ข้ามไปเนื้อหา

ติรุวนันตปุรัม

พิกัด: 08°29′15″N 76°57′9″E / 8.48750°N 76.95250°E / 8.48750; 76.95250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ติรุวนันตปุรัม

ตริวันดรัม
ตามเข็ม: ย่านกุลาฐูร (Kulathoor), ปัทมานภาสวามีมนเทียร, นิยมสภามนเทียรัม, อีสต์ฟอร์ต, เทคโนพาร์ก, วังกนกักกุนนุ, ติรุวนันตปุรัมเซนทรอล และ หาดโกวาลัม
ตราอย่างเป็นทางการของติรุวนันตปุรัม
ตรา
สมญา: 
เมืองเอเวอร์กรีนแห่งอินเดีย[1]
ติรุวนันตปุรัมตั้งอยู่ในรัฐเกรละ
ติรุวนันตปุรัม
ติรุวนันตปุรัม
ติรุวนันตปุรัมตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ติรุวนันตปุรัม
ติรุวนันตปุรัม
พิกัด: 08°29′15″N 76°57′9″E / 8.48750°N 76.95250°E / 8.48750; 76.95250
ประเทศ อินเดีย
รัฐ รัฐเกรละ
อำเภอติรุวนันตปุรัม
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาล
 • องค์กรองค์การบริหารเทศบาลติรุวนันตปุรัม
 • นายกเทศมนตรีเค. ศรีกุมาร
 • รองนายกเทศมนตรีราขี รวีกุมาร
 • สมาชิกรัฐสภาศาศี ฐารูร (INC)
พื้นที่[2]
 • นคร214 ตร.กม. (83 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[3]311 ตร.กม. (120 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 1
ความสูง10 เมตร (30 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[2]
 • นคร957,730 คน
 • ความหนาแน่น4,500 คน/ตร.กม. (12,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[4]1,687,406 คน
เดมะนิมตริวันทรไมต์ (Trivandrumite),[5] ตริเวียน (Trivian)
ภาษา
 • ทางการภาษามลยาฬัม, ภาษาอังกฤษ[6]
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
PIN695 XXX
รหัสพื้นที่+91-(0)471
ทะเบียนพาหนะ
  • KL-01 Trivandrum Central City
  • KL-16 Attingal
  • KL-19 Parassala
  • KL-20 Neyyattinkara
  • KL-21 Nedumangad
  • KL-22 Kazhakootam
  • KL-74 Kattakkada
  • KL-81 Varkala
เว็บไซต์www.corporationoftrivandrum.in

ติรุวนันตปุรัม (มลยาฬัม: തിരുവനന്തപുരം) หรือชื่อเดิม ตริวันดรัม (อังกฤษ: Trivandrum) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย มีประชากร 957,730 คนในปี 2011[2] ด้วยประชากรในกลุ่มนครอยู่ที่ประมาณ 1.68 ล้านคน[4] ติรุวนันตปุรัมตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของอินเดียใกล้จุดใต้สุดของแผ่นดิน เป็นเมืองศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของเกรละ และส่งออกซอฟต์แวร์สูงถึง 55% ของรัฐในปี 2016[7][8] ได้รับการขนานนามโดยมหาตมา คานธี ให้เป็น "เมืองสีเขียวแห่งอินเดีย" (Evergreen city of India)[9][1] ด้วยลักษณะของเมืองที่เต็มไปด้วยพื้นดินเป็นเกลียวคลื่นและเขาชายฝั่งเตี้ย ๆ[10]

ติรุวนันตปุรัมเป็นเมืองศูนย์กลางด้านการวิจัยและการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งของอินเดีย เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเกรละ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเกรละ ซึ่งเป็นศูนย์ใหญ่ประจำภูมิภาคของมหาวิทยาลัยเปิดแห่งชาติอินทิรา คานธี และมีศูนย์วิจัยสำคัญเช่น สถาบันแห่งชาติเพื่อวิทยาศาสตร์ระหว่างสาขาและเทคโนโลยี, องค์กรวิจัยอวกาศอินเดีย ศูนย์อวกาศวิกรม สรไภ, สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศอินเดีย และวิทยาเขตหนึ่งของสถาบันวิทยาศาสตร์ศึกษาและวิจัยอินเดีย[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "History – Official Website of District Court of India". District Courts. สืบค้นเมื่อ 18 May 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Thiruvananthapuram Corporation General Information". Corporation of Thiruvananthapuram. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 10 July 2018.
  3. "Demographia World Urban Areas" (PDF). demographia.com. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2011.
  4. 4.0 4.1 "Urban Agglomerations/Cities having population 1 million and above" (PDF). Office of the Registrar General & Census Commissioner. Ministry of Home Affairs, Government of India. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
  5. "Ramzan turns Kerala into a foodies' paradise". Times of India. 23 June 2017. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
  6. "The Kerala Official Language (Legislation) Act, 1969" (PDF). PRS Legislative Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-04-20. สืบค้นเมื่อ 19 July 2018.
  7. "Kerala Economic Review". Government of Kerala. Kerala State Planning Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2020. สืบค้นเมื่อ 1 March 2018.
  8. "Kunhalikutty to lay foundation stone for Technopark tomorrow". Technopark. 24 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-04. สืบค้นเมื่อ 2020-08-28.
  9. "Thiruvananthapuram India". Destination 360. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-28. สืบค้นเมื่อ 18 June 2010.
  10. Kapoor, Subodh (2002). The Indian encyclopaedia : biographical, historical, religious, administrative, ethnological, commercial and scientific. New Delhi: Cosmo Publications. ISBN 8177552570.
  11. "Thiruvananthapuram: One of the South's Hottest IT Hubs-DQWeek". www.dqweek.com. สืบค้นเมื่อ 20 December 2017.