ข้ามไปเนื้อหา

วศิน อินทสระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วศิน อินทสระ
เกิด17 กันยายน พ.ศ. 2477 (90 ปี)
อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
อาชีพนักเขียน,คอลัมนิสต์
แนวพระพุทธศาสนา , ธรรมะ
ผลงานที่สำคัญพระอานนท์ พุทธอนุชา

พระพุทธศาสนาเถรวาท (สองเล่ม)

ทางแห่งความดี

พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน

ความทุกข์และการดับทุกข์
รางวัลสำคัญศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (พ.ศ. 2566) [1]


วศิน อินทสระ (17 กันยายน พ.ศ. 2477) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2566[2] เป็นนักเขียนนวนิยายอิงธรรมะ คอลัมนิสต์และนักปาฐกถาธรรมในวงการศาสนาพุทธไทย

ประวัติ

[แก้]

วศิน อินทสระ เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2477 ที่หมู่บ้านท่าศาลา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 13 ปี ที่วัดบุปผาราม เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เมื่อพ.ศ. 2490 และอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อ พ.ศ. 2497 จนกระทั่งลาสิกขา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2507 รวมเวลา 10 ปี

การศึกษา

[แก้]
  • เตรียมประถม โรงเรียนประชาบาลบ่อทราย
  • ประถม โรงเรียนประชาบาลวัดชะแล้
  • นักธรรมตรี วัดบุปผาราม
  • นักธรรมโท วัดบุปผาราม
  • นักธรรมชั้นเอก วัดบุปผาราม
  • เปรียญธรรม 7 ประโยค วัดบุปผาราม
  • ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงฆ์ (มหามกุฎราชวิทยาลัย)
  • ปริญญาโท มหาวิทยาลัยพาราณสี
  • ปีพศ. 2545 ได้รับปริญญาศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พุทธศาสตร์) จากสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย

หน้าที่การงานในปัจจุบัน

[แก้]
  • อาจารย์ / หัวหน้าภาควิชาปรัชญาคณะศาสนาและปรัชญา สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
  • อาจารย์โรงเรียนราชินี (ปากคลองตลาด)
  • อาจารย์ฝ่ายปกครอง โรงเรียนพาณิชยการสีลม
  • อาจารย์ โรงเรียนเตรียมทหาร
  • หัวหน้ากองบังคับการ โรงเรียนเตรียมทหาร
  • บรรณารักษ์ห้องปรัชญาและศาสนา หอสมุดแห่งชาติ
  • อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อาจารย์พิเศษ โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
  • อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ที่ปรึกษาทางวิชาการประจำ มูลนิธิแผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์
  • บรรณาธิการนิตยสารศุภมิตร

ผลงานทางวิชาการ

[แก้]

อาจารย์วศิน อินทสระผลิตหนังสือธรรมะ ออกวางขายตามท้องตลาดเป็นจำนวนมาก อาทิ

  • พระอานนท์ พุทธอนุชา
  • พระพุทธศาสนาเถรวาท (สองเล่ม)
  • ทางแห่งความดี
  • พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
  • ความทุกข์และการดับทุกข์
  • สาระสำคัญแห่งวิสุทธิมรรค
  • อริยสัจ ๔ (ความจริงของชีวิตที่ทุกคนควรรู้และเข้าใจ)
  • พุทธวิธีในการสอน (ตีพิมพ์ในปี ๒๕๒๔)

รางวัลเกียรติคุณ

[แก้]
  • พ.ศ. 2525 รางวัลเสาเสมาธรรมจักร ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาวรรณกรรม ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์  200 ปี ประเภท ข. (ร้อยแก้ว) หนังสือและคำประพันธ์ พระราชทาน จากศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2535 ประกาศเกียรติคุณรางวัลชมเชย จากบทความเรื่อง หลักกรรมและการพึ่งตนเอง ประเภทงานสร้างสรรค์ด้านศาสนา จากกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2552 โล่ประกาศเกียรติคุณ รางวัลผู้มีคุโณปการต่อพระพุทธศาสนา ระดับกาญจนเกียรติคุณ จากคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
  • พ.ศ. 2553 ประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ ในฐานะปูชนียบุคคล ด้านภาษาไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
  • 2557 รางวัลนราธิป ในฐานะนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ กวี นักแปล และหรือบรรณาธิการอาวุโส ผู้สร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าแก่วงวรรณกรรมไทย มาเป็นเวลานาน ต่อเนื่อง และรับความนิยมอย่างกว้างขวาง สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
  • 2558 รางวัลมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ ในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นในสาขาวิชาพระพุทธศาสนา ด้านวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา จากมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ
  • 2559 โล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาสังคม ในโอกาสครบ ๑ ทศวรรษ การก่อตั้งสถานีวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม เอฟ.เอ็ม 97.75 เมกเฮิรต์ซ จากคณะกรรมการจัดตั้งสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในกำกับของมหาเถรสมาคม
  • 2565 โล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาดีเด่น ในโอกาสครบรอบ ๗๒ ปี ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จากยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]