ศาสนาพุทธในประเทศอุซเบกิสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิตรกรรมรูปพระพุทธเจ้าและสถูปในโบราณสถานอารามฟายอซเตปา (Фаёзтепа)
วัดชาอึนซาในทาชเคนต์ (Буддийский храм «Чаынса»)

ศาสนาพุทธในประเทศอุซเบกิสถาน ปรากฏอยู่ในรายงานเสรีภาพการนับถือศาสนานานาชาติของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2547 (US State Department's International Religious Freedom Report 2004) ระบุว่ามีพุทธศาสนิกชนในประเทศอุซเบกิสถาน ร้อยละ 0.2 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลีใต้และโครยอ-ซารัม มีการจดทะเบียนรับรองศาสนาพุทธอย่างเป็นทางการเพียงนิกายเดียว และมีวัดเพียงแห่งเดียวในทาชเคนต์[1]

ประวัติ[แก้]

ดินแดนของประเทศอุซเบกิสถานในปัจจุบัน เคยถูกปกครองโดยจักรวรรดิกุษาณ มีการเผยแผ่ศาสนาพุทธเข้าสู่ดินแดนแบกเตรียและคันธาระ[2][3] ในเอกสารบาลี ระบุถึงพ่อค้าชาวแบกเตรียสองคนคือตปุสสะและภัลลิกะ เป็นปฐมสาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[4] หลังทั้งสองเดินทางกลับแบกเตรีย ก็ได้สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พุทธองค์[5][6] ศาสนาพุทธได้รับความนิยมอย่างสูงในรัชสมัยพระเจ้ากนิษกะ ทรงอุปถัมภ์ศาสนาพุทธนิกายมหายาน เพราะทรงนับถือว่า "เป็นหนทางแห่งความรอด"[7][8]

หลังการรุกรานของชาวเฮฟทาไลต์ (Hephthalites) หรือฮันขาว (White Huns) และการพิชิตดินแดนทรานโซเซียนาของชาวมุสลิม ศาสนาพุทธก็เสื่อมความนิยมลง ต่อมาเมื่อมีการประหารพุทธศาสนิกชนในควอแรซึม (Khwarazm) เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาพุทธก็เลือนหายไปจากดินแดนอุซเบกิสถานมาตั้งแต่นั้น[9][10]

ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการเนรเทศชาวโครยอ-ซารัม ซึ่งเป็นคนเกาหลีในตะวันออกไกลของรัสเซีย เข้าไปตั้งถิ่นฐานในเอเชียกลาง ซึ่งจำนวนนี้มีชาวเกาหลีที่นับถือศาสนาพุทธรวมอยู่ด้วย ทว่าในยุคสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก มีการกดขี่ข่มเหงและละเมิดสิทธิของพุทธศาสนิกชน จนถึง พ.ศ. 2534

ปัจจุบันในประเทศอุซเบกิสถาน ยังมีพุทธสถานคือ วัดชาอึนซา (แปลว่า กรุณาราม) เป็นวัดพุทธแบบเกาหลีนิกายโชกเย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534 ตั้งอยู่ย่านชานเมืองของทาชเคนต์ ถือเป็นวัดพุทธเพียงแห่งเดียวที่ยังมีการใช้งานอยู่จนถึงปัจจุบัน[11] วัดแห่งนี้ไม่มีพระสงฆ์จำวัดตลอดอย่างอารามในเกาหลีใต้[11] กระนั้นก็มีพระสงฆ์จากเกาหลีใต้ ไทย พม่า และญี่ปุ่นแวะเวียนมาประกอบพิธีกรรมอยู่เนือง ๆ[12] มีอุบาสกและอุบาสิกาเชื้อสายเกาหลีในสังกัดวัดขนาดย่อมราว 100-150 คน[11] และ พ.ศ. 2561 มีแผนการขยายถนนวงแหวนรอบนอกทาชเคนต์ ซึ่งแนวรื้อถอนกินเนื้อที่บริเวณด้านหน้าของวัด ด้วยเหตุนี้จึงมีการเรียกร้องให้มีการอนุรักษ์พุทธสถานแห่งนี้ ผู้ว่าราชการกรุงทาชเคนต์ประนีประนอมด้วยการปรับเปลี่ยนแนวถนนใหม่เพื่อไม่ต้องรื้อถอนวัดชาอึนซา[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Summary of Religious Bodies in Uzbekistan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  2. Культура и искусство древнего Узбекистана. Каталог выставки в 2-х томах. М ., 1991.
  3. Древности южного Узбекистана. Альбом-каталог (на русск., японск., англ. яз.). Токио, 1991.
  4. Материалы полевых исследований Узбекистанской искусствоведческой экспедиции (Уз ИскЭ). Вып. № 1, 1997; Вып. № 2, 1997; Вып. № 2, Ташкент, 1998.
  5. Г.Пугаченкова Вклад «УзИскЭ» в познание художественного наследия Узбекистана. // Сб. "Санъатшунослик масалалари — I ". Ташкент, 1998
  6. Материалы полевых исследований Узбекистанской искусствоведческой экспедиции (Уз ИскЭ). Вып. № 3, 1997; Вып. № 3. Ташкент, 1999
  7. Ртвеладзе Э. Великий шелковый путь. Ташкент , 1999
  8. Материалы полевых исследований Узбекистанской искусствоведческой экспедиции (Уз ИскЭ). Вып. № 4, 1997; Вып. № 4. Ташкент, 2000
  9. Материалы Тохаристанской экспедиции. Вып.1. Ташкент, 2000
  10. Тermez. - an ancient and modern city at important crossroads. Ташкент , 2001
  11. 11.0 11.1 11.2 Darina Solod (2019-01-30). "A Bit of Zen in Tashkent: The Structure of the Only Functioning Buddhist Temple in Central Asia". cabar.asia. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
  12. 12.0 12.1 "Буддийский храм под Ташкентом сохранил территорию". Газета.uz. 2018-10-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-3. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)