สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระพนรัตน์ เป็นเจ้าคณะใหญ่คณะใต้ และเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

ประวัติ[แก้]

สมเด็จพระพนรัตน์ ไม่ทราบนามเดิม[1][ก] เกิดวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล พ.ศ. 2277 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ท่านเป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมเจดีย์ อยู่วัดนาค เมื่อทรงปราบชุมนุมเจ้าพระฝางสำเร็จแล้ว จึงโปรดให้ท่านขึ้นไปเมืองพิษณุโลกเพื่อจัดการสังฆมณฑลฝ่ายเหนือ เสร็จแล้วจึงทรงเลื่อนเป็นพระพิมลธรรม มาครองวัดโพธาราม ในช่วงปลายรัชกาล พระเจ้ากรุงธนบุรีสำคัญพระองค์ว่าเป็นโสดาบัน จึงรับสั่งให้พระภิกษุถวายบังคม ครั้งนั้นมีพระภิกษุ 3 รูป คือ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) พระพุทธาจารย์ และพระพิมลธรรม ไม่ยอมทำ จึงทรงถอดจากสมณศักดิ์และเฆี่ยนทั้งสามรูป

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษก จึงโปรดให้ทั้ง 3 รูปรับสมณศักดิ์คืนดังเดิม ให้ไปครองพระอารามตามเดิม และทรงสรรเสริญว่าท่าน มีสันดานสัตย์ซื่อมั่นคง ดำรงรักษาพระพุทธศาสนาโดยแท้ มิได้อาลัยแก่ร่างกายและชีวิต ควรเป็นที่นับถือไหว้นบเคารพสักการบูชา แม้มีข้อสงสัยสิ่งใดในพระบาลีไปภายหน้า จะให้ประชุมพระราชาคณะไต่ถาม ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้ง 3 ว่าอย่างไรแล้ว พระราชาคณะอื่น ๆ จะว่าอย่างอื่นไป ก็คงจะเชื่อถ้อยคำพระผู้เป็นเจ้าทั้ง 3 ซึ่งจะเชื่อถ้อยฟังความตามพระราชาคณะอื่น ๆ ที่เป็นพวกมากนั้นหามิได้ ด้วยเห็นใจเสียครั้งนี้แล้ว แล้วโปรดให้พระสงฆ์วัดบางว้าใหญ่ และวัดโพธารามเข้ามารับบิณฑบาตในพระราชวังทั้ง 2 โดยผลัดเวรกันวัดละ 7 วันเป็นนิจกาล[2] ถึงปี พ.ศ. 2337 จึงโปรดให้เลื่อนเป็นสมเด็จพระพนรัตน[1]

ท่านถึงมรณภาพในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

หมายเหตุ[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ระบุว่าสืบนามเดิมไม่ได้ แต่ธนิต อยู่โพธิ์ อ้างจาก ประกาศเรื่องบำเพ็ญพระราชกุศลเทศน์มหาชาติ ในรัชกาลที่ 1 ว่านามเดิมคือแก้ว[3] แต่ศานติ ภักดีคำ ตรวจสอบเอกสารดังกล่าวแล้ว ไม่พบข้อมูลดังที่อ้าง[4]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 53
  2. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
  3. ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัต และ สมเด็จพระราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์ สมเด็จพระวันรัตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 8
  4. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน, หน้า (51)
บรรณานุกรม
  • ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (11 สิงหาคม 2531). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • ธนิต อยู่โพธิ์ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัต และ สมเด็จพระราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์ สมเด็จพระวันรัตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : ศิวพร, 2516. 447 หน้า.
  • สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. ISBN 974-417-530-3
  • ศานติ ภักดีคำ. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2558. 558 หน้า. หน้า (35)-(50). ISBN 978-616-92351-0-1 [จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพพระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔)]