ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
|successor5 = เลโอ ฟอน คาพรีวี
|successor5 = เลโอ ฟอน คาพรีวี
|birth_date = 1 เมษายน ค.ศ. 1815
|birth_date = 1 เมษายน ค.ศ. 1815
|birth_place = เชินเฮาเซิน จังหวัดซัคเซิน </br>{{flagicon|Prussia}} [[ราชอาณาจักรปรัสเซีย]]<br><small>(ซัคเซิน-อันฮัลท์ใน[[ประเทศเยอรมนี|เยอรมนี]]ปัจจุบัน)</small>
|birth_place = เชินเฮาเซิน, มณฑลซัคเซิน </br>{{flagicon|Prussia}} [[ราชอาณาจักรปรัสเซีย]]<br><small>([[รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์]]ในปัจจุบัน)</small>
|death_date = 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1898</br>(อายุ 83 ปี)
|death_date = 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1898</br>(อายุ 83 ปี)
|death_place = ณ ฟรีดริชซรู [[รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์]]</br>{{flagcountry|German Empire}}
|death_place = ณ ฟรีดริชซรู [[รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์]]</br>{{flagcountry|German Empire}}
|party = ไม่สังกัดพรรคการเมือง
|party = ไม่สังกัดพรรคการเมือง
|spouse = โยฮันนา ฟอน พุทท์คาเมอร์<br><small>(ค.ศ. 1847–94; เสียชีวิต)</small>
|spouse = โยฮันนา ฟอน พุทท์คาเมอร์<br><small>(ค.ศ. 1847–94; เสียชีวิต)</small>
|children = มารี <br> [[แฮร์แบร์ท ฟอน บิสมาร์ค|แฮร์แบร์ท]] <br> [[วิลเฮล์ม ฟอน บิสมาร์ค|วิลเฮล์ม]]
|children = มารี <br> [[แฮร์แบร์ท ฟอน บิสมาร์ค]] <br> [[วิลเฮล์ม ฟอน บิสมาร์ค]]
|religion = [[ศาสนาคริสต์]][[ลูเทอแรน|นิกายลูเทอแรน]]
|religion = [[ศาสนาคริสต์]][[ลูเทอแรน|นิกายลูเทอแรน]]
|alma_mater = [[มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน]] <br> [[มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน]] <br> มหาวิทยาลัยไกร์ฟซวัลด์<ref name=Steinberg>{{cite book| authorlink=Jonathan Steinberg| last=Steinberg| first=Jonathan| title=Bismarck: A Life| url=https://books.google.de/books?id=HAppAgAAQBAJ&pg=PA51&lpg=PA51&dq=Bismarck+studied+Agriculture+in+Greifswald+in+1838.&source=bl&ots=LZikJxculW&sig=btfxmgs1TRrm3bUCMEeXS5sJAsc&hl=en&sa=X&ei=DaeiVNSeMseBU5WSgKAD&redir_esc=y#v=onepage&q=Bismarck%20studied%20Agriculture%20in%20Greifswald%20in%201838.&f=false| page=51| isbn=9780199782529}}</ref>
|alma_mater = [[มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน]] <br> [[มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน]] <br> มหาวิทยาลัยไกร์ฟซวัลด์<ref name=Steinberg>{{cite book| authorlink=Jonathan Steinberg| last=Steinberg| first=Jonathan| title=Bismarck: A Life| url=https://books.google.de/books?id=HAppAgAAQBAJ&pg=PA51&lpg=PA51&dq=Bismarck+studied+Agriculture+in+Greifswald+in+1838.&source=bl&ots=LZikJxculW&sig=btfxmgs1TRrm3bUCMEeXS5sJAsc&hl=en&sa=X&ei=DaeiVNSeMseBU5WSgKAD&redir_esc=y#v=onepage&q=Bismarck%20studied%20Agriculture%20in%20Greifswald%20in%201838.&f=false| page=51| isbn=9780199782529}}</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:42, 3 ธันวาคม 2560

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค
บิสมาร์คในปี ค.ศ. 1881
นายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิเยอรมัน
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม ค.ศ. 1871 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1890
กษัตริย์วิลเฮล์มที่ 1
ฟรีดริชที่ 3
วิลเฮล์มที่ 2
รองออทโท ฟอน ชโตลแบร์ก-เวอร์นีเกอร์รอเดอ
คาร์ล ไฮน์ริช ฟอน เบิร์ททีเคอร์
ก่อนหน้าตำแหน่งใหม่
ถัดไปเลโอ ฟอน คาพรีวี
นายกรัฐมนตรีปรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1873 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1890
กษัตริย์วิลเฮล์มที่ 1
ฟรีดริชที่ 3
วิลเฮล์มที่ 2
ก่อนหน้าอัลเบรกท์ ฟอน รูน
ถัดไปเลโอ ฟอน คาพรีวี
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน ค.ศ. 1862 – 1 มกราคม ค.ศ. 1873
กษัตริย์วิลเฮล์มที่ 1
ก่อนหน้าเจ้าชายอดอล์ฟแห่งโฮเฮนโลเฮอ-อินเกิลฟินเกิน
ถัดไปอัลเบรชท์ ฟอน รูน
นายกรัฐมนตรีสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1867 – 21 มีนาคม ค.ศ. 1871
ประธานาธิบดีวิลเฮล์มที่ 1
ก่อนหน้าตำแหน่งใหม่
ถัดไปล้มเลิกตำแหน่ง
รัฐมนตรีการต่างประเทศปรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1862 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1890
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
อัลเบรชท์ ฟอน รูน
ก่อนหน้าอัลเบรชท์ ฟอน แบร์นชตอฟฟ
ถัดไปเลโอ ฟอน คาพรีวี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน ค.ศ. 1815
เชินเฮาเซิน, มณฑลซัคเซิน
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ราชอาณาจักรปรัสเซีย
(รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์ในปัจจุบัน)
เสียชีวิต30 กรกฎาคม ค.ศ. 1898
(อายุ 83 ปี)
ณ ฟรีดริชซรู รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์
 เยอรมนี
ศาสนาศาสนาคริสต์นิกายลูเทอแรน
พรรคการเมืองไม่สังกัดพรรคการเมือง
คู่สมรสโยฮันนา ฟอน พุทท์คาเมอร์
(ค.ศ. 1847–94; เสียชีวิต)
บุตรมารี
แฮร์แบร์ท ฟอน บิสมาร์ค
วิลเฮล์ม ฟอน บิสมาร์ค
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน
มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน
มหาวิทยาลัยไกร์ฟซวัลด์[1]
วิชาชีพนักกฎหมาย
ลายมือชื่อ

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (เยอรมัน: Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) คือรัฐบุรุษฝ่ายอนุรักษนิยมชาวปรัสเซียผู้มีบทบาทสำคัญในแวดวงการเมืองเยอรมันและยุโรปช่วงคริสต์ทศวรรษ 1860 จนกระทั่ง 1890 ซึ่งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1860 บิสมาร์คดำเนินยุทธวิธีสงครามหลายระลอกเพื่อรวมรัฐเยอรมันเข้าด้วยกันและสถาปนาจักรวรรดิเยอรมันอันทรงอำนาจภายใต้การนำของปรัสเซียขึ้นมาในปี ค.ศ. 1871 โดยจงใจกีดกันออสเตรียออกจากการรวมกลุ่มในครั้งนี้อย่างมาก เขายังได้ดำเนินนโยบายทางการทูตเพื่อถ่วงดุลอำนาจและรักษาสถานะของเยอรมนีในทวีปยุโรป ทำให้เยอรมนียังคงความสงบสุขของบ้านเมืองไว้ได้แม้จะเกิดข้อขัดแย้งและสงครามรายล้อมประเทศ สำหรับนักประวัติศาสตร์ชาวบริติชอย่าง เอริก ฮ็อบส์บาว์ม เขาถือว่าบิสมาร์คคือ "ผู้ที่ยังคงไม่ขัดแย้งและได้รับชัยชนะบนเวทีเกมการทูตระดับพหุภาคีของโลกเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีนับแต่ ค.ศ. 1871 [และ] อุทิศตนอย่างมากจนประสบความสำเร็จในการรักษาสันติภาพระหว่างชาติมหาอำนาจ"[2]

ในปี ค.ศ. 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขาดำรงอยู่จนกระทั่งปี ค.ศ. 1890 (มีช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 1873) บิสมาร์คเป็นผู้ริเริ่มสงครามขั้นแตกหักแต่กินระยะเวลาสั้น ๆ สามครั้งกับเดนมาร์ก ออสเตรีย และฝรั่งเศส ที่ช่วยให้บรรดารัฐเยอรมันขนาดเล็กกว่ามาเข้าร่วมกับปรัสเซียเมื่อครั้งฝรั่งเศสแพ้สงคราม ต่อมาในปี ค.ศ. 1871 บิสมาร์คได้สถาปนาจักรวรรดิเยอรมันขึ้นและแต่งตั้งตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนี ในขณะเดียวกันก็ยังคงอำนาจควบคุมในปรัสเซียไว้ด้วยเช่นเดิม ทั้งนี้นโยบายการเมืองแบบ เรอัลโพลีทิค (เยอรมัน: realpolitik; การเมืองเชิงปฏิบัติ) ของเขาประกอบกับอำนาจอันมากมายในปรัสเซีย ส่งผลให้บิสมาร์คได้รับสมญานามว่า "นายกรัฐมนตรีเหล็ก" ส่วนภารกิจด้านการต่างประเทศ การรวมชาติเยอรมันและการเติบโตทางเศรษฐกิจอันรวดเร็วคือพื้นฐานที่ใช้เป็นนโยบายด้านการต่างประเทศของเขา บิสมาร์คไม่นิยมชมชอบลัทธิจักรวรรดินิยม แต่ก็ยังจัดตั้งจักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเลโดยไม่เต็มใจเนื่องจากถูกเรียกร้องจากทั้งฝ่ายชนชั้นสูงและสาธารณชนทั่วไป นอกจากนี้บิสมาร์คยังเล่นกลด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้ง ทั้งยังใช้ทักษะด้านการทูตในการดำรงสถานะของเยอรมนีและเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ

ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศบ้านเกิด เขาคือบุคคลที่ริเริ่มรัฐสวัสดิการขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงมวลชนจากชนชั้นแรงงานให้มาเข้าร่วมกับฝ่ายของเขา มิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับฝ่ายสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้[3] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับฝ่ายเสรีนิยม (ผู้ชื่นชอบอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านศาสนจักรคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (เยอรมัน: Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party; Zentrum) อันทรงพลังและใช้สิทธิในการออกเสียงทั่วไปของเพศชายมาจัดตั้งเป็นฐานคะแนนเสียงสำหรับที่นั่งในสภา ฯ ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำท่าทีของตนเอง, ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์, ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม, ประกาศขึ้นอัตราภาษีศุลกากรเพื่อปกป้องธุรกิจในประเทศ และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม นอกจากนี้บิสมาร์คยังเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก ทั้งยังจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ในท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภา ไรชส์ทาค มีฐานะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติเยอรมันและมีสมาชิกไรชส์ทาคได้รับเลือกจากสาธารณชนเพศชายผู้มีสิทธิ์ออกเสียง ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจในการควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก ดังนั้นบิสมาร์คผู้ไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบเจ้าขุนมูลนายที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี อันประกอบไปด้วยขุนนางศักดินา ยุนเคอร์ ที่สืบทอดกันมาแต่สมัยก่อนผู้เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมาก ในรัชกาลของพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการภายในและกิจการการต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งเมื่ออายุ 75 ปี โดยจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ในปี ค.ศ. 1890

บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุนเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงขลาดกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism)[4] สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของเขา

บรรดาศักดิ์

  • ค.ศ. 1865 – 1871 : กราฟ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Graf von Bismarck-Schönhausen) เทียบเท่าเคานต์
  • ค.ศ. 1871 – 1898 : เฟือสท์ ฟอน บิสมาร์ค (Fürst von Bismarck) เทียบเท่าเจ้าชาย
  • ค.ศ. 1890 – 1898 : แฮร์ซอก ซู เลาเอินบวร์ค (Herzog zu Lauenburg) เทียบเท่าดยุก

อ้างอิง

  1. Steinberg, Jonathan. Bismarck: A Life. p. 51. ISBN 9780199782529.
  2. Eric Hobsbawm, The Age of Empire: 1875–1914 (1987), p. 312.
  3. Steinberg, 2011, pp.8, 424, 444; Bismarck specifically referred to Socialists, among others, as "Enemies of the Reich".
  4. Hull, Isabel V. (2004). The Entourage of Kaiser Wilhelm II, 1888–1918. p. 85. ISBN 9780521533218.