ข้ามไปเนื้อหา

เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู
ผู้จัดเอเอฟซี
ก่อตั้งค.ศ. 2004; 21 ปีที่แล้ว (2004) (ในชื่อ เอเอฟซีคัพ)
ภูมิภาคเอเชีย
จำนวนทีม32 (รอบแบ่งกลุ่ม)
ผ่านเข้าไปเล่นในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท
การแข่งขันที่เกี่ยวข้องเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท (ระดับที่ 1)
เอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก (ระดับที่ 3)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ชัรญะฮ์ (สมัยที่ 1)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดประเทศคูเวต อัลคูเวต
ประเทศอิรัก อัลกุวาอัลญาวียะห์
(สโมสรละ 3 สมัย)
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์พีพีทีวี
เว็บไซต์www.the-afc.com
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู 2025–26

เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู (อังกฤษ: AFC Champions League Two) เป็นการแข่งขันฟุตบอลประจำปีระหว่างสโมสรฟุตบอลจากประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย จัดโดยสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย รายการนี้เป็นการแข่งขันระดับที่สองของฟุตบอลสโมสรเอเชียรองจากเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท และเหนือกว่าเอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก

การแข่งขันก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2004 ในชื่อ เอเอฟซีคัพ (อังกฤษ: AFC Cup) โดยแข่งขันระหว่างสโมสรจากประเทศที่ไม่ได้รับสิทธิ์ผ่านเข้าไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับสูงสุดโดยตรง เมื่อ ค.ศ. 2024 เอเอฟซีได้เปิดตัวการแข่งขันสโมสรระดับที่สองที่ปรับปรุงใหม่ในชื่อ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู โดยมีการถ่ายโอนบันทึกและสถิติของเอเอฟซีคัพไปยังการแข่งขันใหม่

สโมสรจะผ่านเข้ารอบสู่การแข่งขันตามผลงานในลีกระดับชาติและการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วย การเข้าร่วมการแข่งขันนี้เปิดรับสโมสรจาก 12 ประเทศชั้นนำในภูมิภาคตะวันออก และตะวันตก โดยอิงตาม อันดับการแข่งขันสโมสรเอเอฟซี ผู้เข้าร่วมจากแต่ละประเทศที่อยู่ในอันดับ 1–6 ในแต่ละภูมิภาคคือสโมสรที่อยู่ในอันดับสูงสุดในประเทศนั้น ๆ ที่ไม่ได้ผ่านเข้ารอบเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท ประเทศที่อยู่ในอันดับ 7–12 ในแต่ละภูมิภาคจะส่งสโมสรอันดับสูงสุดของตนเข้าสู่เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทูโดยตรง

ผู้ชนะเลิศปัจจุบันคือ ชัรญะฮ์ โดยชนะไลออนซิตีเซเลอส์ในนัดชิงชนะเลิศ 2025 อัลคูเวต และอัลกุวาอัลญาวียะห์ เป็นสองสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยชนะเลิศสโมสรละสามสมัย สโมสรจากคูเวตชนะเลิศรายการนี้สี่สมัย ทำให้พวกเขากลายเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในการแข่งขัน

ผู้ชนะเลิศเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทูจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันในรอบเบื้องต้นทางอ้อมของเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิทในฤดูกาลถัดไป หากพวกเขาไม่ได้ผ่านการคัดเลือกจากการแข่งขันในประเทศ

ประวัติ

[แก้]
การแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่ม ระหว่างชลบุรีจากไทย และเกอดะฮ์จากมาเลเซีย เมื่อ ค.ศ. 2009 ณ สนามกีฬาแห่งชาติศุภชลาศัย

เอเอฟซีคัพ เริ่มต้นใน ค.ศ. 2004 โดยเป็นการแข่งขันระดับที่สองรองจากเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก มี 14 ประเทศที่กำลังพัฒนาเข้าร่วมการแข่งขันที่จัดขึ้นครั้งแรก และมี 18 ทีมที่ได้รับการเสนอชื่อ จากนั้นผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศสามทีมของรอบแบ่งกลุ่มจะเข้าสู่รอบแพ้คัดออก อัลจาอิช เป็นผู้ชนะเลิศแรกของเอเอฟซีคัพ โดยชนะอัลวาห์ดาด้วยประตูทีมเยือน

มี 18 ทีมจาก 9 ประเทศเข้าแข่งขันใน ค.ศ. 2005 โดยแต่ละประเทศยังได้รับอนุญาตให้เลือกทีมที่จะเข้าแข่งขันได้เพียงหนึ่งหรือสองทีมเท่านั้น หลังทีมจากซีเรียออกจากเอเอฟซีคัพเพื่อไปลองเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกนานถึงสี่ปี อัลฟัยเศาะลี ชนะเนจเมห์ในนัดชิงชนะเลิศ ทำให้ทีมจากจอร์แดนชนะเลิศเอเอฟซีคัพติดต่อกันในสองฤดูกาลถัดไป บาห์เรนเข้าร่วมลีก ขณะที่บังคลาเทศตกชั้นไปแข่งขันในเอเอฟซีเพรสซิเดนส์คัพจนกระทั่งการแข่งขันถูกยกเลิกใน ค.ศ. 2014 อัลมุฮาร์รัก ชนะเลิศใน ค.ศ. 2008 ในนัดชิงชนะเลิศนัดสุดท้ายที่แข่งขันแบบสองนัด ก่อนจะใช้แบบนัดเดียวจนถึงปัจจุบัน

เอเอฟซีประกาศเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2022 ว่าจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการแข่งขันจากรูปแบบเดิมในฤดูกาล 2024–25 โดยจะมีการเปิดตัวการแข่งขันระดับรองใหม่ที่เรียกว่า เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู[1] และการแข่งขันระดับสามใหม่ในชื่อ เอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก[2][3][4]

เอเอฟซีประกาศเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 ว่า บันทึกและสถิติของการแข่งขันสโมสรเอเอฟซีก่อนหน้านี้จะได้รับการยอมรับและบูรณาการเข้าในรายการแข่งขันสโมสรที่ปรับปรุงใหม่ โดยข้อมูลจากเอเอฟซีคัพจะถูกโอนไปยังเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู[5]

รูปแบบ

[แก้]
แผนที่สมาชิกเอเอฟซีที่ทีมเข้าถึงรอบแบ่งกลุ่มของเอเอฟซีคัพและเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู
  สมาชิกเอเอฟซีที่เข้าถึงรอบแบ่งกลุ่ม
  สมาชิกเอเอฟซีที่ยังไม่เคยเข้าถึงรอบแบ่งกลุ่ม

มีการเปลี่ยนแปลงบางประการในแง่ของทีมและรูปแบบสำหรับการแข่งขันเอเอฟซีคัพ 2017 โดยมีทีมทั้งหมด 36 ทีมเข้าร่วมในรอบแบ่งกลุ่ม (12 ทีมจากเอเชียตะวันตกและอาเซียน และ 4 ทีมจากเอเชียตะวันออก เอเชียกลาง และเอเชียใต้) โดยนัดชิงชนะเลิศจะแข่งขันแบบนัดเดียว

การจัดสรร

[แก้]

การจัดสรรทีมในรอบแบ่งกลุ่มตามประเทศสมาชิกแสดงไว้ด้านล่าง เครื่องหมายดอกจันหมายถึงโอกาสที่อย่างน้อยหนึ่งทีมจะตกรอบคัดเลือกก่อนเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม ทีมที่ไม่ได้เข้ารอบแบ่งกลุ่มแต่เล่นในรอบคัดเลือกเท่านั้นจะไม่ถูกเน้นตัวหนา

สมาคม ผู้เข้าร่วม
2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023–24 2024–25
อีเอเอฟเอฟ
 จีน 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1
 จีนไทเป 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 1 1 1* 1 1 2* 0
 กวม 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 0 0 0 0 0 0 0
 ฮ่องกง 1 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 0 0 2 1 2 2 0 2
 ญี่ปุ่น 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1
 มาเก๊า 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 0 1 0 1 0 0 1* 0
 มองโกเลีย 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 1 0* 0* 0* 1 0* 1 0
 เกาหลีเหนือ 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 2 2 1* 0 0 0 0 0
 เกาหลีใต้ 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1
รวม 1 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 3 4 4 4 4 3 4 5
เอเอฟเอฟ
 ออสเตรเลีย ส่วนหนึ่งของโอเอฟซี 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 2 1
 บรูไน 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 0* 0 0* 0
 กัมพูชา 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1* 1 1 1 2 2 1* 0
 อินโดนีเซีย 0 0 0 0 0 1 2 2 1 2 2 2 0 0 2 2 2 2 2 2* 1
 ลาว 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1 1 0* 0* 1 1* 0* 1 0* 0
 มาเลเซีย 2 2 2 2 2 2 1 0 2 2 2 2 2 2 1 0 0 2 2 2 1
 พม่า 0 0 0 0 0 0 0 0 2 2 2 2 2 2 2 2 2 0 0 1* 0
 ฟิลิปปินส์ 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1* 2 2 2 2 2 0 1 2 2
 สิงคโปร์ 2 2 2 2 2 1 1 1 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 1* 2
 ไทย 0 0 0 1 0 2 2 2 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 3*
 ติมอร์-เลสเต 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 1 0 0 0
 เวียดนาม 0 0 0 1 0 2 2 2 2 2 2 0 0 2 2 2 2 2 1 1 1
รวม 4 4 4 6 4 8 8 7 10 10 10 10 9 11 12 12 12 11 11 12 11
เอสเอเอฟเอฟ
 บังกลาเทศ 1 2 2 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 1 1* 1* 1 1* 1* 1* 1* 0
 ภูฏาน 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 0* 0* 0* 0* 0* 0* 0* 0
 อินเดีย 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 1* 2 2 2* 1*
 มัลดีฟส์ 2 2 2 2 2 2 2 2 1* 2 2 2 2 1* 1* 0 2 1* 1* 1* 0
 เนปาล 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 0 0* 0 1 0 0* 0* 0* 0
 ปากีสถาน 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 0 0 0 0 0 0 0 0
 ศรีลังกา 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 0 0* 0* 0* 0* 0 0
รวม 5 6 6 4 4 4 4 4 3 4 4 4 5 4 4 4 4 4 4 4 1
ซีเอเอฟเอ
 อัฟกานิสถาน 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 0 0 0 0 0 0 0
 อิหร่าน 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 2*
 คีร์กีซสถาน 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1 0* 0* 2 1* 1* 2 2 2 1* 0
 ทาจิกิสถาน 0 0 0 0 0 0 0 0 0 2 1 1* 1* 1* 1* 2 2 2 2 1* 2
 เติร์กเมนิสถาน 2 2 2 2 0 0 0 0 0 0 0 1* 1* 1* 2 1* 2 2 2 2* 1*
 อุซเบกิสถาน 0 0 0 0 0 1 1 2 1 0 0 0 0 0 0 0 1 1 1 0 1
รวม 2 2 2 2 0 1 1 2 1 2 2 2 2 4 4 4 7 7 7 4 6
ดับเบิลยูเอเอฟเอฟ
 บาห์เรน 0 0 1 1 2 2 1 0 0 1 2 2 2 2 2 2 2 2 2 1* 1*
 อิรัก 0 0 0 0 0 2 0 3 2 2 2 2 2 2 2 0 0 0 0 2 1
 จอร์แดน 0 2 2 3 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 0 1 2
 คูเวต 0 0 0 0 0 2 3 3 3 2 2 2 0 0 0 2 2 1 2 2 1*
 เลบานอน 2 2 2 2 2 3 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 0
 โอมาน 1 0 1 2 2 2 2 2 2 2 2 1* 2 2 2 1* 1* 0 2 1* 0
 ปาเลสไตน์ 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0* 1* 2 0* 0* 1 1 2 2 1* 0
 กาตาร์ 0 0 0 0 0 0 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1
 ซาอุดีอาระเบีย 0 0 0 0 0 0 0 0 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1
 ซีเรีย 2 0 0 0 0 2 3 3 2 1* 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2* 0
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 2*
 เยเมน 1 0 0 2 2 2 2 2 2 2 0* 0* 0 0 0 0 0 0 0 0 0
รวม 6 4 6 10 10 17 16 17 16 14 14 14 14 12 12 12 12 11 12 12 9
รวม
รอบสุดท้าย 18 18 20 24 20 32 31 32 32 32 32 32 32 34 36 36 39 37 37 36 32
รอบคัดเลือก 18 18 20 24 20 32 31 32 33 33 34 41 40 50 44 43 48 43 43 49 36

เงินรางวัล

[แก้]

เริ่มตั้งแต่ฤดูกาล 2024–25 การแจกจ่ายเงินรางวัลจะเป็นดังต่อไปนี้:[6]

รอบ ทีม จำนวน
ต่อทีม รวม
ชิงชนะเลิศ (ชนะเลิศ) 1 $2.5 ล้าน
ชิงชนะเลิศ (รองชนะเลิศ) 1 $1 ล้าน
รองชนะเลิศ 4 $240,000 $960,000
ก่อนรองชนะเลิศ 8 $160,000 $1,280,000
16 ทีมสุดท้าย 16 $80,000 $1,280,000
แบ่งกลุ่ม 32 $300,000 $9,600,000
รวม 32 $16,620,000

การตลาด

[แก้]

ผู้สนับสนุน

[แก้]

เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิทได้รับการสนับสนุนโดยกลุ่มบริษัทข้ามชาติ ซึ่งแตกต่างจากลีกสูงสุดในแต่ละประเทศที่มีผู้สนับสนุนหลักรายเดียว

หุ้นส่วนระดับโลกอย่างเป็นทางการ

ผู้สนับสนุนระดับโลกอย่างเป็นทางการ

บันทึกและสถิติ

[แก้]

ผลงานแบ่งตามสโมสร

[แก้]
ผลงานในเอเอฟซีคัพและเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทูแบ่งตามสโมสร
สโมสร
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ ปีที่ได้รองชนะเลิศ
ประเทศคูเวต อัลคูเวต 3 1 2009, 2012, 2013 2011
ประเทศอิรัก อัลกุวาอัลญาวียะห์ 3 0 2016, 2017, 2018
ประเทศจอร์แดน อัลฟัยเศาะลี 2 1 2005, 2006 2007
ประเทศบาห์เรน อัลมูฮาร์รัก 2 1 2008, 2021 2006
ประเทศคูเวต อัลกาดเซีย 1 2 2014 2010, 2013
ประเทศอุซเบกิสถาน นาซาฟการ์ชี 1 1 2011 2021
ประเทศเลบานอน อัลอาเฮด 1 1 2019 2023–24
ประเทศซีเรีย อัลจาอิช 1 0 2004
ประเทศจอร์แดน ชาบับอัลออร์ดอน 1 0 2007
ประเทศซีเรีย อัลอิตติฮัด 1 0 2010
ประเทศมาเลเซีย โจโฮร์ดารุลตักซิม 1 0 2015
ประเทศโอมาน อัลซีบ 1 0 2022
ประเทศออสเตรเลีย เซ็นทรัลโคสต์มารีเนอส์ 1 0 2023–24
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ชัรญะฮ์ 1 0 2024–25
ประเทศอิรัก อัรบีล 0 2 2012, 2014
ประเทศทาจิกิสถาน อิสติกลอล 0 2 2015, 2017
ประเทศซีเรีย อัลวาห์ดา 0 1 2004
ประเทศเลบานอน เนจเมห์ 0 1 2005
ประเทศเลบานอน ซาฟา 0 1 2008
ประเทศซีเรีย อัลการามะห์ 0 1 2009
ประเทศอินเดีย เบงกาลูรู 0 1 2016
ประเทศเติร์กเมนิสถาน อัลตินอัสซีร์ 0 1 2018
ประเทศเกาหลีเหนือ เอพริล 25 0 1 2019
ประเทศมาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ซิตี 0 1 2022
ประเทศสิงคโปร์ ไลออนซิตีเซเลอส์ 0 1 2024–25

ผลงานแบ่งตามชาติ

[แก้]
ชาติ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ รวม
 คูเวต 4 3 7
 อิรัก 3 2 5
 จอร์แดน 3 1 4
 ซีเรีย 2 2 4
 บาห์เรน 2 1 3
 เลบานอน 1 2 3
 อุซเบกิสถาน 1 1 2
 มาเลเซีย 1 1 2
 โอมาน 1 0 1
 ออสเตรเลีย 1 0 1
 ทาจิกิสถาน 0 2 2
 อินเดีย 0 1 1
 เติร์กเมนิสถาน 0 1 1
 เกาหลีเหนือ 0 1 1

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "History beckons for AFC Cup 2023/24 contenders as final edition of popular competition kicks off". the-AFC.com (ภาษาอังกฤษ). Asian Football Confederation. 15 September 2023. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
  2. "AFC Competitions Committee recommends strategic reforms to elevate Asian club football". theAFC.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2022. สืบค้นเมื่อ 24 December 2022.
  3. "AFC Executive Committee approves biggest prize purse in Asian club football history from 2024/25; announces AFC Women's Champions League". AFC. 14 August 2023. สืบค้นเมื่อ 14 August 2023.
  4. "AFC Club Competitions 2024/25 Slot Allocation" (PDF). Football Association of Singapore. สืบค้นเมื่อ 11 October 2023.
  5. "Pivotal reforms approved by AFC Competitions Committee". the-AFC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  6. The AFC Hub (2024-06-19). AFC Champions League Two™ 2024/25. สืบค้นเมื่อ 2024-06-20 – โดยทาง YouTube.
  7. "AFC and NEOM announce global multi-year partnership extension". the-afc.com. Asian Football Confederation. 10 July 2024. สืบค้นเมื่อ 12 July 2024.
  8. Long, Michael (18 December 2023). "AFC lands six-year Qatar Airways sponsorship deal". SportsPro. สืบค้นเมื่อ 19 December 2023.
  9. "AFC and Qatar Airways announce global partnership". the-afc.com (ภาษาอังกฤษ). Asian Football Confederation. 16 December 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2024. สืบค้นเมื่อ 20 December 2023.
  10. "AFC and KONAMI sign new sponsorship and licensing deal". the-afc.com (ภาษาอังกฤษ). Asian Football Confederation. 25 January 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2021. สืบค้นเมื่อ 23 November 2023.
  11. "AFC appoints world-leading ball manufacturer Molten as official match ball supplier". the-afc.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Asian Football Confederation. 5 May 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2018. สืบค้นเมื่อ 23 November 2023.
  12. "TECNO becomes Official Global Supporter of AFC Club Competitions". the-AFC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-08-14.
  13. "AFC and Visa expand partnership". the-afc.com. Asian Football Confederation. 3 February 2025. สืบค้นเมื่อ 4 February 2025.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]