ข้ามไปเนื้อหา

ยูฟ่าคัพ 2001 นัดชิงชนะเลิศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูฟ่าคัพ 2001 นัดชิงชนะเลิศ
รายการยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 2000–01
(ต่อเวลาพิเศษ)
วันที่16 พฤษภาคม 2001
สนามเว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน, ดอร์ทมุนท์
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
แกรี แมคอัลลิสเตอร์ (ลิเวอร์พูล)[1]
ผู้ตัดสินกิลแลส์ ไวส์ซิแอร์ (ฝรั่งเศส)[2]
ผู้ชม48,050
2000
2002

ยูฟ่าคัพ 2001 นัดชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างลิเวอร์พูลของอังกฤษ และ เดปอร์ติโบอาลาเบสของสเปน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2001 เพื่อหาผู้ชนะของ ยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 2000-01 ณ สนาม เว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อนในเมืองดอร์ทมุนท์ ประเทศเยอรมัน

เส้นทางสู่รอบชิงชนะเลิศ

[แก้]

ลิเวอร์พูล

[แก้]
รอบ ทีม นัด 1 นัด 2 สกอร์รวม
รอบ 1 ราบิด บูคาเรสต์ 1–0 (a) 0–0 (h) 1–0
รอบ 2 สโลวาน ลิเบอเรช 1–0 (h) 3–2 (a) 4–2
รอบ 3 โอลิมเปียกอส 2–2 (a) 2–0 (h) 4–2
รอบ 4 โรมา 2–0 (a) 0–1 (h) 2–1
รอบก่อนรองชนะเลิศ โปร์ตู 0–0 (a) 2–0 (h) 2–0
รอบรองชนะเลิศ บาร์เซโลนา 0–0 (a) 1–0 (h) 1–0

ลิเวอร์พูลมีคุณสมบัติในการเข้ารอบด้วยการจบอันดับ 4 ของพรีเมียร์ลีก นัดแรกของลิเวอร์พูลนั้นแข่งขันกันกับทีมราบิด บูคาเรสต์ของโรมาเนีย นัดแรก ลิเวอร์พูลเอาชนะได้ 0-1 จากประตูของนิค แบมบลี และนัดที่ 2 0–0 ทำให้ผ่านเข้ารอบ 2 ไปในรอบ 2 ลิเวอร์พูลต้องเจอกับ สโลวาน ลิเวอร์เลต จากเช็ค โดยนัดแรกชนะได้ 1–0 จากประตูของเอมีล เฮสกีย์และนัดที่ 2 ชนะ 3–2 จากประตูของ นิค แบมบลี เอมีล เฮสกีย์ และ ไมเคิล โอเวน ทำให้ผ่านเข้าสู่รอบ 3 ไปและในรอบ 3 ลิเวอร์พูลต้องเจอกับ โอลิมเปียกอสจากกรีซ นัดแรกนั้นลิเวอร์พูลเสมอ 2–2 จากประตูของนิค แบมบลี และ สตีเวน เจอร์ราร์ด และนัดที่ 2 ชนะ 2-0 จากประตูของ นิค แบมบลี และ เอมีล เฮสกีย์ ทำให้ผ่านเข้าสู่รอบ 4 ไปและในรอบ 4 ลิเวอร์พูลต้องเจอกับ โรมาจากอิตาลี นัดแรก ลิเวอร์พูลเอาชนะได้ 2–0 จากประตูของไมเคิล โอเวน ทั้ง 2 ลูก และนัดที่ 2 นั้นลิเวอร์พูล แพ้ โรมา 0–1 แต่ผลรวม 2 นัดลิเวอร์พูลชนะทำให้ผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศไป ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ลิเวอร์พูลต้องเจอกับ โปร์ตู จากโปรตุเกส นัดแรก เสมอ 0–0 และนัดที่ 2 ชนะ 2–0 จากประตูของ แดนนี่ เมอร์ฟีย์ และ ไมเคิล โอเวน ทำให้ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศและในรอบรองชนะเลิศ ลิเวอร์พูลต้องเจอกับ ยักษ์ใหญ่อย่างบาร์เซโลนา และลิเวอร์พูลก็เอาชนะได้ 1–0 จากนัดแรก 0–0 และนัดที่ 2 0–1 จากประตูของ แกรี่ แมตออร์เตอร์ ทำให้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศไป

อาลาเบส

[แก้]
รอบ ทีม นัด 1 นัด 2 สกอร์รวม
รอบ 1 กาเซียนเตปสปอร์ 0–0 (h) 4–3 (a) 4–3
รอบ 2 ลีลล์สตรอม 3–1 (a) 2–2 (h) 5–3
รอบ 3 โรเซนบอร์ก 1–1 (a) 3–1 (h) 4–2
รอบ 4 อินเตอร์มิลาน 3–3 (h) 2–0 (a) 5–3
รอบก่อนรองชนะเลิศ ราโย บาเยกาโน 3–0 (h) 1–2 (a) 4–2
รอบรองชนะเลิศ ไคเซอร์สเลาเทิร์น 5–1 (h) 4–1 (a) 9–2

อาลาเบสมีคุณสมบัติในการเข้ารอบด้วยการจบอันดับ 6 ของ ลาลิกา ฤดูกาล 1999-00 และเป็นครั้งแรกที่ได้แข่งขันในถ้วยยุโรป นัดแรกของอาลาเบสนั้นแข่งขันกันกับทีมกาเซียนเทปสปอร์ ของตุรกี นัดแรก (เหย้า) เสมอ 0–0 และนัดที่ 2 (เยือน) อาลาเบสเอาชนะได้ 4-3 โดยผลรวมชนะ 4–3 ทำให้ผ่านเข้ารอบ 2 ไปในรอบ 2 อาลาเบสต้องเจอกับ ลีลล์สตรอม จากนอร์เวย์ โดยนัดแรก (เยือน) ชนะได้ 3–1 และนัดที่ 2 (เหย้า) เสมอ 2–2 โดยผลรวมชนะ 5-3 ทำให้ผ่านเข้าสู่รอบ 3 ไปและในรอบ 3 อาลาเบสต้องเจอกับ โรเซนบอร์ก บีเคจากนอร์เวย์ เช่นกัน นัดแรก (เหย้า) นั้นอาลาเบสเสมอ 1–1 และนัดที่ 2 (เยือน) ชนะ 3–1 ทำให้ผ่านเข้าสู่รอบ 4 ไปและในรอบ 4 อาลาเบสต้องเจอกับ อินเตอร์มิลาน นัดแรกเสมอ 3–3 และนัดที่ 2 นั้นอาลาเบส ชนะ 2–0 ทำให้เข้ารอบไป ในรอบก่อนรองชนะเลิศ อาลาเบสต้องพบกับ ราโยบาเยกาโน ทีมร่วมลีกลาลิกา นัดแรก ชนะ 3–0 และนัดที่ 2 แพ้ 1–2 โดยผลรวม 4-2 ทำให้เข้ารอบรองชนะเลิศและในรอบรองชนะเลิศ อาลาเบสต้องเจอกับ แอร์สเทอเอฟเซไคเซอร์สเลาเทิร์น และอาลาเบสก็เอาชนะได้ 9–2 จากนัดแรก 5–1 และนัดที่ 2 4–1 ทำให้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศไป

แมตซ์

[แก้]

ช่วงต่อเวลาพิเศษ

[แก้]

ในช่วงต่อเวลาพิเศษ 30 นาทีหลังในเกม 90 นาที เสมอกัน โดยอาลาเบสเป็นรองเรื่องตัวผู้เล่นเนื่องจากมาตโก้ โมเชรินที่ลงมาเป็นตัวสำรองนั้นโดนใบแดงไล่ออกจากสนามโดยในช่วงที่ลิเวอร์พูลได้ประตูนั้นเกิดจากลูกฟรีคิกที่แกรี่ แมตออร์เตอร์โยนเข้าไปแล้วเดฟ กิลล์ พยายามที่จะโหม่งสะกัดเพื่อไห้ออกหลังแต่กลับกลายเป็นโหท่งเข้าประตูตัวเองทำให้ลิเวอร์พูลชนะ 5-4 เนื่องจากกฎโกลเดนโกลซึ่งใช้ในช่วงนั้นก็คือหากในช่วงต่อเวลาพิเศษฝ่ายใหนทำประตูได้จะเป็นผู้ชนะในทันที

รายละเอียด

[แก้]
ลิเวอร์พูล
อาลาเบส
GK 1 เนเธอร์แลนด์ ซานเดอร์ เวสเตอร์เฟลด์
RB 6 เยอรมนี มาร์คุส บับเบิล โดนใบเหลือง ใน 106th นาที 106'
CB 12 ฟินแลนด์ ซามี ฮูเปีย (c)
CB 2 สวิตเซอร์แลนด์ สเตฟาน อองโชซ์ Substituted off in the 55th นาที 55'
LB 23 อังกฤษ เจมี คาร์ราเกอร์
RM 21 สกอตแลนด์ แกรี แมคอัลลิสเตอร์ โดนใบเหลือง ใน 11th นาที 11'
CM 16 เยอรมนี ดีทมาร์ ฮามันน์
CM 17 อังกฤษ สตีเวน เจอร์ราร์ด
LM 13 อังกฤษ แดนนี เมอร์ฟี
CF 8 อังกฤษ เอมิล เฮสกี Substituted off in the 64th นาที 64'
CF 10 อังกฤษ ไมเคิล โอเวน Substituted off in the 78th นาที 78'
ผู้เล่นตัวสำรอง:
GK 19 ฝรั่งเศส เปกกีย์ อาร์ฟีซัด
DF 27 ฝรั่งเศส แกรกอรี วีญาล
DF 29 อังกฤษ สตีเฟน ไรท์
MF 7 เช็กเกีย วลาดีเมียร์ สมีเซอร์ Substituted on in the 55th minute 55'
MF 15 เช็กเกีย แพตริก แบร์เกอร์ Substituted on in the 78th minute 78'
MF 20 อังกฤษ นิค บาร์มบี
FW 9 อังกฤษ ร็อบบี ฟาวเลอร์ Substituted on in the 64th minute 64'
ผู้จัดการทีม:
ฝรั่งเศส เฌราร์ อูลีเย
GK 1 อาร์เจนตินา มาติน เฮเรย์รา โดนใบเหลือง ใน 40th นาที 40'
CB 5 สเปน อันโดนีโอ คาร์โมน่า (c) Red card 116'
CB 6 สเปน ออสก้า เทลลิส โดนใบเหลือง ใน 95th นาที 95'
CB 4 นอร์เวย์ ดาน เอร์กิน Substituted off in the 22nd นาที 22'
RWB 2 โรมาเนีย คอสมิน คอสตา โดนใบเหลือง ใน 49th นาที 49'
LWB 7 สเปน เดฟ กิลล์
RM 14 เนเธอร์แลนด์ โจดี้ ไกรฟฟ์
CM 15 สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย อีวาน โตมิส
CM 16 อาร์เจนตินา เฮเมส เดโซ่
LM 18 อาร์เจนตินา มารืติน ออสตูเดโร่ โดนใบเหลือง ใน 11th นาที 11' Substituted off in the 46th นาที 46'
CF 9 สเปน ชาบี โมเรโร Substituted off in the 64th นาที 64'
ผู้เล่นตัวสำรอง:
GK 25 สเปน คีเค บรูกอส
MF 3 สเปน ไอบอน เบโกนา
MF 17 สเปน ราอูล กานัน
MF 20 สเปน โจเก้ อาโคเทีย
FW 10 สเปน เปาโล โกเมซ Substituted on in the 64th minute 64'
FW 11 บราซิล มาตโก โมเชริน Red card 98' Substituted on in the 46th minute 46'
FW 19 อุรุกวัย อีบัน อลอนโซ Substituted on in the 22nd minute 22'
ผู้จัดการทีม:
สเปน โจเซ มานูเอล เอสนา

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
สกอตแลนด์ แกรี แมคอัลลิสเตอร์ (ลิเวอร์พูล)[1]
ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
ฝรั่งเศส แซร์แก วัลแล็ง (ฝรั่งเศส)[2]
ฝรั่งเศส แว็งซงต์ แตซีแอร์ (ฝรั่งเศส)[2]
ผู้ตัดสินที่สี่:
ฝรั่งเศส อาแล็ง ซาร์ส (ฝรั่งเศส)[2]

ข้อมูลในการแข่งขัน

  • แข่งขัน 90 นาที
  • ต่อเวลา 30 นาที หากใครมีประตูก่อนจะชนะทันทีตามกฎโกลเดนโกล
  • ยิงลูกจุดโทษหากยังเสมอกันในช่วงต่อเวลาพิเศษ
  • สามารถเปลี่ยนตัวได้ 3 คน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "McAllister claims sixth medal". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 31 December 2001. สืบค้นเมื่อ 26 July 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Match officials appointed for UEFA Cup final" (PDF). uefa.com. Union of European Football Associations. 14 May 2001. สืบค้นเมื่อ 13 July 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]