- ↑ Paul, Ian (17 January 1983). "Celtic victims of own fury". The Glasgow Herald. p. 18. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "The Celtic Underground". The Celtic Underground. สืบค้นเมื่อ 6 August 2013.
- ↑ Reynolds, Jim (10 August 1983). "Celtic find a new striking partnership". The Glasgow Herald. p. 19. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
- ↑ "Fitbastats". Fitbastats.com.
- ↑ Linklater, John (26 September 1983). "Amensia cure for 'keeper Kelly". The Glasgow Herald. p. 17. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
- ↑ Paul, Ian (3 November 1983). "Celtic treat fans to a vintage display". The Glasgow Herald. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
- ↑ "Celtic 2 – 3 Rangers, League Cup (25/03/1984)". Fitbastats. สืบค้นเมื่อ 6 August 2013.
- ↑ Cameron, Neil (5 April 2001). "Why Larsson will Choc up a record; He's as good as Mo and McClair". Daily Record. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
- ↑ "Burns played on with a broken hand". The Glasgow Herald. 20 May 1985. p. 18. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
- ↑ Paul, Ian (5 May 1986). "Celtic kep bargain – with a little help from Dundee". The Glasgow Herald. p. 10. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
- ↑ Reynolds, Jim (27 October 1986). "Ten booked, one sent off in Rangers triumph". The Glasgow Herald. p. 9. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
- ↑ "Scotland – Player of the Year". RSSSF. 18 December 2008. สืบค้นเมื่อ 9 March 2009.
- ↑ "Brian McClair". ManUtdZone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2006. สืบค้นเมื่อ 13 September 2006.
- ↑ Celtic player McClair, Brian, FitbaStats
- ↑ "Celtic Football Club Team Honours". Scottish Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2013. สืบค้นเมื่อ 18 October 2010.