ข้ามไปเนื้อหา

รัฐเกรละ

พิกัด: 8°30′N 77°00′E / 8.5°N 77°E / 8.5; 77
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐเกรละ
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน:
นิยามสภามันทิรัม (Niyamasabha Mandiram), โกชิมารีน่า,
หาด Muzaffilangad (Muzhappilangad Beach), น้ำตกอถิรัปปิลลี (Athirappilly Falls), เรือบ้าน, มันนาร์ (Munnar hills)
สมญา: 
แผ่นดินส่วนพระองค์ของพระเจ้า (God's Own Country), สวนเครื่องเทศของอินเดีย, ดินแดนมะพร้าว, ดินแดนแห่งต้นไม้
ที่ตั้งของเกรละ
ที่ตั้งของเกรละ
พิกัด (ติรุวนันตปุรัม): 8°30′N 77°00′E / 8.5°N 77°E / 8.5; 77
ประเทศ อินเดีย
ได้รับสถานะเป็นรัฐ1 พฤศจิกายน 1956; 68 ปีก่อน (1956-11-01)
เมืองหลวงติรุวนันตปุรัม
เขต14 เขต
การปกครอง
 • องค์กรรัฐบาลเกรละ
 • ราชยปาลอารีฟ โมฮัมหมัด ข่าน (Arif Mohammad Khan)
 • มุกขยนายกปีนารายี วิชยัน (Pinarayi Vijayan)
(พรรค CPI(M))
 • นิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยว (141 ที่นั่ง)
 • สมาชิกรัฐบาล
 • ศาลสูงศาลสูงเกรละ โกชิ
พื้นที่
 • ทั้งหมด38,863 ตร.กม. (15,005 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 23
ความสูงจุดสูงสุด (อานามูดี (Anamudi))2,695 เมตร (8,842 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด (กุตตานาท (Kuttanad))−2.2 เมตร (−7.2 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[1]
 • ทั้งหมด33,387,677 คน
 • อันดับที่ 13
 • ความหนาแน่น860 คน/ตร.กม. (2,200 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวเกรละ (Keralite), ชาวมลายี (Malayali)
จีดีพี (2017–18)[2][3]
 • รวม₹9.78ข้อผิดพลาดนิพจน์: "lc" เป็นคำที่ไม่รู้จัก (2020–21)
 • ต่อหัว₹225,484 (2018–19)
ภาษา
 • ภาษาราชการภาษามลยาฬัม[4]
 • ภาษาราชการเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ[5]
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-KL
ทะเบียนพาหนะKL
เอชดีไอ (2018)เพิ่มขึ้น 0.779[6] (High) · ที่ 1
การรู้หนังสือ (2011)94%[7]
อัตราส่วนเพศ (2011)1084 /1000 [7]
เว็บไซต์kerala.gov.in
สัญลักษณ์
สัตว์
ช้างเอเชีย
สัตว์ปีก
นกกก
สัตว์น้ำ
ปลาหมอโครมายด์เขียว
ผีเสื้อ
Papilio buddha[8]
ดอกไม้
ราชพฤกษ์
ผลไม้
ขนุน [9]
ต้นไม้
ต้นมะพร้าว[10]

เกรละ [เก-ระ-ละ] (ฮินดี: केरल; มลยาฬัม: കേരളം) เป็นรัฐหนึ่งในทางตะวันตกเฉียงใต้ของชายฝั่งมะละบาร์ของประเทศอินเดีย รัฐเกรละก่อตั้งขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน 1956 ตามการประกาศใช้ States Reorganisation Act โดยรวมภูมิภาคสองรัฐที่ใช้ภาษามลยาฬัมเข้าด้วยกันคือ ตรวันโกเล-โกจีน (Travancore-Cochin) และมัทราส รัฐเกรละมีพื้นที่กว่า 38,863 km2 (15,005 sq mi) มีพื้นที่เป็นอันดับที่ยี่สิบสาม มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกรณาฏกะทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐทมิฬนาฑูทางตะวันออกและใต้ และลักษทวีปทางทะเล[11] ทางตะวันตก รัฐเกรละประกอบด้วยประชากร 33,387,677 คนตามที่ระบุในสำมะโนประชากรปี 2011 คิดเป็นอันดับที่สิบสามของประเทศอินเดีย การปกครองของรัฐแบ่งออกเป็น 14 เขต โดยมีเมืองหลวงคือติรุวนันตปุรัม ภาษามลยาฬัมเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปในรัฐและเป็นภาษาราชการประจำรัฐ[12]

จักรวรรดิเจระ (Chera Dynasty) เป็นอาณาจักรแรกที่ตั้งรกรากถาวรบนพื้นที่ของเกรละ ตามด้ายอาณาจักรอัย (Ay kingdom) ลึกเข้าไปทางใต้และ อาณาจักรเอญีมาลา (Ezhimala kingdom) ในทางตอนเหนือ และอาณาจักรอื่น ๆ ที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงปีหลังคริสตกาล บริเวณนี้เป็นจุดส่งออกเครื่องเทศที่สำคัญของโลกนับตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ความโดดเด่นในแวดวงการค้าขายนั้นพบในบันทึกของพลินีผู้อาวุโสและในบันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียน เมื่อราว ค.ศ. 100 ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การค้าเครื่องเทศได้ดึงดูดพ่อค้าชาวโปรตุเกสมายังเกรละ และนำไปสู่อาณานิคมอินเดีย ในยุคสมัยของขบวนการเรียกร้องเอกราชอินเดีย ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีอยู่สองรัฐมหาราชาที่ยังหลงเหลืออยู่ คือ รัฐเกรละ-รัฐตรวันโกเล (Kerala - Travancore State) กับราชอาณาจักรโกจีน (Kingdom of Cochin) ทั้งสองได้รวมกันเพื่อก่อตั้ง ติรู-โกจี (Thiru-Kochi) ในปี 1949 บริเวณภูมิภาคมะละบาร์ทางตอนเหนือของเกรละได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมัทราสในสมัยบริติชอินเดีย ซึ่งในภายหลังคือรัฐมัทราส ในยุคหลังได้รับเอกราช หลังการประกาศใช้ States Reorganisation Act, 1956 รัฐเกรละในปัจจุบันก็ได้จัดตั้งขึ้นโดยการรวมเขตมะละบาร์ของรัฐมัทราส (ยกเว้นเพียง Gudalur taluk ใน เขตนิลคีรีส (Nilgiris district), Topslip, ป่า Attappadi ทางตะวันออกของ Anakatti), รัฐติรู-โกจี (ยกเว้นตาลุกะทางใต้สี่แห่งของเขตกันยากุมารี (Kanyakumari), Shenkottai และ Tenkasi taluks), และตาลุกะใน Kasaragod (ปัจจุบันคือเขต Kasaragod District)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Kerala Population Census data 2011". Census 2011. สืบค้นเมื่อ 12 November 2015.
  2. "Kerala Budget Analysis 2020-21". PRS Legislative Research. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  3. "Gross State Domestic Product of Kerala". Department of Economics and Statistics, Government of Kerala. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-09. สืบค้นเมื่อ 9 June 2019.
  4. "52nd report of the Commissioner for Linguistic Minorities in India (July 2014 to June 2015)" (PDF). Ministry of Minority Affairs (Government of India). 29 March 2016. p. 132. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 May 2017.
  5. Jacob, Aneesh (27 November 2015). "Malayalam to be only official language in state". Mathrubhumi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2020-04-27.
  6. "Sub-national HDI – Area Database". Global Data Lab (ภาษาอังกฤษ). Institute for Management Research, Radboud University. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  7. 7.0 7.1 "Census 2011 (Final Data) – Demographic details, Literate Population (Total, Rural & Urban)" (PDF). planningcommission.gov.in. Planning Commission, Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 January 2018. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
  8. Jacob, Aneesh. "'Budha Mayoori' to be named Kerala's state butterfly". Mathrubhumi (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-27.
  9. "Jackfruit to be Kerala's state fruit; declaration on March 21". The Indian Express. PTI. 17 March 2018. สืบค้นเมื่อ 22 March 2018.
  10. "Kerala Symbols". ENVIS Centre: Kerala. สืบค้นเมื่อ 21 March 2018.
  11. "Limits of Oceans and Seas, 3rd edition" (PDF). International Hydrographic Organization. 1953. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 October 2018. สืบค้นเมื่อ 7 February 2010.
  12. "Kerala – Principal Language". Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-10. สืบค้นเมื่อ 27 November 2018.