สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์
ประธานรัฐสภากัมพูชา
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าเจีย ซิม
ถัดไปเฮง สำริน
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
นายกรัฐมนตรีที่หนึ่ง
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2536 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2540
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ฮุน เซน
กษัตริย์นโรดม สีหนุ
ก่อนหน้าพระองค์เอง
(ในฐานะนายกรัฐมนตรีเพียงผู้เดียว)
ถัดไปอึง ฮวด
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 – 24 กันยายน พ.ศ. 2536
ประธานาธิบดีนโรดม สีหนุ
ก่อนหน้าฮุน เซน
ถัดไปพระองค์เอง
(ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนที่1)
ข้อมูลส่วนบุคคล
พรรคการเมือง พรรคฟุนซินเปก
ประสูติ2 มกราคม พ.ศ. 2487
ราชธานีพนมเปญ พระราชอาณาจักรกัมพูชา
สิ้นพระชนม์28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (77 ปี)
ปารีส, ฝรั่งเศส
พระชายาพระองค์เจ้านโรดม มารี รณฤทธิ์
(พ.ศ. 2511-2552)
นักนางอู๊ก พัลลา
(พ.ศ. 2552-2561)[1]
พระบุตรหม่อมเจ้านโรดม จักราวุธ
หม่อมเจ้านโรดม สีหฤทธิ์
หม่อมเจ้านโรดม รัตนาเทวี
หม่อมเจ้านโรดม สุทธาฤทธิ์
หม่อมเจ้านโรดม รณวงศ์
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
(สายราชสกุลนโรดม)
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
พระมารดานักนางพาด กาญล

สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ (เขมร: នរោត្ដម រណឬទ្ធិ นโรตฺตม รณฤๅทฺธิ; 2 มกราคม พ.ศ. 2487 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) พระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ แห่งกัมพูชา และพระเชษฐาต่างพระมารดากับ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์กัมพูชาองค์ปัจจุบัน

สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์เป็นประธานของพรรคฟุนซินเปกซึ่งเป็นพรรคที่มีแนวความคิดกษัตริย์นิยมตามแบบราชวงศ์กัมพูชา นอกจากนี้พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพระองค์มีพระชนมายุ 77 ปีกัมพูชาในระหว่าง พ.ศ. 2536 ถึง 2540 และต่อมาดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภากัมพูชา ระหว่าง พ.ศ. 2541 ถึง 2549

สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ทรงประชวรต่อเนื่องตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกัมพูชาเมื่อ 3 ปีก่อน และทรงเดินทางไปรักษากระดูกเชิงกรานที่กรุงปารีสตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 จากการเปิดเผยของแหล่งข่าวใกล้ชิดราชวงศ์กัมพูชา

28 พฤศจิกายน 2564 สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี สิ้นพระชนม์แล้วที่ฝรั่งเศสพระองค์มีพระชนมายุ 77 ปีเนื่องจากพระอาการประชวร

พระประวัติ[แก้]

สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2487 มีพระนามลำลองว่า "ทับ"[2] เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ประสูติแต่พระชายาองค์แรก[3] คือนักนาง พาต กาญล (เขมร: ផាត់-កាញ៉ុល ผาต่ กาญุ่ล) นางรำประจำราชสำนัก[4] มีพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดาเดียวกันคือสมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี นักแสดงระบำอัปสรที่มีชื่อเสียง[5][6] และเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาใน พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์กัมพูชาองค์ปัจจุบัน

หลังจากประสูติก็ถูกแยกออกจากมารดา และถูกเลี้ยงดูโดยพระองค์เจ้านโรดม เกศกัญญา พระปิตุจฉา และพระองค์เจ้านโรดม รัศมีโสภณ พระปัยยิกา[7][8] (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชปิตุจฉานโรดม รัศมีโสภณ และสมเด็จพระราชกนิษฐานโรดม รัศมีโสภณ ตามลำดับ)[9] ส่วนพาต กาญล พระชนนี ได้สมรสใหม่กับจาบ ฮวด (Chap Huot) พระองค์จึงมีพี่น้องต่างบิดาอีก 5 คน[10]

สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนนโรดม ระดับมัธยมศึกษาจากลีเซเดการ์ต ซึ่งทั้งสองแห่งเป็นโรงเรียนเอกชนของฝรั่งเศสในพนมเปญ[8] ขณะที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ก็เดินทางไปศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1958 จนถึง 1970 ระหว่างนั้นเสด็จกลับมายังกัมพูชาในระยะเวลาสั้น ๆ[8]

บทบาททางการเมือง[แก้]

กรมพระรณฤทธิ์ (ซ้าย) ขณะติดตามการเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎรของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ขวา) ในปี พ.ศ. 2523

สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ทรงเป็นอดีตหัวหน้าพรรคฟุนซินเปก (FUNCINPEC) และเคยดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ร่วมกับสมเด็จ ฮุน เซน ภายหลังการเลือกตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 ที่พรรคฟุนซินเปกชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น และมีการสถาปนาระบอบกษัตริย์ขึ้นมาใหม่

ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 พรรคฟุนซินเปกแพ้การเลือกตั้ง แต่พรรคประชาชนกัมพูชาของนายฮุนเซนได้รับชัยชนะที่ไม่เด็ดขาด เนื่องจากไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมาก 2 ใน 3 พอจัดตั้งรัฐบาลตามกฎหมาย ทำให้เกิดสภาพสุญญากาศทางการเมืองในกัมพูชาที่มีฮุนเซนเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ มาจนถึงปี 2547 จึงสามารถตกลงจัดตั้งรัฐบาลกันได้ โดยในที่สุดนายฮุนเซนได้เป็นนายกรัฐมนตรี และกรมพระรณฤทธิ์ทรงเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร

หลังจากนั้นมีเหตุให้กรมพระรณฤทธิ์ต้องทรงลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ โดยพำนักอยู่ในประเทศฝรั่งเศส หลังจากต้องคดีหมิ่นประมาทสมเด็จฯ ฮุนเซน และมีโทษจำคุก เมื่อกรมพระรณฤทธิ์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในประเทศได้แล้ว รัฐสภากัมพูชาจึงได้มีการจัดประชุมและเลือกนายเฮง สัมริน จากพรรคประชาชนกัมพูชาของนายฮุน เซน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร แทนกรมพระรณฤทธิ์

หลังเหตุการณ์ดังกล่าว กรมพระรณฤทธิ์ทรงย้ายไปพำนักอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับพระชายาองค์ใหม่ที่อ่อนวัยกว่าประมาณ 40 ปี คือนักนาง อุ๊ก พัลลา (Ouk Palla) อดีตนาฏศิลปิน และดาราภาพยนตร์สาวสวย พร้อมทั้งเจ้าชายสุธาฤทธิ์ พระโอรสองค์เล็ก

ต่อมาเจ้าหญิงนโรดมมารี หรือ นักนาง เอ็ง มารี (Eng Marie) พระชายาที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ใช้กฎหมาย "ห้ามมีชู้" ที่เพิ่งผ่านรัฐสภากัมพูชา ฟ้องร้องดำเนินคดีกับพระองค์ กรณีมีพระชายาใหม่คือ หม่อมอู๊กพัลลา ทั้งที่ยังไม่ได้หย่าขาดกับพระชายาเดิม คดีดังกล่าวมีโทษจำคุก

ในวันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2549 รัฐสภากัมพูชา ที่พรรคประชาชนกัมพูชาครองเสียงข้างมากได้ลงมติรับรองการปรับคณะรัฐมนตรีโดยฮุนเซน ซึ่งมีการปลดรัฐมนตรีของพรรคฟุนซินเปก จำนวน 10 นายออกจากการร่วมรัฐบาล

หลังจากนั้นในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ทรงถูกลงมติขับออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคฟุนซินเปก ด้วยข้อกล่าวหายักยอกเงินจากการแอบขายที่ทำการพรรคเป็นเงิน 3.6 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 130 ล้านบาท และทรงถูกพิพากษาจำคุกอีกคดีหนึ่ง [11] มีรายงานข่าวว่าในครั้งนั้นเจ้าหญิงมารี พระชายาของพระองค์ ได้เข้าร่วมมือกับผู้นำพรรคฟุนซินเป็กคนอื่นๆ ในการจัดประชุมวิสามัญ ปลดพระองค์จากตำแหน่ง และเลือกตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่[12] การประชุมดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่กรมพระรณฤทธิ์อยู่ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งพระองค์ตรัสว่าการประชุมวิสามัญดังกล่าว ที่นำโดย พล.อ.แญ็ก บุนชัย (Nhek Bounchay) เลขาธิการพรรค เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย [13]

ในการประชุมดังกล่าว ที่ประชุมพรรคฟุนซินเบกได้เลือก นายแก้ว พุทธรัศมี (Keo Puth Rasamey) เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำเยอรมนี ราชบุตรเขยของอดีตกษัตริย์นโรดมสีหนุ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่

สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ขณะกำลังทรงหาเสียงและเยี่ยมเยือนประชาชนผู้สนับสนุนพรรคฟุนซินเปก

หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น กรมพระรณฤทธิ์ทรงก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ชื่อ พรรค นโรดม รณฤทธิ์ (NRP) ซึ่งมีที่นั่งในสภากัมพูชามากเป็นอันดับสามในปัจจุบัน [14]

สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ทรงเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานองคมนตรีในพระมหากษัตริย์กัมพูชา ตามพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551[15]

ชีวิตส่วนพระองค์[แก้]

สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ได้เสกสมรสครั้งแรกกับ นักนางนโรดม มารี รณฤทธิ์ หรือนามเดิม เอ็ง มารี (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นป็น พระองค์เจ้านโรดม มารี รณฤทธิ์) ใน พ.ศ. 2511[16] และหย่าในปี 2552[17] โดยทั้งคู่ได้ให้ประสูติพระโอรส-ธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ โดยเป็นพระโอรส 2 พระองค์ และพระธิดา 1 พระองค์ ได้แก่[18][19]

  • นักองค์มจะ (หม่อมเจ้า) นโรดม จักราวุธ (ประสูติ 13 มกราคม ค.ศ. 1970)
  • นักองค์มจะ (หม่อมเจ้า) นโรดม สีหฤทธิ์ (ประสูติ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1972) ปัจจุบันทรงเสกสมรสแล้ว มีพระโอรส 1 พระองค์ คือ
    • นักองค์มจะ (หม่อมเจ้า) นโรดม ชัยฤทธิ์ (ประสูติ ค.ศ. 2004) [20]
  • นักองค์มจะ (หม่อมเจ้า) นโรดม รัตนาเทวี (ประสูติ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1974) ปัจจุบันทรงเสกสมรสแล้วกับนายอันเซียว ลา ปลาเนตา (Ansiau La Planeta) เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000[21]

ต่อมาสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ทรงได้มีความสัมพันธ์กับ อุ๊ก พัลลา อดีตนาฏศิลปิน และนักแสดงสาวที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา ทำให้เกิดปัญหาชู้สาว เนื่องจากสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ยังมิได้หย่าขาดจากภรรยาเดิม[22] ภายหลังทั้งสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ และนักนางอุ๊กได้เสด็จไปประทับที่คอนโดในประเทศมาเลเซียเป็นเวลาถึง 2 ปี[23] แต่ทั้งคู่ก็มีพระโอรสด้วยกัน 2 พระองค์ คือ

  • นักองค์มจะ (หม่อมเจ้า) นโรดม สุธาฤทธิ์
  • นักองค์มจะ (หม่อมเจ้า) นโรดม รณวงศ์[24]

อ้างอิง[แก้]

  1. ช็อก! เจ้าชายนโรดม รณฤทธิ์ แห่งกัมพูชา รถประสานงาบาดเจ็บ พระชายาสิ้นพระชนม์
  2. สุภัตรา ภูมิประภาส (20 ตุลาคม 2555). "เรื่องจริงไม่อิงนิยายของราชสำนักกัมพูชา (1) : เรื่องเล่าของเจ้าชายน้อย กับชีวิตที่พลัดพราก". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Mehta (2001), p. 3
  4. Mehta (2001), p. 1
  5. "ศิลปวัฒนธรรม และการแสดงของชาติสมาชิกอาเซียน". ASIAN FOCUS. 23 เมษายน 2558. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. พรรณิการ์ วานิช (18 ตุลาคม 2556). "โขนเขมร สืบสายนาฏศิลป์ถิ่นสุวรรณภูมิ". วอยซ์ทีวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Mehta (2001), p. 4
  8. 8.0 8.1 8.2 ธิบดี บัวคำศรี. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 140
  9. Ancestry.com. Sdech Preah Reach Kanitha Norodom Rasmi Sobhana. เรียกดูเมื่อ 21 ตุลาคม 2555
  10. สุภัตรา ภูมิประภาส (30 ตุลาคม 2555). "เรื่องจริงไม่อิงนิยายของราชสำนักกัมพูชา (2) : ชายาของพ่อ". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. เจ้ารณฤทธิ์ถูกพิพากษาจำคุก18 เดือน ข้อหายักยอก สำเนาจาก คมชัดลึก
  12. ชีวิตดุจนิยาย..เจ้าเขมรตกอับเมียขยับตีจาก เก็บถาวร 2012-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำเนาจาก ผู้จัดการ
  13. เมียน้อยเป็นเหตุ 'ฟุนซินเปก' ขับ ‘รณฤทธิ์’ พ้นผู้นำ เก็บถาวร 2012-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำเนาจาก ผู้จัดการ
  14. Prince Ranariddh lives in Kuala Lumpur
  15. ที่มั่นสุดท้ายของเจ้านโรดม รณฤทธิ์[ลิงก์เสีย]
  16. Widyono (2008), p. 278
  17. Sex and punishment: Cambodia’s adultery law, 28 October 2010, The Phnom Penh post
  18. Court starts adultery case against Cambodian Prince Ranariddh, March 18, 2007, People's Daily Online
  19. Samdech Krom Preah NORODOM RANARIDDH
  20. Neak Ang Mechas NORODOM SIHARIDDH
  21. "Neak Ang Mechas Norodom Rattana Devi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 2010-05-28.
  22. ยุทธการบ่อนทำลายราชตระกูล “นโรดม”[ลิงก์เสีย]
  23. ดูเต็มๆ "เจ้าชายน้อยเขมร" ทรงหล่อเหลาเอาการ[ลิงก์เสีย] ผู้จัดการ วัน พฤหัสบดี ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 12:03:05 น.
  24. [1]
บรรณานุกรม
  • Mehta, Harish C. (2001). Warrior Prince: Norodom Ranariddh, Son of King Sihanouk of Cambodia. Singapore: Graham Brash. ISBN 9812180869.
  • Widyono, Benny (2008). Dancing in Shadows: Sihanouk, the Khmer Rouge, and the United Nations in Cambodia. Lanham, Maryland, United States of America: Rowman & Littlefield. ISBN 0742555534.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]