งานโย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มังแรนร่า)
งานโย
เมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2261/2262 ไทยสากล - พ.ศ. 2270 ไทยสากล
ก่อนหน้ามีนเยนอระทา
ถัดไปเทพสิงห์
พิราลัยพ.ศ. 2270 ไทยสากล

งานโย[1] (อังกฤษ: Nga Ngo) เป็นเมียวหวุ่น[2]แห่งเชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่า ระหว่างปี พ.ศ. 2261/2262 ไทยสากล[note 1] (จ.ศ. 1080) - พ.ศ. 2270 ไทยสากล โดยงานโยเป็นเมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่ท่านแรกที่เป็นสามัญชน[3]

ประวัติ[แก้]

การกล่าวถึงโดยตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่[แก้]

งานโยถูกกล่าวถึงในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่[4][5]ในนาม มังแรนร่า โดยระบุว่าแต่เดิมมังแรนร่าเป็นผู้ครองเมืองเลงหรือเมืองแลง และขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2250/2251 ไทยสากล (จ.ศ. 1069)

ในปี พ.ศ. 2269/2270 ไทยสากล (จ.ศ. 1088) เมืองน่านขาดเจ้าผู้ครองเมือง พระนาขวาและเหล่าขุนนางจึงร้องขอเจ้าเมืองพระองค์ใหม่จากเมืองเชียงใหม่ ผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่และผู้ปกครองเมืองเชียงแสนกราบทูลต่อพระเจ้าตะนินกันเหว่ พระองค์จึงทรงแต่งตั้งให้พญาหลวงตื๋นจากเมืองเชียงใหม่ไปเป็นเจ้าเมืองน่านในเดือนมีนาคม

การกล่าวถึงโดยหลักฐานอื่น[แก้]

งานโยอาจเป็นบุคคลเดียวกับมังแรหน่อรถาที่ถูกกล่าวถึงโดยราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดเชียงมั่น[6]ว่า เป็นผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ระหว่างปี พ.ศ. 2263/2264 ไทยสากล (จ.ศ. 1082) - พ.ศ. 2270/2271 ไทยสากล (จ.ศ. 1089) อย่างไรก็ตาม พงศาวดารเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดพระสิงห์เมืองเชียงราย[7]ระบุว่า มังแรหน่อรถาตายในปีเดียวกันกับเมียวหวุ่นพระองค์ก่อนหน้า ซึ่งหมายถึง มีนเยนอระทา

การก่อกบฏของชาวเชียงใหม่[แก้]

ในสมัยของงานโย ขุนนางพม่าได้เรียกเก็บภาษีอย่างหนักและกดขี่ราษฎร[3][8] ปี พ.ศ. 2270 ไทยสากล เทพสิงห์ร่วมกับชาวบ้านชาวเมือง ประหารงานโยแล้วขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ชาวพม่าบางส่วนหลบหนีไปยังเมืองเชียงแสน และบางส่วนเข้าสวามิภักดิ์กับเจ้าองค์นก

หมายเหตุ[แก้]

  1. เทียบตามปฏิทินสุริยคติไทย โดยยึดวันปีใหม่คือ 1 มกราคม

อ้างอิง[แก้]

  1. ชิวารักษ์, พริษฐ์ (17 July 2023). "ล้านนาปฏิวัติ: การต่อสู้ของ 'ตนบุญ' ในประวัติศาสตร์ล้านนา (ตอนแรก)". The101.world. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-16. สืบค้นเมื่อ 2023-12-15.
  2. แซ่เซียว, ลัดดาวัลย์ (2002). 200 ปี พม่าในล้านนา. กรุงเทพฯ: โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค. pp. 87–92. ISBN 9747206099. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
  3. 3.0 3.1 Kirigaya, Ken (2015). "Lan Na under Burma: A "Dark Age" in Northern Thailand?" (PDF). The Journal of the Siam Society. 103: 283–284. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-02-10. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
  4. สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, บ.ก. (1971), ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ [Tamnan Phuen Mueang Chiang Mai] (PDF), แปลโดย โชติสุขรัตน์, สงวน, พระนคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, pp. 82–83, สืบค้นเมื่อ 2024-05-01
  5. ประชากิจกรจักร, พระยา (1973). พงศาวดารโยนก (7th ed.). กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์. pp. 416–418. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
  6. Premchit, Sommai; Tuikheo, Puangkam (1975). ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ภาคปริวรรต ลำดับที่ ๔. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. p. 38.
  7. อ๋องสกุล, สรัสวดี (2022). งานวงศ์พาณิชย์, กรกฎ (บ.ก.). พิเคราะห์หลักฐาน ประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. p. 20. ISBN 9786163986634.
  8. THIEN, NAI (29 February 1912). "INTERCOURSE BETWEEN BURMA AND SIAM AS RECORDED IN HMANNAN YAZAWINDAWGYI" (PDF). สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 96. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08.
ก่อนหน้า งานโย ถัดไป
มีนเยนอระทา เมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่
(พ.ศ. 2261/2262 ไทยสากล - พ.ศ. 2270 ไทยสากล)
เทพสิงห์