สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

Koninkrijk der Nederlanden  (ดัตช์)
Royaume des Belgiques  (ฝรั่งเศส)[1]
ค.ศ. 1815–ค.ศ. 1839
คำขวัญ"Je maintiendrai" (ฝรั่งเศส)
"I will uphold"
เพลงชาติ
Wien Neêrlands Bloed
"Those in whom Dutch blood"
      ที่ตั้งของเนเธอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1815       และราชรัฐลักเซมเบิร์ก
      ที่ตั้งของเนเธอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1815
      และราชรัฐลักเซมเบิร์ก
เมืองหลวงเดอะเฮกและบรัสเซลส์
ภาษาทั่วไปดัตช์ (ทางการ) และฝรั่งเศส (ทางการในวอลลูน)
กลุ่มภาษาฟรีเชีย, ลิมเบิร์ก, ดัตช์แซกซันตอนล่าง, ยิดดิชตะวันตกเฉียงเหนือ, โรมานีเหนือ
ศาสนา
ปฏิรูปดัตช์
โรมันคาทอลิก
เดมะนิมดัตช์
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
กษัตริย์ 
• ค.ศ. 1815–1839
วิลเลิมที่ 1
สภานิติบัญญัติสภาฐานันดร
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตอนปลาย
16 มีนาคม ค.ศ. 1815
24 สิงหาคม ค.ศ. 1815
25 สิงหาคม ค.ศ. 1830
19 เมษายน ค.ศ. 1839
ประชากร
• 1815
ป. 2,233,000[2]
• 1839
ป. 3,500,000[2]
สกุลเงินกิลเดอร์ดัตช์
รหัส ISO 3166NL
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐอธิปไตยแห่งสหเนเธอร์แลนด์
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1
รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งเบลเยียม (1814–1815)
ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
ดัชชีลิมเบิร์ก
ลักเซมเบิร์ก
เบลเยียม
มอเรสเนที่เป็นกลาง
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์
เบลเยียม
ลักเซมเบิร์ก

สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ หรือ ราชอาณาจักรสหเนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Verenigd Koninkrijk der Nederlanden; ฝรั่งเศส: Royaume-Uni des Pays-Bas; อังกฤษ: United Kingdom of the Netherlands หรือ Kingdom of the United Netherlands; ค.ศ. 1815 - ค.ศ. 1830) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่หมายถึงรัฐใหม่ของยุโรปที่เกิดขึ้นจากจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ระหว่างการประชุมแห่งเวียนนาใน ค.ศ. 1815 ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์" ที่ประกอบด้วยอดีตสาธารณรัฐแห่งรัฐดัตช์ทั้งเจ็ด[3]ทางตอนเหนือ, อดีตเนเธอร์แลนด์ออสเตรียทางตอนใต้, และราชรัฐมุขนายกลีแยฌ โดยมีพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ออเรนจ์-นาซอเป็นประมุขของราชอาณาจักรใหม่

สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ล่มสลายลงหลังจากการปฏิวัติเบลเยียมใน ค.ศ. 1830 พระเจ้าวิลเลิมที่ 1ปฏิเสธไม่ทรงยอมรับฐานะของเบลเยียมจนเมื่อทรงถูกกดดันให้ลงนามในสนธิสัญญาลอนดอนในปี ค.ศ. 1839 และทรงยอมให้จัดการเขตแดน รวมทั้งรับรองสถานะความเป็นเอกราชและความเป็นกลางของเบลเยียม

ประวัติ[แก้]

ก่อนสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ.1792-1802) กลุ่มประเทศต่ำได้กลายมาเป็นหน่วยการเมืองสำคัญอันเป็นผลมาจากสงครามแปดสิบปี (ค.ศ.1568-1648) โดยมีสาธารณรัฐดัตช์ซึ่งเป็นประเทศเอกราชตั้งอยู่ตอนเหนือ ในขณะที่ดินแดนทางใต้นั้นถูกแบ่งเป็นของออสเตรีย ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค และราชรัฐมุขนายกลีแยฌ[4] ซึ่งทั้งสองส่วนนั้นขึ้นกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยภายหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ทำให้สงครามสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้นในปีค.ศ. 1792 ซึ่งฝรั่งเศสได้ถูกรุกรานโดยปรัสเซีย และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สงครามได้กินเวลาถึงสองปีจนกระทั่งดินแดนในเนเธอร์แลนด์ของออสเตรียและราชรัฐมุขนายกลีแยฌ ได้ถูกยึดครองโดยกองทัพฝรั่งเศสโดยราบคาบในปีค.ศ. 1794 และถูกผนวกดินแดนเข้ากับฝรั่งเศสในที่สุด[5] ซึ่งทำให้สาธารณรัฐดัตช์ล่มสลายลงและกลายเป็นรัฐบริวารของสาธารณรัฐฝรั่งเศส

การปกครอง[แก้]

แผนที่ใหม่ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์และราชรัฐลักเซมเบิร์ก ค.ศ. 1815

รัฐธรรมนูญ และรัฐบาล[แก้]

ถึงแม้ว่าสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์จะปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐ และหัวหน้ารัฐบาลยังมีไม่จำกัด โดยมีรัฐสภา (States General) แบบสองสภา ประกอบด้วยวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร

โดยการปกครองนั้นเป็นที่น่ากังขากันมากเนื่องจากสัดส่วนผู้แทนราษฎรรวมทั้งสิ้น 110 ที่นั่ง ถูกแบ่งเท่ากันสำหรับดินแดนเหนือ และดินแดนใต้ซึ่งมีจำนวนประชากรมากกว่า จึงทำให้ชาวเนเธอร์แลนด์ใต้ไม่พอใจเพราะสภานั้นถูกชี้นำโดยชาวเหนือ อีกทั้งพระราชอำนาจในพระมหากษัตริย์นั้นมีมากกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ในเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมในปัจจุบัน ซึ่งในสมัยนั้นทรงแต่งตั้งรัฐมนตรีโดยตรง

มณฑล[แก้]

แผนที่สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์แบ่งเป็นมณฑลปกครองรวมทั้งสิ้น 17 มณฑล ซึ่งไม่รวมถึงราชรัฐลักเซมเบิร์กซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเดียวกัน ซึ่งมณฑลทั้งหมดนี้ส่วนมากถูกแบ่งมาก่อนแต่เดิมสมัยที่ถูกปกครองโดยฝรั่งเศสแล้ว

ความตึงเครียดในภูมิภาค[แก้]

ความตึงเครียดในระหว่างดินแดนทางเหนือและใต้เริ่มต้นมาจากศาสนาเนื่องจากเนเธอร์แลนด์ใต้นั้นเป็นดินแดนที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกอย่างเคร่งครัด ในขณะที่เนเธอร์แลนด์เหนือนั้นนับถือคริสตจักรปฏิรูปแห่งดัตช์เป็นหลัก[6] โดยทางฝั่งคาทอลิกได้แสดงความไม่พอใจจากการถูกเบียดเบียนด้านสิทธิพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านการศึกษา อีกทั้งการบังคับใช้ภาษาดัตช์ในเขตที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักทำให้เหล่าชนชั้นนำไม่พอใจ[7] ชาวเบลเยียมส่วนใหญ่ไม่พอใจในรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นกลางและแบ่งแยกอย่างชัดเจน ในขณะที่จำนวนประชากรเบลเยียมนั้นมีมากถึง 62% แต่มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ส่วนในวุฒิสภานั้นมีเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งด้วยซ้ำ โดยมีการจัดสรรงบประมาณอย่างไม่เป็นธรรมโดยนำรายได้จากเบลเยียมที่มีมากกว่าไปชดเชยให้กับฝั่งเนเธอร์แลนด์ที่ยากจนกว่า ในช่วงกลางยุคค.ศ. 1820 ได้มีการจัดตั้งสหภาพฝ่ายค้านขึ้นในเบลเยียมที่รวมเอาทั้งกลุ่มเสรีนิยม และอนุรักษ์นิยมคาทอลิกไว้ด้วยกันเพื่อต่อต้านกับการปกครองของดัตช์

การปฏิวัติเบลเยียม[แก้]

การสู้รบระหว่างกบฎเบลเยียมกับกองทหารดัตช์ที่บรัสเซลส์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1830

การปฏิวัติเบลเยียมได้อุบัติขึ้นเมื่อ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1830 โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมในฝรั่งเศส โดยการกองทัพก็ไม่สามารถหยุดการปฏิวัติในบรัสเซลส์ได้ ซึ่งต่อมาได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1830 โดยใช้การปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระเจ้าเลออปอลที่ 1 รับราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม

พระเจ้าวิลเลิมที่ 1 ได้ปฏิเสธการรับรองเอกราชของเบลเยียม และในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1831 ได้ส่งกองทัพดัตช์เข้ายึดอำนาจในยุทธการสิบวัน ซึ่งเกือบจะมีชัยชนะในช่วงแรก แต่ด้วยความช่วยเหลือของกองทัพเหนือแห่งฝรั่งเศสการรุกรานครั้งนี้จึงต้องถูกยกเลิกในที่สุด[8] สุดท้ายจึงได้ตกลงกันในสนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1839) ซึ่งฝ่ายดัตช์ยอมรับในเอกราชของเบลเยียมอย่างสมบูรณ์เพื่อแลกเปลี่ยนกับดินแดนบางส่วน[9] และได้มีการจัดการเรื่องเขตแดนกันโดยสนธิสัญญามาสทริชท์ในปีค.ศ. 1843 ส่วนลักเซมเบิร์กนั้นได้เป็นรัฐอิสระโดยมีประมุขร่วมกับเนเธอร์แลนด์ แต่ยังต้องเสียดินแดนบางส่วนไปให้กับเบลเยียม

ดินแดน[แก้]

เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก และ ลิมบวร์กใน ค.ศ. 1839

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. La parenthèse française et hollandaise (1795-1830), Encyclopædia Universalis. Retrieved on 4 July 2021.
  2. 2.0 2.1 Demographics of the Netherlands เก็บถาวร 2011-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jan Lahmeyer. Retrieved on 10 December 2013.
  3. Pieter Geyl, History of the Dutch-Speaking Peoples, 1555-1648. Phoenix Press, 2001
  4. S Marteel, The Intellectual Origins of the Belgian Revolution (2018) p. 23
  5. A W Ward, The Cambridge History of British Foreign Policy 1783-1919 Vol I (Cambridge 1922) p. 263
  6. S Marteel, The Intellectual Origins of the Belgian Revolution (2018) p. 4
  7. D Richards, Modern Europe (London 1964) p. 86-7
  8. D Richards, Modern Europe (London 1964) p. 88
  9. D Richards, Modern Europe (London 1964) p. 89

บรรณานุกรม[แก้]

  • Kossmann, E.H. (1988). The Low Countries, 1780-1940. Oxford: Clarendon. ISBN 9780198221081.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]