ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพแปลนสร้างวัดแห่งหนึ่งของกัมพูชา

กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ เป็นมากว่าพันปี โดยแต่เดิมเป็นดินแดนของกลุ่มชาติพันธ์ ออสโตรเอเชียติก ที่มีหลักฐานว่าอพยพมาจากจีนตอนใต้ ผ่านเข้ามาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอินโดจีน และตั้งถิ่นฐาน ผสมผสานกับคนในท้องถิ่นเดิม และกับคนที่อพยพมาทีหลัง ทั้งในชาติพันธุ์ และทางวัฒนธรรมมีความเจริญเพิ่มขึ้นตามลำดับ ต่อมาได้มีชนอินเดียเข้ามาติดต่อค้าขาย และได้นำเอา วัฒนธรรมอินเดียมาเผยแผ่ด้วย ทำให้กัมพูชารับเอาวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งก็คือพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน [1]

จากหลักฐานที่ปรากฏ กัมพูชาเป็นดินแดนแรก ๆ ที่รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนาเมื่อเข้ามาเผยแผ่เข้ามาสู่สุวรรณภูมิ รวมทั้งได้รับอิทธิพลในด้านความเจริญทางด้านจิตใจมาจากประเทศอินเดีย ศาสนาแรกที่เป็นศาสนาสำคัญของชาวกัมพูชา คือ ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาที่รองลงมา คือ พระพุทธศาสนา ศาสนาทั้งสองนี้ ได้กลายเป็นศาสนาหลัก และศาสนารองในสังคมกัมพูชา ดังปรากฏหลักฐานทางด้านจารึก โบราณคดี และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏผ่านนครวัด นครธม และพลวัฒน์ทางพระพุทธศาสนาสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน โดยพัฒนาการของพระพุทธศาสนาที่ปรากฏสามารถจัดเป็นลำดับในแต่ละช่วงเวลาได้เป็นยุคต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรใช้วิจารณญาณในการทำงานของเราจะได้รับการยอม เป็นอย่างดี

ประวัติ[แก้]

ยุคฟูนันหรืออาณาจักรพนมหรือยุคก่อนเขมร (พ.ศ. 600-1100[แก้]

ภาพปราสาทนครวัต วาดโดยนักสำรวจชื่อเฮนรี มูโฮต์ Henri Mouhot, c. 1860
ภาพถ่ายใน ค.ศ.1870 โดย Émile Gsell สัญลักษณ์ของปราสาทในศาสนาพราหมณ์ฮินดูที่สะท้อนศาสนาพุทธและพราหมณ์ในยุคมหานคร
ภาพที่ปรากฏในโปสการ์ดของฝรั่งเศสเกี่ยวกับปราสาทนครวัติ ใน ค.ศ. 1911

สมัยเจนละ ( พ.ศ. 1100 – 1344)[แก้]

สมัยอาณาจักรพระนคร (พ.ศ. 1345 – 1975)[แก้]

พระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ที่ประตูด้านใต้ สัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนามหายานในกัมพูชาในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ยุคมหานคร เป็นยุคที่ นครวัด นครธม ที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาบ และอยู่ทางเหนือของเมืองเสียมราฐ เป็นเมืองหลวงของกัมพูชา เป็นยุคที่อารยธรรมของขอมเจริญรุ่งเรืองมาก มีศิลปะและสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทางด้านศาสนา ปรากฏ ว่าพุทธ-ศาสนาฝ่ายมหายานเจริญรุ่งเรืองพร้อมกับศาสนาพราหมณ์ ส่วนพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทคงเป็นที่นับถืออยู่ในหมู่ประชาชนทั่วไป ส่วนทางชั้นสูง หรือในราชสำนักนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน และถือลัทธิพราหมณ์ ในยุคนี้ได้มีธรรมเนียมถือศาสนาคนละอย่างระหว่างพระราชา กับ ปุโรหิต ถ้าพระราชาเป็นพุทธ ปุโรหิตเป็นพราหมณ์ หรือถ้าพระราชาถือพราหมณ์ ปุโรหิตถือพุทธ ถือเป็นประเพณีที่ยึดถือต่อกันมาหลายร้อยปี

ชัยวรมันที่ 7[แก้]

ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เริ่มแต่ปี พ.ศ. 1724 ทรงมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์เขมร ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองที่สุด ทรงย้ายราชธานีไปที่ใดก็จะสร้างวัดวาอารามด้วย พระองค์ทรงเอาใจใส่ในกิจการพระพุทธศาสนามาก ทรงสร้างปราสาท และพระพุทธรูปจำนวนมากมาย ทรงสถาปนาปราสาทตาพรม เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีพระมหาเถระเป็นศาตราจารย์ใหญ่อยู่ถึง 18 องค์ และอาจารย์รองลงมาถึง 2,740 องค์ เป็นผู้สอน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยังทรงให้ราชกุมารไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา แล้วทรงผนวชที่วัดมหาวิหารในปลายยุคมหานคร[2] ศาสนาพราหมณ์ และมหายานเสื่อมถอยลง คงเหลือแต่เถรวาทที่เจริญรุ่งเรือง และได้รับการนับถือจากคนทุกระดับ ตั้งแต่กษัตริย์ลงไป.

ยุคหลังพระนคร (พ.ศ. 1975-ปัจจุบัน)[แก้]

ยุคหลังพระนครถือว่าเป็นยุคมืดของกัมพูชาด้วยเหตุผล ของความอ่อนแอทางการเมือง ภายในทำให้กัมพูชาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของไทย รัฐทางทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเวียดนาม และทำให้กัมพูชาต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์ทางการเมือง ในยุคหลังพระนครนี้ พุทธศาสนาแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ได้เสื่อมถอยลงไป คงเหลือแต่พุทธศาสนาเถรวาท และกษัตริย์ในยุคนี้จึงได้นับถือพระพุทธศาสนาเรื่อยมา กษัตริย์กัมพูชาได้ละทิ้งราชธานีมหานคร ไปสร้างราชธานีใหม่ที่เมือง สรีสันธอร์ ต่อมา พ.ศ. 1975 ได้ย้ายไปสร้างราชธานีใหม่ที่พนมเปญ จนถึงในปัจจุบัน ตั้งแต่การสร้างราชธานีใหม่ เป็นต้นมา เป็นเวลา 400 ปี ประเทศกัมพูชาตกอยู่ในภาวะวิกฤต ทางสังคมอย่างรุนแรง ประชาชนทุกข์ยากมาก บ้านเมืองยับเยิน พระศาสนาเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากเกิดเรื่องภายใน มีการแย่งชิงราชสมบัติกัน ผู้คนล้มตายกันมากนครวัต นครธม ถูกปล่อยรกร้างอยู่ในป่า จนมี ชาวฝรั่งเศสไปพบเข้า ในปี พ.ศ. 2404 จึงได้ทำนุบำรุงรักษาอนุรักษ์ไว้ปี พ.ศ. 2384 พระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี ทรงเสวยราชย์ในกรุงอุดรเมียรชัย พระพุทธศาสนา กลับเจริญรุ่งเรืองอีก มีพระสงฆ์ชาวกัมพูชา เดินทางมาศึกษายัง กรุงเทพฯ กลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเขมร พระมหาวิมลธรรม (ทอง) ได้จัดการศึกษาของสงฆ์ไทยตั้ง “ศาลาบาลีชั้นสูง” ในกรุงพนมเปญ ได้แก่พุทธิกวิทยาลัยในปัจจุบัน จากนั้นเขมรก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเกือบ 100 ปี การศาสนาก็ไม่เจริญรุ่งเรือง ในปี พ.ศ. 2497 จึงได้เอกราชคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่าอาณาจักรกัมพูชาพ.ศ. 2498 [3]

อุดงค์[แก้]

ประเทศกัมพูชาในตอนต้นของยุคหลังพระนครได้สิ้นอำนาจลง เพราะได้เป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา​ ตั้งแต่ พ.ศ. 2137 ถึง พ.ศ. 2161 พอได้รับเอกราชจากกรุงศรีอยุธยา​ ก็เกิดปัญหาสงครามกับเวียดนามบ้าง กับไทยบ้าง สงครามภายในบ้าง เป็นเมืองขึ้นของไทย และ เวียดนามด้วย [4]

@ จ.ศ.1137 ครั้นถึงปีมแม 1137 (พ.ศ. 2318) สมเด็จพระนารายน์ราชาธิบดี ได้ทรงนิมนต์ให้พระมหาสังฆราช พระพรหมมุนี ชื่อหลง นำข้อความซึ่งเป็นทางพระราชไมตรีไปกราบทูลสมเด็จพระรามราชาที่เมืองกำปอด ขออัญเชิญให้เสด็จมาเสวยราชสมบัติ ณ บันทายเพ็ชรสืบไป ฯ [5]

@ ครั้นมหาสังฆราช ได้นำความไปถวายพระพรแก่สมเด็จพระรามราชาได้ทรงทราบแล้ว สมเด็จพระรามราชาก็เสด็จออกจากเมืองกำปอด เข้ามาประทับอยู่ที่พระราชวัง ณ เมืองบันทายเพ็ชร แล้วขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระราชโองการ สมเด็จพระรามราชาธิราชบรมบพิตร ฯ [6]

พนมเปญ[แก้]

เจดีย์วัดพนม จุดเริ่มต้นของ"พนมเปญ"ในประวัติศาสตร์พุทธศาสนากัมพูชายุคใหม่

กษัตริย์กัมพูชาได้ละทิ้งราชธานีมหานคร ไปสร้างราชธานีใหม่ที่เมือง สรีสันธอร์ ต่อมา พ.ศ. 1975 ได้ย้ายไปสร้างราชธานีใหม่ที่พนมเปญ จนถึงในปัจจุบัน ตั้งแต่การสร้างราชธานีใหม่ เป็นต้นมา เป็นเวลา 400 ปี ประเทศกัมพูชาตกอยู่ในภาวะวิกฤต ทางสังคมอย่างรุนแรง ประชาชนทุกข์ยากมาก บ้านเมืองยับเยิน พระศาสนาเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากเกิดเรื่องภายใน มีการแย่งชิงราชสมบัติกัน ผู้คนล้มตายกันมากนครวัต นครธม ถูกปล่อยรกร้างอยู่ในป่า จนมี ชาวฝรั่งเศสไปพบเข้า ในปี พ.ศ. 2404 จึงได้ทำนุบำรุงรักษาอนุรักษ์ไว้ปี พ.ศ. 2384 พระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี ทรงเสวยราชย์ในกรุงอุดรเมียรชัย พระพุทธศาสนา กลับเจริญรุ่งเรืองอีก มีพระสงฆ์ชาวกัมพูชา เดินทางมาศึกษายัง กรุงเทพฯ กลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเขมร พระมหาวิมลธรรม (ทอง) ได้จัดการศึกษาของสงฆ์ไทยตั้ง “ศาลาบาลีชั้นสูง” ในกรุงพนมเปญ ได้แก่พุทธิกวิทยาลัยในปัจจุบัน จากนั้นเขมรก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเกือบ 100 ปี การศาสนาก็ไม่เจริญรุ่งเรือง ในปี พ.ศ. 2497 จึงได้เอกราชคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่าราชอาณาจักรกัมพูชา(พ.ศ. 2497-พ.ศ. 2513)


วัดพนมสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นของพนมเปญ

พระบาทนโรดม สีหนุ[แก้]

พุทธศตวรรษที่ 24 ฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในอินโดจีน และใน พ.ศ. 2410 กัมพูชาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงได้อิสรภาพคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่า พระราชอาณาจักรกัมพูชาพ.ศ. 2497-พ.ศ. 2513​ มีเมืองหลวงชื่อ พนมเปญ มีกษัตริย์ครองราชย์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2483 พระนามว่า พระเจ้านโรดมสีหนุ พระเจ้านโรดมสีหนุสละราชสมบัติให้พระเจ้านโรดมสุรามฤตพระบิดาขึ้นครองราชแทน พระองค์มาตั้งพรรคการเมืองชื่อ สังคมราษฎร์นิยม และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อพระบิดาสวรรคต จึงทรงเป็นประมุขรัฐโดยไม่ได้ครองราชย์ พระเจ้านโรดมสีหนุ ทรงคิดตั้งทฤษฎี พุทธสังคมนิยม โดยการปกครองที่ยึดหลักพุทธธรรมเป็นหลักในการบริหารประเทศ ในช่วงนี้ประเทศแถบเอเซียอาคเนย์กำลังอยู่ในภาวะการต่อสู้ ระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์ กับลัทธิประชาธิปไตย

พระสงฆ์เขมรหลายรูปได้มาศึกษาที่กรุงเทพ ฯ ได้นำแบบแผนการปกครองคณะสงฆ์ไทยไปใช้ในกัมพูชา ทางด้านการศึกษาของสงฆ์ก็ได้นำแบบแผนไปจากประเทศไทย เช่น มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ ที่ตั้งขึ้นโดย เจ้านโรดมสีหนุ เรียกว่า “มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาพระสีหนุราช” มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และโท ตามลำดับ

นายพล ลอนนอล/สงครามกลางเมือง (พ.ศ. 2513-2518)[แก้]

พระเจ้านโรดมสีหนุ จึงถูกปฏิวัติโดย นายพลลอนนอล เมื่อปี พ.ศ. 2513 ได้เปลี่ยนราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นสาธารณรัฐเขมร​ นายพลลอนนอลได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกทางด้านศาสนาก็ได้ส่งเสริมทำนุบำรุงจากรัฐเป็นอย่างดี

พุทธศาสนาภายใต้ระบบเขมรแดง (พ.ศ. 2518-2522)[แก้]

พ.ศ. 2518 กัมพูชาได้ถูกกลุ่มเขมรแดงโดยการนำของนายพลพอล พต​ได้เข้ายึดครองกัมพูชา ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์​อย่างสุดโด่ง ได้บังคับขู่เข็ญประชาชนอย่างทารุณ ไร้ความเมตตาปราณี ประชาชนถูกสังหารประมาณ 2 ล้านคน ในนี้รวมทั้งพระภิกษุสามเณรด้วย พระพุทธศาสนาถูกล้มล้างโดยลัทธิคอมมิวนิสต์อีกด้วย

ภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์แบบเวียดนาม​ (พ.ศ. 2522-2535)[แก้]

พ.ศ. 2522 เวียดนามกับเขมรบางกลุ่มบุกเข้ายึดกัมพูชา และขับไล่เขมรแดงโดยการนำของพอล พต ออกไปสู่ป่าชายแดนไทย-กัมพูชา เวียดนามตั้งรัฐบาลหุ่นโดยนายเฮง สัมริน​ เป็นผู้นำประเทศ พ.ศ. 2523-2536 กลุ่มเขมรแดงและกลุ่มเขมรอีกหลายฝ่ายจับมือกันต่อสู้กับกองทัพเวียดนาม ไล่ทหารเวียดนามออกนอกประเทศได้สำเร็จ

พุทธศาสนาภายหลังการเลือกตั้งภายใต้องค์การ UTAC กับการเข้าสู่รูปแบบประชาธิปไตย (พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน)[แก้]

พ.ศ. 2536 สหประชาชาติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติ พร้อมกับการช่วยเหลือทางด้านการเงินอีก 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้มีการเลือกตั้ง เพื่อจัดตั้งรัฐบาลขึ้นปกครองประเทศกัมพูชาอย่างถูกกฎหมาย ผลการเลือกตั้งพรรคฟุนซินเปคของเจ้านโรดม รณฤทธิ์​ ได้คะแนนมาเป็นอันดับหนึ่ง พรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน​ได้คะแนนเป็นอันดับสอง เป็นผลให้รัฐบาลกัมพูชา เป็นรัฐบาลผสมโดยมีนายกรัฐมนตรี 2 คน คือ รณฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ส่วนกลุ่มเขมรแดงปฏิเสธที่จะเข้าร่วมในการเลือกตั้ง และยังตั้งกำลังหน่วยรบอยู่ในป่าเช่นเดิม พ.ศ. 2539 กลุ่มเขมรแดงเริ่มแตกแยก ผู้นำหมายเลข 2 นายเอียง ซารี​ อดีตคู่เขยของพอล พต รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศของเขมรแดง ได้นำพรรคเขมรกลุ่มหนึ่งและทหาร 10,000 คน แปรพักตร์มาเข้าร่วมสวามิภักดิ์กับรัฐบาลนายฮุน เซน ตามกระแสข่าวนาย ฮุน เซน ยอมมอบผลประโยชน์จากเหมืองพลอยที่เมืองไพลิน อันมีมูลค่ามหาศาลนับอนันต์ให้ครอบครอง

ในส่วนพระพุทธศาสนาในช่วงนี้การเปิดเสรีให้พระหนุ่มเณรน้อยกลับมาบวชได้เสรี ซึ่งแต่เดิมในช่วงระหว่าง ค.ศ.1979-1980 ผู้ที่จะบวชส่วนใหญ่จะต้องมีอายุเกิน 50 ปี ภายใต้นโยบายและข้อกำหนดของรัฐบาล รวมทั้งต้องมีพฤติกรรมและแนวนโยบายเทศน์สอนสนับสนุนรัฐบาลภายใต้การสนับสนุนของเวียดนาม เมื่อมีบุญพิธีใด ๆ จะต้องนำสิ่งของเครื่องใช้อันเป็นผลได้จากการทำบุญ สนับสนุนฝ่ายบ้านเมือง หรือทหารในขณะนั้น และที่สำคัญเมื่อพระบาทนโรดม สีหนุ ได้กลับมาครองราชย์ในสถานะพระมหากษัตริย์ พระองค์ได้นำพระพุทธศาสนานิกายธรรมยุติกนิกาย ฟื้นกลับมาอีกครั้ง นัยหนึ่งเป็นนิกายที่เคยมีในสังคมกัมพูชา หรืออีกนัยหนึ่งเป็นสมบัติของบรรพบุรุษ ที่ได้เคยทรงอุปถัมภ์และสนับสนุน นัยเดียวกันธรรมยุตินิกาย ได้กลายเป็นฐานสนับสนุนพรรคการเมือง Funcinpec อันมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ด้วยเช่นกัน

นิกาย[แก้]

พระพุทธศาสนาได้รับอิทธิพลด้านนิกายแต่เดิมเป็นในแบบพุทธศาสนามหายาน และเถรวาท ดังปรากฏหลักฐานเป็นศาสนสถานการก่อสร้างปราสาทนครธม ที่เป็นอุดมคติและแนวคิดอันเนื่องด้วยศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ในเวลาเดียวกันพุทธศาสนาในแบบเถรวาทก็ซ้อนทับอยู่กับพุทธมหายาน และศาสนาพราหมณ์และค่อย ๆ พัฒนาตัวเองจนกระทั่งกลายเป็นศาสนาของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศกัมพูชาพร้อมกับการศูนย์หายไปของพุทธศาสนามหายานในประเทศกัมพูชา แต่ในเวลาเดียวกันพระพุทธศาสนาเถรวาทก็กลายเป็นศาสนาหลักของชาวกัมพูชา จนกระทั่งเมื่อมีการก่อตั้งพุทธศาสนาแบบธรรมยุตินิกาย ด้วยเหตุผลทางการเมือง การปกครองระหว่างไทย กัมพูชา พระพุทธศาสนาในแบบไทย ที่เป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัย พัฒนา และปฏิรูป ที่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย และชนชั้นปกครองกัมพูชาก็เชื่อและคาาดหวังอย่างนั้น จึงทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชารับพระพุทธศาสนาในแบบธรรมยุติกนิกายไปเผยแผ่ในกัมพูชา และกลายเป็นศาสนาสำหรับราชสำนักในกัมพูชาไปพร้อม ๆ กัน จึงทำให้ศาสนานิกายเดิมซึ่งเป็นสมาชิกส่วนใหญ่กลายเป็นอีกนิกายหนึ่งในสังคมกัมพูชาไปโดยปริยาย

มหานิกาย[แก้]

พุทธศาสนาเถรวาทในกัมพูชามีการแบ่งแยกเป็นครั้งแรกเมื่อมีการนำเอาธรรมยุตินิกาย (ซึ่งเน้นที่การทำให้พระธรรมวินัยบริสุทธิ์ตามที่มีมาในพระไตรปิฎก) จนสยามเข้ามาเมื่อ ค.ศ.1864 คณะธรรมยุติกนิกายในกัมพูชามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์เช่นเดียวกับที่เป็นในสยามแต่คณะธรรมยุติกนิกายในกัมพูชามีส่วนนำความก้าวหน้าเพียงเล็กน้อยมาสู่ชาวกัมพูชาที่ไม่ใช่เจ้านายและชนชั้นสูง อีกทั้งไม่ได้มีมีบทบาทในการนำความทันสมัยมาสู่สังคมกัมพูชาดังเช่นที่เป็นในสยาม ในขณะที่มหานิกายซึ่งเป็นนิกายดั้งเดิมซึ่งมีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยน้อยกว่า กลับมีบทบาทที่โดดเด่นกว่าคณะธรรมยุติกนิกาย

เมื่อมีการตั้งโรงเรียนบาลีระดับมัธยมขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ใน ค.ศ.1914 ก็เกิดแรงกระตุ้นให้มีการศึกษาศาสนากันใหม่ อันนำมาซึ่งความแตกแยกของคณะมหานิกายในทศวรรษที่ 1920 ระหว่างพระสงฆ์ตามแบบจารีตกับพระสงฆ์หัวสมัยใหม่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวิทยาศาสตร์ตะวันตกและนิยมการวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งต้องการให้มีการทำความเข้าใจคัมภีร์ทางศาสนากันใหม่ กลุ่มหัวสมัยใหม่รู้จักกันในภายหลังว่า คณะธรรมกายซึ่งก้าวขึ้นมามีบทบาทอย่างมากในการต่อต้านฝรั่งเศสร่วมกับปัญญาชนคนกลุ่มใหม่ของกัมพูชา

สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ชวน ณาต โชตญาโณ) อดีตสมเด็จพระสังฆราชคณะมหานิกายกัมพูชา สถิต ณ วัดอุณาโลม กรุงพนมเปญ

รายนามประมุขสงฆ์กัมพูชาฝ่ายคณะมหานิกายมีดังนี้

  • สมเด็จพระมหาสังฆราช (เนิล เตียง (เที่ยง) สุวณฺณเกสโร) ค.ศ. 1857-1913[7]
  • สมเด็จพระธรรมลิขิต (แก อุก อินฺทตฺเถโร) ค.ศ. 1914-1930
  • สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ปรัก ฮิน สุธมฺมตฺเถโร) ค.ศ. 1930-1947
  • สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ชวน ณาต โชตญาโณ) ค.ศ. 1948–1969[8]
  • สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ฮวต ตาต วชิรปญฺโญ) ค.ศ. 1969–1975[8]
  • พระมหาโฆสนันทะ (Preah Maha Ghosananda) ค.ศ. 1988–2007[9] ทั้งนี้ เป็นการคัดเลือกกันของกลุ่มพระในต่างประเทศที่ลี้ภัยทางการเมืองภายใต้ระบบเขมรแดง และสงครามกลางเมืองในช่วงเวียดนามยึดครอง โดยไม่ยอมรับสมเด็จเทพ วงษ์ ที่ได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลฮุน เซน ให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช การคัดเลือกนี้จึงเป็นการคัดเลือกผ่านกลุ่มคนที่อยู่ต่างประเทศ ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเป็นที่ยอมรับจากรัฐบาลที่พนมเปญแต่อย่างใด
  • สมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี (เทพ วงษ์) ค.ศ.1981–ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งประธานการกสงฆ์กัมพูชาระหว่าง ค.ศ.1981–1991, สังฆราชคณะมหานิกาย ค.ศ. 1991–2006 และอัครมหาสังฆราชาธิบดี ค.ศ. 2006–ปัจจุบัน
  • สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (นนท์ แงด) ค.ศ. 2006–ปัจจุบัน จำพรรษาที่วัดปทุมวดีราชวราราม โดยวัดแห่งนี้แต่เดิมเป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติ แต่เมื่อพระสงฆ์และพระพุทธศาสนาหมดไปจากดินแดนกัมพูชาใน ค.ศ. 1975-1979 ทำให้วัดแห่งนี้ร้างไปโดยปริยาย และเมื่อมีการบวชพระภิกษุภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบบคอมมิวนิสต์หลังค.ศ.1979 ไม่มีธรรมยุติและมหานิกาย วัดแห่งนี้จึงมีคณะสงฆ์มหานิกายจำพรรษาเป็นส่วนใหญ่ เมื่อธรรมยุติกนิกายถูกฟื้นคืนมาอีกครั้ง รัฐบาลจึงได้แบ่งวัดแห่งนี้เป็นสองส่วน คือวัดส่วนหนึ่งเป็นของคณะสงฆ์มหานิกาย และวัดส่วนหนึ่งเป็นของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ ปัจจุบันสมเด็จพระสังฆราชทั้ง 2 นิกายจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้

ธรรมยุติกนิกาย[แก้]

สมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี (บัวร์ กรี) สมเด็จพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกายองค์ปัจจุบัน จำพรรษาอยู่วัดปทุมวดีราชวราราม กรุงพนมเปญ

ธรรมยุติกนิกาย เป็นพุทธศาสนาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นเมื่อพระองค์ยังทรงผนวชในรัชกาลที่ 3 ต่อมาสมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี (พระองค์ด้วง) ได้ขอพระราชทานธรรมยุติกนิกายไปเผยแผ่พระพุทธศาสนในประเทศกัมพูชา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระอมราภิรักขิต (เกิด อมโร) และพระมหาปาน (Preah Saukonn Pan, Maha Pan)[10]ซึ่งเป็นภิกษุชาวกัมพูชาที่เข้ามาบวชในคณะธรรมยุตให้กลับตั้งคณะธรรมยุตที่กัมพูชา ต่อมาพระมหาปานได้เป็นพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกายพระองค์แรกของกัมพูชา [11]

ปัจจุบันสมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี (บัวร์ กรี) (11 มกราคม ค.ศ.1945-ปัจจุบัน, อายุ 79 ปี) ทรงเป็นพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกายพระองค์ที่ 2 (คู่กับพระสังฆราชฝ่ายมหานิกาย) แห่งกัมพูชา

รายพระนามของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกายแห่งกัมพูชามีดังนี้

  • สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน ปญฺญาสีโล) ค.ศ.1855–1893[12][13]
  • สมเด็จพระมงคลเทพาจารย์ (เอี่ยม ภทฺทคู) ค.ศ. 1893-1922
  • สมเด็จพระมงคลเทพาจารย์ (สุก ปญฺญาทีโป) ค.ศ. 1923-1943
  • สมเด็จพระสุธรรมาธิบดี (อุง สะเรย พุทฺธนาโค) ค.ศ. 1943-1956
  • สมเด็จพระมหาสุธรรมาธิบดี (ภุล เทส อินฺทญาโณ) ค.ศ. 1956-1966
  • สมเด็จพระมหาสุธรรมาธิบดี (เทพ เลือง คนฺธโร) ค.ศ. 1966-1975
  • สมเด็จพระสังฆราช (ฮี เจีย) ค.ศ. 1975 (ดำรงตำแหน่งในสมัยระบอบเขมรแดงได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์)
  • สมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี (บัวร์ กรี) ค.ศ. 1991 – ปัจจุบัน ทั้งนี้ ทรงดำรงสมณศักดิ์ "สมเด็จพระสุคนธาธิบดี" เมื่อปี ค.ศ. 1991 จนถึงปี ค.ศ. 2007 จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นที่อัครมหาสังฆราชาธิบดีอีกพระองค์หนึ่ง ในพระนาม "สมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี"

อิทธิพลของพุทธศาสนาต่อประเทศกัมพูชา[แก้]

พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตคือโสณเถระและพระอุตตรเถระเข้ามาเผยแผ่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ศาสนาพุทธได้เป็นรากฐานของวัฒนธรรมต่างๆในประเทศกัมพูชา รวมถึงการดำเนินชีวิตของคนในประเทศกัมพูชาล้วนมาจากพระพุทธศาสนา

อ้างอิง[แก้]

  1. Dr.Klot Thyda,The Understanding of Buddhism Khmer Society, [Phompen : Royal Cambodia Institute,2002] [ภาษาเขมร-Khmer Langauge]
  2. เดวิด แชนด์เลอร์ (David Chandler), ประวัติศาสตร์กัมพูชา A history of Cambodia,แปลโดย : พรรณงาม เง่าธรรมสาร | สดใส ขันติวรพงศ์ | วงเดือน นาราสัจจ์, [กรุงเทพมหานคร : โครงการตำรามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์,2540] หน้า 179-206
  3. เดวิด แชนด์เลอร์ (David Chandler), ประวัติศาสตร์กัมพูชา A history of Cambodia,แปลโดย : พรรณงาม เง่าธรรมสาร | สดใส ขันติวรพงศ์ | วงเดือน นาราสัจจ์, [กรุงเทพมหานคร : โครงการตำรามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์,2540] หน้า 114-147
  4. เดวิด แชนด์เลอร์ (David Chandler), ประวัติศาสตร์กัมพูชา A history of Cambodia,แปลโดย : พรรณงาม เง่าธรรมสาร | สดใส ขันติวรพงศ์ | วงเดือน นาราสัจจ์, [กรุงเทพมหานคร : โครงการตำรามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์,2540] หน้า 179-206
  5. พันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์) แปล, พงษาวดารกรุงกัมพูชา, [นนทบุรี : สำนักพิมพ์ศรีปัญญา,2550] หน้า 143
  6. พันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์) แปล, พงษาวดารกรุงกัมพูชา, [นนทบุรี : สำนักพิมพ์ศรีปัญญา,2550] หน้า 143
  7. ศานติ ภักดีคำ. เขมรสมัยหลังพระนคร. กทม. มติชน. 2556 หน้า 58 - 59
  8. 8.0 8.1 (Harris 2001, p. 78)
  9. In 1988, Maha Ghosananda was elected Supreme Patriarch by a group of exiled monks in Paris. During this same period, Tep Vong held the same office in the unified Cambodian sangha. After 1991, Tep Vong was recognized as head of the Maha Nikaya in Cambodia. (Harris 2001, p. 70)
  10. [ศานติ ภักดีคำ,ความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างสยามสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับกรุงกัมพูชา", ในวารสาร สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 ก.ค.-ก.ย. 2555 หน้า 3-19]
  11. พระระพิน พุทธิสาโร. (2559). ธรรมยุติกนิกายในกัมพูชา : ความสัมพันธ์ทางการเมืองและศาสนาของไทยและกัมพูชา.วารสารพุทธอาเซียน ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559
  12. (Harris 2001, p. 83)
  13. (Keyes 1994)

บรรณานุกรม[แก้]

  • ชิตมโน. พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย. 2533
  • ทรงวิทย์ แก้วศรี. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เล่ม 10 พระพุทธศาสนาในอินโดจีน . กรุงเทพฯ: การศาสนา. 2530.
  • นฤมิต พระนาศรี. ตำนานทุ่งสังหาร พอล พต ผู้ฆ่าล้างเผ่าพันธ์เขมร, (กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์น้ำฝน, 2541
  • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา, 2540.
  • พระมหาอุทัย ธมฺมสาโร. พระพุทธศาสนาและโบราณคดีในเอเซีย. กรุงเทพฯ: เฟื่องอักษร. 2516.
  • พระราชธรรมนิเทศ,(ระแบบ ฐิตญาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธ- ศาสนา. กรุงเทพฯ. มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2536.
  • พระศรีปริยัติโมลี ( สมชัย กุสลจิตฺโต ) . พุทธทัศนะร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2540.
  • เสถียร โพธินันทะ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ เล่ม 2 กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. 2535.