ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กีฬาเยาวชนแห่งชาติ (ประเทศไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matoom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
| ก่อตั้ง = กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1<br/>[[พ.ศ. 2528]] {{flagSAT|นม|เยาวชนแห่งชาติ}}
| ก่อตั้ง = กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1<br/>[[พ.ศ. 2528]] {{flagSAT|นม|เยาวชนแห่งชาติ}}
| จัดขึ้นทุก = 1 ปี
| จัดขึ้นทุก = 1 ปี
| ครั้งล่าสุด = [[กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 31|ครั้งที่ 31]] ''จันทบูรเกมส์'' {{flagSAT|จบ|เยาวชนแห่งชาติ}}
| ครั้งล่าสุด = [[กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 32|ครั้งที่ 32]] ''สุพรรณบุรีเกมส์'' {{flagSAT|สพ|เยาวชนแห่งชาติ}}
| วัตถุประสงค์ = สร้างความแข็งแกร่งให้แก่วงการกีฬาของชาติ
| วัตถุประสงค์ = สร้างความแข็งแกร่งให้แก่วงการกีฬาของชาติ
| สำนักงานใหญ่ = [[การกีฬาแห่งประเทศไทย]]
| สำนักงานใหญ่ = [[การกีฬาแห่งประเทศไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:50, 20 มีนาคม 2559

การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ (ประเทศไทย)
Thailand National Youth Games
ไฟล์:Logo THAGames.png
ก่อตั้งกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1
พ.ศ. 2528 นครราชสีมา
จัดขึ้นทุก1 ปี
ครั้งล่าสุดครั้งที่ 32 สุพรรณบุรีเกมส์ สุพรรณบุรี
วัตถุประสงค์สร้างความแข็งแกร่งให้แก่วงการกีฬาของชาติ
สำนักงานใหญ่การกีฬาแห่งประเทศไทย
ผู้ว่าการสกล วรรณพงษ์
หมายเหตุแบ่งเป็นกีฬาแห่งชาติ, กีฬาเยาวชนแห่งชาติ, กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย, กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และ กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย

กีฬาเยาวชนแห่งชาติ (อังกฤษ: Thailand National Youth Games) เป็นการแข่งขันกีฬาในประเทศไทยที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีและมีการกำหนดอายุผู้เข้าแข่งขันให้มีอายุระหว่าง 14-18 ปี

ประวัติ

รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของเยาวชน ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ เยาวชนจึงควรได้รับการศึกษา อบรม และฝึกฝนให้เจริญงอกงามทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และจิตใจ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับเยาวชนไว้อย่างชัดเจนในแผนพัฒนาเยาวชนแห่งชาติ อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) ซึ่งจะเป็นหนทางในการพัฒนาคุณภาพของเยาวชนไทยให้มีความเพียบพร้อมทุกด้าน

จากการที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายในเรื่องนี้อย่างแน่ชัด คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2527 เห็นชอบและอนุมัติให้มีการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกีฬาของชาติให้ขยายไปทั่วประเทศ และเน้นถึงสุขภาพพลานามัย ปลูกฝังให้เยาวชนมีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีระเบียบวินัย และที่สำคัญยิ่งเพื่อเป็นแผนรองรับการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ทำให้เกิดนักกีฬาทีมชาติต่อไป

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) ในขณะนั้น หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ปัจจุบันได้นำนโยบายและวัตถุประสงค์ดังกล่าวไปสู่การดำเนินงาน จึงได้มีการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติขึ้นครั้งแรก ที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2528 ถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2528 และได้จัดการแข่งขันติดต่อเรื่อยมาตามจังหวัดต่างๆ เป็นประจำทุกปี

การจัดการแข่งขัน

ครั้งที่ จังหวัดเจ้าภาพ ประธานจังหวัดการแข่งขัน ระหว่างวันที่ จำนวนประเภทกีฬา
1 นครราชสีมา นายสมบูรณ์ ไทยวัชรามาศ 26 เม.ย.-2 พ.ค. 28 7
2 นครศรีธรรมราช นายเอนก สิทธิประศาสตร์ 18-24 มิ.ย. 29 10
3 สุรินทร์ นายเสนอ มูลศาสตร์ 19-25 มี.ค. 30 10
4 เชียงราย นายอร่าม เอี่ยมอรุณ 6-12 พ.ค. 31 10
5 ราชบุรี นายพีระ บุญจริง 4-10 พ.ค. 32 10
6 ภูเก็ต นายเฉลิม พรหมเลิศ 25-31 มี.ค. 33 13
7 ตรัง นายภิญโญ เฉลิมนนท์ 18-24 ม.ค. 34 13
8 ศรีสะเกษ ร.ต.สมจิตต์ จุลพงษ์ 26 มี.ค.-1 เม.ย. 35 13
9 จันทบุรี นายวิมล พวงทอง 22-29 มี.ค. 36 13
10 พิษณุโลก นายสวัสดิ์ ส่งสัมพันธ์ 21-28 มี.ค. 37 13
11 สงขลา นายยุวัฒน์ วุฒิเมธี 21-28 มี.ค. 38 14
12 กำแพงเพชร นายศิวะ แสงมณี 19-26 พ.ค. 39 14
13 สุราษฎร์ธานี นายนิเวศน์ สมสกุล 8-15 มิ.ย. 40 15
14 อุดรธานี นายวิชัย ทัศนเศรษฐ 19-26 มี.ค. 41 17
15 ยะลา นายสวัสดิ์ แกล้วทนงค์ 19 – 25 มิ.ย.42 17
16 สุรินทร์ นายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ 19-29 มีนาคม พ.ศ. 2543 18
17 แพร่ นายอนุกูล คุณาวงศ์ 24-31 มีนาคม พ.ศ. 2544 21
18 พังงา นายวรสิทธิ์ โรจนพานิช 24-31 มีนาคม พ.ศ. 2545 22
19 เพชรบุรี นายนิรันดร์ชัย เพชรสิงห์ 19-29 มีนาคม พ.ศ. 2546 24
20 สุโขทัย นายสุกิจ เจริญรัตนกุล 20-31 มีนาคม พ.ศ. 2547 24
21 ชัยภูมิ นายประภากร สมิติ 20-31 มีนาคม พ.ศ. 2548 27
22 ลำปาง นายอมรทัต นิรัติศยกุล 18-31 มีนาคม พ.ศ. 2549 27
23 สุราษฎร์ธานี ดร.นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว 20-30 มกราคม พ.ศ. 2550 28
24 อุบลราชธานี นายชวน ศิรินันท์พร 19-29 มีนาคม พ.ศ. 2551 28
25 กาญจนบุรี นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี 15-26 มีนาคม พ.ศ. 2552 31
26 เพชรบูรณ์ นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย 19-30 มีนาคม พ.ศ. 2553 32
27 อุตรดิตถ์ นายโยธิน สมุทรคีรี 20-31 มีนาคม พ.ศ. 2554 35
28 ภูเก็ต นายตรี อัครเดชา 26 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน 2555 40
29 มหาสารคาม นายนพวัชร สิงห์ศักดา 18-29 มีนาคม พ.ศ. 2556 36
30 ศรีสะเกษ นายประทีป กีรติเรขา 13-23 มีนาคม พ.ศ. 2557 38
31 จันทบุรี นายสามารถ ลอยฟ้า 16-27 มีนาคม พ.ศ. 2558 43
32 สุพรรณบุรี ว่าที่ ร.ต. สุพีร์พัฒน์ จองพานิช 9-19 มีนาคม พ.ศ. 2559 41
33 ชุมพร และ ระนอง พ.ศ. 2560
34 น่าน พ.ศ. 2561

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง