ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมส่งเสริมสหกรณ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 50: บรรทัด 50:
| รัฐมนตรี10_ชื่อ =
| รัฐมนตรี10_ชื่อ =
| รัฐมนตรี10_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี10_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า1_ชื่อ = วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข
| หัวหน้า1_ชื่อ = [[ดร.]]วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = อธิบดี
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = อธิบดี
| หัวหน้า2_ชื่อ = ปริญญา เพ็งสมบัติ
| หัวหน้า2_ชื่อ = ปริญญา เพ็งสมบัติ
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
| หัวหน้า3_ชื่อ = เสนอ ชูจันทร์
| หัวหน้า3_ชื่อ = เสนอ ชูจันทร์
| หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองอธิบดี
| หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองอธิบดี
| หัวหน้า4_ชื่อ = พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ (ผู้อำนวยการสำนักนายทะเบียนและกฎหมาย)
| หัวหน้า4_ชื่อ = พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ
| หัวหน้า4_ตำแหน่ง = รองอธิบดี (รักษาการ)
| หัวหน้า4_ตำแหน่ง = รองอธิบดี
| หัวหน้า5_ชื่อ = กิตติพงษ์ โตโพธิ์ไทย
| หัวหน้า5_ชื่อ = ว่าง
| หัวหน้า5_ตำแหน่ง = หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม
| หัวหน้า5_ตำแหน่ง = หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม
| หัวหน้า6_ชื่อ =
| หัวหน้า6_ชื่อ =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:22, 29 มกราคม 2559

กรมส่งเสริมสหกรณ์
Cooperative Promotion Department
ไฟล์:สัญลักษณ์กรมส่งเสริมสหกรณ์.gif
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2463
สำนักงานใหญ่12 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
งบประมาณประจำปี3,237.9986 ล้านบาท (พ.ศ. 2558)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข, อธิบดี
  • ปริญญา เพ็งสมบัติ, รองอธิบดี
  • เสนอ ชูจันทร์, รองอธิบดี
  • พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ, รองอธิบดี
  • ว่าง, หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม
เว็บไซต์http://www.cpd.go.th

กรมส่งเสริมสหกรณ์ (อังกฤษ: Cooperative Promotion Department) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาการสหกรณ์ภายในประเทศ

ประวัติ

แรกเริ่มหน่วยราชการที่รับผิดชอบด้านสหกรณ์เริ่มจากเป็นแผนกหนึ่งในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2458 ต่อมากรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2463 แผนกสหกรณ์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น กรมสหกรณ์

พ.ศ. 2495 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ยกฐานะกรมสหกรณ์เป็นกระทรวงสหกรณ์ จนถึงปี พ.ศ. 2506 จึงได้ถูกยุบกระทรวงสหกรณ์ลง และโอนงานทั้งหมดไปเป็นของกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติที่ตั้งขึ้นใหม่ โดยให้แยกส่วนราชการสหกรณ์ออกมาโดยจัดให้มีกรมสหกรณ์ที่ดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2515 ได้มีการยกเลิกกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติลง และได้ตั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นจึงได้โอนอำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการสหกรณ์ กรมสหกรณ์ที่ดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ เป็นกรมส่งเสริมสหกรณ์ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี พันเอกสุรินทร์ ชลประเสริฐ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และนายทะเบียนสหกรณ์เป็นคนแรก[2]

หน่วยงานในภูมิภาค

กรมส่งเสริมสหกรณ์ มีหน่วยงานส่วนภูมิภาคตั้งอยู่ในทุกจังหวัด คือ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด มีหน้าที่เป็นผู้แทนของกรมส่งเสริมสหกรณ์

ประเภทของสหกรณ์

ในประเทศไทย มีสหกรณ์ 7 ประเภท ได้แก่[3]

  1. สหกรณ์การเกษตร
  2. สหกรณ์ประมง
  3. สหกรณ์นิคม
  4. สหกรณ์ร้านค้า
  5. สหกรณ์บริการ
  6. สหกรณ์ออมทรัพย์
  7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น