ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อพรรคการเมืองในประเทศจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) อย่างไรก็ตาม มีพรรคการเมืองขนาดเล็ก 8 พรรคที่อยู่ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์จีน

ภายใต้หลักการหนึ่งประเทศ สองระบบ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และมาเก๊า ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจยุโรป จะดำเนินงานภายใต้ระบบการเมืองที่แตกต่างจากบนแผ่นดินใหญ่ ปัจจุบัน ทั้งฮ่องกงและมาเก๊ามีระบบหลายพรรคที่ถูกนำมาใช้ก่อนที่จะส่งมอบดินแดนให้กับจีน [1]

พรรคตามกฎหมาย

[แก้]

พรรคปกครอง

[แก้]
พรรค ปีที่จัดตั้ง อุดมการณ์ จำนวนสมาชิก ผู้นำพรรค ที่นั่งในสภาประชาชนแห่งชาติ ที่นั่งในคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ ที่นั่งในสภาปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน
พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP)
中国共产党 (中共)
1921
สังคมนิยมอัตลักษณ์จีน 98,041,000 (2022) สี จิ้นผิง
2,091 / 2,980
118 / 175
99 / 544

พรรครอง

[แก้]

แม้ว่าจะมีเพียงพรรคคอมมิวนิสต์จีนเท่านั้นที่มีอำนาจในระดับชาติ แต่ก็มีพรรคการเมืองรองและพรรคที่ไม่ใช่ฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการจำนวน 8 พรรคที่ดำรงอยู่เคียงข้างพรรคคอมมิวนิสต์จีน[2] พรรคการเมืองเหล่านี้ก่อตั้งขึ้นก่อนการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยจะต้องยอมรับ “บทบาทผู้นำ” ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นเงื่อนไขในการดำรงพรรคต่อไป[3] ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เหล่านี้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้รับการอธิบายอย่างเป็นทางการว่าเป็นการอยู่ร่วมกันในระยะยาวและการกำกับดูแลร่วมกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยความจริงใจ และปันความทุกข์ยากร่วมกัน[4] ฮิวแมนไรตส์วอตช์ (Human Rights Watch) รายงานว่า พรรคเหล่านี้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษามากกว่ามีบทบาทเป็นฝ่ายค้าน[5]

พรรคเล็กทั้ง 8 พรรคมีส่วนร่วมใน “งานแนวร่วม” (United Front) และยังมีส่วนร่วมในระบบการเมืองด้วย แต่ไม่มีอำนาจในระดับชาติ[6][2] ระบบการเมืองของจีนอนุญาตให้สมาชิกบางคนจากพรรคเล็กทั้ง 8 พรรคและสมาชิกที่ไม่ใช่พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีส่วนร่วมในสภาประชาชนแห่งชาติได้ แต่พรรคเหล่านี้จะได้รับการตรวจสอบจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน[5]

อันดับ พรรค ปีที่จัดตั้ง อุดมการณ์ จำนวนสมาชิก หัวหน้าพรรค ที่นั่งในสภาประชาชนแห่งชาติ ที่นั่งในคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ ที่นั่งในสภาปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน
1. คณะกรรมการปฏิวัติพรรคก๊กมินตั๋งแห่งประเทศจีน (RCCK)
中国国民党革命委员会 (民革)
Zhōngguó guómíndǎng gémìng wěiyuánhuì (Míngé)
1948
158,000 (2022) เจิ้ง เจี้ยนปัง
44 / 2,980
6 / 175
65 / 544
2. สันนิบาตประชาธิปไตยแห่งประเทศจีน (CDL)
中国民主同盟 (民盟)
Zhōngguó mínzhǔ tóngméng (Mínméng)
1941
สังคมนิยมอัตลักษณ์จีน 330,600 (2020) ติง จ้งหลี่
57 / 2,980
9 / 175
65 / 544
3. สมาคมสร้างชาติประชาธิปไตยแห่งประเทศจีน (CNDCA)
中国民主建国会 (民建)
Zhōngguó mínzhǔ jiànguó huì (Mínjiàn)
1945
สังคมนิยมอัตลักษณ์จีน 193,000 (2018) ห่าว หมิงจิน
57 / 2,980
3 / 175
65 / 544
4. สมาคมส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งประเทศจีน (CAPD)
中国民主促进会 (民进)
Zhōngguó mínzhǔ cùjìn huì (Mínjìn)
1945
สังคมนิยมอัตลักษณ์จีน 156,808 (2016) ไช่ ต๋าเฟิง
58 / 2,980
7 / 175
45 / 544
5. พรรคประชาธิปไตย เกษตรกร และกรรมกรแห่งประเทศจีน (CPWDP)
中国农工民主党 (农工党)
Zhōngguó nónggōng mínzhǔdǎng (Nónggōngdǎng)
1930
สังคมนิยมอัตลักษณ์จีน 177,943 (2019) เหอ เหวย์
54 / 2,980
7 / 175
45 / 544
6. พรรคจื้อกง (CZGP)
中国致公党 (致公党)
Zhōngguó zhì gōng dǎng (Zhìgōngdǎng)
1925
48,000 (2016) เจี่ยง จั้วจุน
38 / 2,980
3 / 175
30 / 544
7. สมาคมจิ่วซาน (JS)
九三学社
Jiǔsānxuéshè
1945
สังคมนิยมอัตลักษณ์จีน 183,710 (2019) อู่ เหวย์หฺวา
63 / 2,980
4 / 175
45 / 544
8. กลุ่มประชาธิปไตยปกครองตนเองไต้หวัน (TDSL)
台湾民主自治同盟 (台盟)
Táiwān mínzhǔ zìzhì tóngméng (Táiméng)
1947
3,000 (2018) ซู ฮุย
13 / 2,980
3 / 175
20 / 544

พรรคอื่น ๆ

[แก้]

พรรคที่ถูกห้าม

[แก้]

พรรคต่อไปนี้ที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนถูก (หรือเคยถูก) ห้ามโดยรัฐบาล:

  • พรรคคอมมิวนิสต์จีน (ลัทธิมากซ์–เลนิน) (จีน: 中国共产党 (马列)) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ต่อต้านการปฏิรูป ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1976 โดยกลุ่มกบฏลัทธิเหมาหลายกลุ่มของยุวชนแดงในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ พวกเขาเชื่อว่าการจับกุมแก๊งสี่คนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถูกปราบปรามหลังจากความพยายามก่อจลาจลด้วยอาวุธประสบความล้มเหลวในเซี่ยงไฮ้ เจ้อเจียง กวางตุ้ง และยูนนาน[7]
  • พรรคคอมมิวนิสต์จีน (กองทัพปลดปล่อยกรรมกรและชาวนา) (จีน: 中国共产党 (工农解放军)) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ต่อต้านการปฏิรูป ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1976 โดยกลุ่มกบฏลัทธิเหมาของกลุ่มยุวชนแดงในมณฑลฝูเจี้ยน พวกเขาใช้ป้อมปราการเก่าที่สร้างขึ้นในช่วงสงครามกลางเมืองจีน และจัดตั้งกองทัพของพรรคที่ชื่อว่า "กองทัพปลดปล่อยกรรมกรและชาวนา"[8] พวกเขาประกาศว่าผู้นำคนใหม่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นนักปฏิรูปและเรียกร้องให้มีการลุกฮือและสถาปนาคณะกรรมการกลางพรรคขึ้นมาใหม่[9] กิจการของพรรคดำเนินไปจนถึงปี ค.ศ. 1978
  • พรรคประชาธิปไตยแห่งประเทศจีน (จีน: 中国民主党) ก่อตั้งโดยผู้เข้าร่วมขบวนการกำแพงประชาธิปไตยในปี ค.ศ. 1978 และการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี ค.ศ. 1989 ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1998 และถูกประกาศว่าผิดกฎหมายในปีเดียวกัน[10][11]
  • สหภาพชาตินิยมจีน (จีน: 中国泛蓝联盟) สนับสนุนอุดมคติของ Pan-Blue Coalition ในไต้หวัน ด้วยเหตุนี้ เป้าหมายจึงรวมถึงการสร้างประชาธิปไตยเสรีนิยมในประเทศจีน โดยยึดหลักไตรราษฎร์ของซุน ยัตเซ็น กลุ่มนี้มีต้นกำเนิดมาจากการอภิปรายในฟอรัมอินเทอร์เน็ตในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 สำนักงานกิจการไต้หวันแห่งสภาแห่งรัฐกล่าวว่าเป็นองค์กรที่ผิดกฎหมายเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2007 [12]
  • พรรคประชาธิปไตยใหม่แห่งประเทศจีน (จีน: 中国新民党) ก่อตั้งโดยกัว เฉวียน ในเมืองหนานจิงเมื่อปลายปี 2007[10][11]
  • พรรคคอมมิวนิสต์ลัทธิเหมาแห่งประเทศจีน (จีน: 中国毛泽东主义共产党) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ต่อต้านการปฏิรูป ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2008 พรรคพยายามที่จะริเริ่ม "การปฏิวัติสังคมนิยมครั้งที่ 2" เพื่อสร้าง "ระบอบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ" ขึ้นใหม่ ต่อมาถูกปราบปรามโดยรัฐบาลจีน[13]
  • พรรคจื้อเซี่ยน (จีน: 至宪党), หรือที่รู้จักกันในชื่อ พรรครัฐธรรมนูญ ก่อตั้งโดยผู้สนับสนุนปั๋ว ซีไหล[14][15] ในปี ค.ศ. 2013 และถูกห้ามในเดือนธันวาคมของปีนั้น[16][17]
  • คณะกรรมการกลางปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพจีน (จีน: 中国无产阶级革命中央委员会, ย่อ จีน: 中革中央) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ต่อต้านการปฏิรูป ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2010 โดย โจว ฉวิน (จีน: 周群) ผู้นำพรรคเป็นสมาชิกของกลุ่มกบฏ (จีน: 造反派) ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม และแกนกลางของคณะกรรมการประกอบด้วยคนงานที่ถูกเลิกจ้างหลายสิบคน (จีน: 大下岗) ในมณฑลเจียงซู ถูกปราบปรามโดยตำรวจ หลังพบกิจกรรมยุยงปลุกปั่นทางสื่อออนไลน์[ต้องการอ้างอิง]

พรรคในอดีต

[แก้]
ซุน ยัตเซ็น ร่วมกับสมาชิกถงเหมิงฮุ่ยสาขาสิงคโปร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Buckley, Roger (1997-05-28). Hong Kong: The Road to 1997 (1 ed.). Cambridge University Press. doi:10.1017/cbo9780511612220. ISBN 978-0-521-47008-7.
  2. 2.0 2.1 Liao, Xingmiu; Tsai, Wen-Hsuan (2019). "Clientelistic State Corporatism: The United Front Model of "Pairing-Up" in the Xi Jinping Era". China Review. 19 (1): 31–56. ISSN 1680-2012. JSTOR 26603249.
  3. Tselichtchev, Ivan, บ.ก. (2012-01-02). China Versus the West: The Global Power Shift of the 21st Century (ภาษาอังกฤษ). Hoboken, NJ, USA: John Wiley & Sons, Inc. doi:10.1002/9781119199311. ISBN 978-1-119-19931-1. OCLC 883259659.
  4. "IV. The System of Multi-Party Cooperation and Political Consultation". China Internet Information Center. สืบค้นเมื่อ 2022-12-30.
  5. 5.0 5.1 "China: Nipped In The Bud - Background". Human Rights Watch. สืบค้นเมื่อ 2021-03-18.
  6. Kesselman, Mark (2012-01-01). Introduction to Politics of the Developing World: Political Challenges and Changing Agendas (ภาษาอังกฤษ). Cengage Learning. p. 324. ISBN 978-1-133-71258-9.
  7. Su, Yuan (2017). 1978-1979: Diary. China Cultural Communication Press.
  8. "'四人帮'在福建打游击". 展望. 01. 1977-01-01.
  9. "福建四人帮战讯". 展望. 1977-12-01.
  10. 10.0 10.1 Gittings, John (2005). The Changing Face of China: From Mao to Market. Oxford University Press, 2005. ISBN 0-19-280612-2.
  11. 11.0 11.1 Goldsmith, Jack; Wu, Tim (2006-06-29). Who Controls the Internet?: Illusions of a Borderless World (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. doi:10.1093/oso/9780195152661.001.0001. ISBN 978-0-19-515266-1.
  12. "国台办称中国泛蓝联盟是非法组织" [The Taiwan Affairs Office said the Union of Chinese Nationalists is an illegal organization.]. Phoenix TV (ภาษาChinese (China)). 25 April 2007.
  13. Demick, Barbara (20 March 2012). "China puts a stop to Maoist revival". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2012. สืบค้นเมื่อ 14 December 2016.
  14. Moore, Malcolm. "Former teacher names Bo Xilai chairman of 'new political party'". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2013. สืบค้นเมื่อ 10 November 2013.
  15. Benjamin Kang Lim and Ben Blanchard (9 November 2013). "Bo Xilai supporters launch new political party in China". The Globe and Mail. Toronto. สืบค้นเมื่อ 10 November 2013.
  16. Shao, Heng. "Bizarre China Report: The Grand Wedding, Power Play & Smog-Inspired Creativity". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-27. สืบค้นเมื่อ 2017-09-03.
  17. "北京民政局发出取缔"至宪党"决定". Deutsche Welle. 14 December 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2019. สืบค้นเมื่อ 28 December 2016.