พระพิมลธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพิมลธรรม
การเรียกขานท่านเจ้าคุณ
จวนพระอารามหลวง หรือวัดราษฎร์
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระตลอดพระชีพ หรือ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ผู้ประเดิมตำแหน่งพระพิมลธรรม
สถาปนาพ.ศ. 2325

พระพิมลธรรม เป็นราชทินนามสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรองรูปหนึ่ง ในสมัยหลัง ๆ ได้พระราชทานเฉพาะพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันไม่มีพระราชาคณะรูปใดได้รับราชทินนามนี้

ประวัติ[แก้]

สมณศักดิ์ที่ "พระพิมลธรรม" ปรากฏครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ ว่าพระศรีสินซึ่งผนวชอยู่วัดระฆังเป็นผู้รู้พระไตรปิฎกและชำนาญพระเวท มีสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรม์อนันตปรีชา ได้ปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม[1] ในทำเนียบตำแหน่งพระราชาคณะในกรุงครั้งกรุงเก่า ระบุว่าพระพิมลธรรม วัดรามาวาส เป็นเจ้าคณะรองคณะคามวาสีฝ่ายซ้าย ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนเป็นเจ้าคณะรองคณะเหนือ แต่ก็มีข้อมูลว่า "พระพิมลธรรม" เป็นพระอาจารย์อีกรูปหนึ่งของสมเด็จพระนารายณ์ ทรงปรึกษาข้อราชการบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเรื่องโหราศาสตร์ เชื่อกันว่าทำนายได้แม่นยำมาก เช่น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ ยกทัพไปตีเมืองอังวะ ครั้งนั้นพระยาสีราชเดโชถูกพม่าจับไป สมเด็จพระนารายณ์ทรงทราบข่าวก็ดำรัสสั่งตำรวจหลวงไปนิมนต์พระพิมลธรรม วัดระฆังเข้ามาให้จับยามดู พระพิมลธรรมตรวจดูแล้วถวายพยากรณ์ว่า พระยาสีหราชเดโชชัยจะสามารถหลุดฟื้นมาได้และกลับได้ชัยชนะ ซึ่งเหตุการณ์ก็เป็นไปตามคำทำนายนั้น [2]

ฐานานุกรม[แก้]

พระพิมลธรรม มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป ดังนี้[3]

  • พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ วิบุลธรรมคณิสสร ธุราธรมหาคณานุนายก

สมัยรัตนโกสินทร์[แก้]

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีผู้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระพิมลธรรม" ดังนี้

ลำดับที่ รายนาม วัด ดำรงสมณศักดิ์
1 พระพิมลธรรม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2325 - 2337
2 พระพิมลธรรม (มี) วัดราชบุรณราชวรวิหาร พ.ศ. 2337 - ????
3 พระพิมลธรรม (อาจ) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ???? - 2359
4 พระพิมลธรรม (ด่อน) วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร พ.ศ. 2359 - 2363
5 พระพิมลธรรม (ทองดี) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พ.ศ. 2463 - ????
6 พระพิมลธรรม (พร) วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร พ.ศ. 2373 - ????
7 พระพิมลธรรม (อู่) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2368 - 2394
8 พระพิมลธรรม (จี่) วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร พ.ศ. 2394 - 2400
9 พระพิมลธรรม (ยิ้ม) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2400 - 2412
10 พระพิมลธรรม (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสราชวรวิหาร พ.ศ. 2415 - 2422
11 พระพิมลธรรม (อ้น) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2422 - 2432
12 หม่อมเจ้าพระพิมลธรรม์ (ทัด เสนีวงศ์) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2435 - 2437
13 พระพิมลธรรม (ฑิต อุทโย) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2438 - 2443
14 พระพิมลธรรม (ยัง เขมาภิรโต) วัดโสมนัสราชวรวิหาร พ.ศ. 2443 - 2453
15 พระพิมลธรรม (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พ.ศ. 2453 - 2464
16 พระพิมลธรรม (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2471 - 2482
17 พระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค) วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2482 - 2485
18 พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2488 - 2491
19 พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2492 - 2503
พ.ศ. 2518 - 2528
20 พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) วัดราษฎร์บำรุง พ.ศ. 2530 - 2535

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. หน้า 261-262. ISBN 978-616-7146-08-9
  2. ปรดี พิศภูมิวิถี และคณะ. บุคคลและสถานที่สำคัญในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. กรุงเทพ : แสงเทียนการพิมพ์, 2553. 60 หน้า. หน้า 31.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ฉบับพิเศษ, เล่ม 105, ตอนที่ 35, 4 มีนาคม 2531, หน้า 5