ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปราสาทพระเทพบิดร"

พิกัด: 13°45′06″N 100°29′34″E / 13.751646°N 100.492791°E / 13.751646; 100.492791
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Waragone (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
M-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำอัตโนมัติ (-[[ภาพ: +[[ไฟล์:) ด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพ:Prasat Phra Thep Bidorn.jpg|thumb|200px|ปราสาทพระเทพบิดร]]
[[ไฟล์:Prasat Phra Thep Bidorn.jpg|thumb|200px|ปราสาทพระเทพบิดร]]


'''ปราสาทพระเทพบิดร''' เป็นปราสาทเพียงองค์เดียวใน[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] เป็นปราสาทจตุรมุข ยอดปรางค์มี[[นภศูล]] และ[[มงกุฎ]]อยู่บนยอด ประดับ[[กระเบื้องเคลือบ]] องค์เดียวใน[[ประเทศไทย]]
'''ปราสาทพระเทพบิดร''' เป็นปราสาทเพียงองค์เดียวใน[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] เป็นปราสาทจตุรมุข ยอดปรางค์มี[[นภศูล]] และ[[มงกุฎ]]อยู่บนยอด ประดับ[[กระเบื้องเคลือบ]] องค์เดียวใน[[ประเทศไทย]]
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
ปราสาทพระเทพบิดร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2398|พ.ศ. ๒๓๙๘]] เดิมชื่อว่า '''พุทธปรางค์ปราสาท''' เมื่อแรกนั้นมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญ[[พระแก้วมรกต]]มาไว้ แต่เมื่อสร้างเสร็จเห็นว่าคับแคบไม่เหมาะแก่การพระราชพิธี จึงมิได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานดังพระราชดำริ
ปราสาทพระเทพบิดร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2398|พ.ศ. ๒๓๙๘]] เดิมชื่อว่า '''พุทธปรางค์ปราสาท''' เมื่อแรกนั้นมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญ[[พระแก้วมรกต]]มาไว้ แต่เมื่อสร้างเสร็จเห็นว่าคับแคบไม่เหมาะแก่การพระราชพิธี จึงมิได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานดังพระราชดำริ


[[ภาพ:บูรพ.jpg|150px|left|thumb|พระบรมรูปพระบูรพกษัตริยาธิราชภายในองค์ปราสาทพระเทพบิดร]]
[[ไฟล์:บูรพ.jpg|150px|left|thumb|พระบรมรูปพระบูรพกษัตริยาธิราชภายในองค์ปราสาทพระเทพบิดร]]


ในปี [[พ.ศ. 2446|พ.ศ. ๒๔๔๖]]ได้มีการซ่อมแซมแล้วให้เปลี่ยนนามเป็น '''ปราสาทพระเทพบิดร''' [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมรูป[[ราชวงศ์จักรี|พระบูรพกษัตริย์]] แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ทั้ง ๕ องค์มาไว้<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/116.PDF พระราชพิธี เชิญพระบรมรูปจากพระที่นั่งศิวาไลยมหาปราสาท ประดิษฐาน ยังปราสาทพระเทพบิดร พระพุทธศักราช ๒๔๖๑], เล่ม ๓๕, ตอน ง, ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๑๑๖ </ref> ทั้งมีพระบรมราชโองการให้มีการถวายบังคมพระบรมรูป เป็นประจำทุกปีในวันที่ ๖ เมษายน ซึ่งทรงกำหนดให้เป็น[[วันจักรี]] ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2461|พ.ศ. ๒๔๖๑]] เป็นต้นมา ปัจจุบันได้มีการประดิษฐานพระบรมรูปเพิ่มตามการเปลี่ยนรัชสมัย จนถึงรัชกาลที่ ๘ แล้ว
ในปี [[พ.ศ. 2446|พ.ศ. ๒๔๔๖]]ได้มีการซ่อมแซมแล้วให้เปลี่ยนนามเป็น '''ปราสาทพระเทพบิดร''' [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมรูป[[ราชวงศ์จักรี|พระบูรพกษัตริย์]] แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ทั้ง ๕ องค์มาไว้<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/116.PDF พระราชพิธี เชิญพระบรมรูปจากพระที่นั่งศิวาไลยมหาปราสาท ประดิษฐาน ยังปราสาทพระเทพบิดร พระพุทธศักราช ๒๔๖๑], เล่ม ๓๕, ตอน ง, ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๑๑๖ </ref> ทั้งมีพระบรมราชโองการให้มีการถวายบังคมพระบรมรูป เป็นประจำทุกปีในวันที่ ๖ เมษายน ซึ่งทรงกำหนดให้เป็น[[วันจักรี]] ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2461|พ.ศ. ๒๔๖๑]] เป็นต้นมา ปัจจุบันได้มีการประดิษฐานพระบรมรูปเพิ่มตามการเปลี่ยนรัชสมัย จนถึงรัชกาลที่ ๘ แล้ว


[[ภาพ:Bangkok Wat-Phra-Kaeo Kinnari.jpg|thumb|270px|กินนร (ซ้าย) และ อัปสรสีห์ (ขวา)]]
[[ไฟล์:Bangkok Wat-Phra-Kaeo Kinnari.jpg|thumb|270px|กินนร (ซ้าย) และ อัปสรสีห์ (ขวา)]]
บนฐานไพทีด้านหน้า และรอบๆ ปราสาทพระเทพบิดรจะมีรูปหล่อโลหะเป็นรูป[[สัตว์หิมพานต์]] ซึ่งหล่อในสมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างเป็นคู่ ตัวผู้ตัวเมีย รวม ๗ คู่ ดังนี้
บนฐานไพทีด้านหน้า และรอบๆ ปราสาทพระเทพบิดรจะมีรูปหล่อโลหะเป็นรูป[[สัตว์หิมพานต์]] ซึ่งหล่อในสมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างเป็นคู่ ตัวผู้ตัวเมีย รวม ๗ คู่ ดังนี้



รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:50, 28 เมษายน 2553

ปราสาทพระเทพบิดร

ปราสาทพระเทพบิดร เป็นปราสาทเพียงองค์เดียวในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นปราสาทจตุรมุข ยอดปรางค์มีนภศูล และมงกุฎอยู่บนยอด ประดับกระเบื้องเคลือบ องค์เดียวในประเทศไทย

ประวัติ

ปราสาทพระเทพบิดร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ เดิมชื่อว่า พุทธปรางค์ปราสาท เมื่อแรกนั้นมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ แต่เมื่อสร้างเสร็จเห็นว่าคับแคบไม่เหมาะแก่การพระราชพิธี จึงมิได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานดังพระราชดำริ

พระบรมรูปพระบูรพกษัตริยาธิราชภายในองค์ปราสาทพระเทพบิดร

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ได้มีการซ่อมแซมแล้วให้เปลี่ยนนามเป็น ปราสาทพระเทพบิดร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมรูปพระบูรพกษัตริย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง ๕ องค์มาไว้[1] ทั้งมีพระบรมราชโองการให้มีการถวายบังคมพระบรมรูป เป็นประจำทุกปีในวันที่ ๖ เมษายน ซึ่งทรงกำหนดให้เป็นวันจักรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นมา ปัจจุบันได้มีการประดิษฐานพระบรมรูปเพิ่มตามการเปลี่ยนรัชสมัย จนถึงรัชกาลที่ ๘ แล้ว

กินนร (ซ้าย) และ อัปสรสีห์ (ขวา)

บนฐานไพทีด้านหน้า และรอบๆ ปราสาทพระเทพบิดรจะมีรูปหล่อโลหะเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ ซึ่งหล่อในสมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างเป็นคู่ ตัวผู้ตัวเมีย รวม ๗ คู่ ดังนี้

  1. อสูรวายุภักษ์ ท่อนบนเป็นยักษ์สวมมงกุฎ ท่อนล่างเป็นนก สองมือกุมกะบองเกลียว ตั้งอยู่บนลานทักษิณชั้นบน
  2. อัปสรสีห์ ท่อนบนเป็นนางอัปสร ท่อนล่างเป็นราชสีห์ ยืนพนมมือ ตั้งอยู่เชิงบันไดกลางลานด้านหน้าปราสาทพระเทพบิดร
  3. สิงหพานร ท่อนบนเป็นพระยาวานร ท่อนล่างเป็นราชสีห์ สองมือถือกระบอง ตั้งอยู่ที่บันไดลานทักษิณด้านตะวันตก
  4. กินนร และ กินรี ท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มือหนึ่งแตะบั้นเอว มือหนึ่งยกระดับอก ตั้งอยู่บนลานทักษิณชั้นบน
  5. เทพปักษี เป็นเทวดา มีปีกและหางเป็นนก มือข้างหนึ่งถือพระขรรค์ อีกข้างหนึ่งจีบระดับอก ตั้งอยู่บนลานทักษิณชั้นบน
  6. เทพนรสิงห์ ท่อนบนเป็นเทวดา ท่อนล่างเป็นราชสีห์ มือหนึ่งแตะบั้นเอว อีกมือหนึ่งถือกิ่งไม้ชูระดับอก ตั้งอยู่บนลานทักษิณชั้นบน
  7. อสูรปักษี ท่อนบนเป็นยักษ์ สวมมงกุฎ ท่อนล่างเป็นนก มือหนึ่งแตะบั้นเอว อีกมือหนึ่งผายออกด้านข้าง

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธี เชิญพระบรมรูปจากพระที่นั่งศิวาไลยมหาปราสาท ประดิษฐาน ยังปราสาทพระเทพบิดร พระพุทธศักราช ๒๔๖๑, เล่ม ๓๕, ตอน ง, ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๑๑๖

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′06″N 100°29′34″E / 13.751646°N 100.492791°E / 13.751646; 100.492791