พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี)
พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | พระเดชพระคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 มีนาคม พ.ศ. 2444 (91 ปี 243 วัน ปี) |
มรณภาพ | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นโท เปรียญธรรม 6 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดราษฏร์บำรุง จังหวัดชลบุรี |
ตำแหน่ง | ราชบัณฑิต อดีตเจ้าอาวาสวัดราษฏร์บำรุง อดีตแม่กองธรรมสนามหลวง[1], อดีตเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี, อดีตสมาชิกสังฆสภา |
พระพิมลธรรม นามเดิม ชอบ ชมจันทร์ ฉายา อนุจารี เป็นราชบัณฑิตภาคีสมาชิกสาขาวิชากวีนิพนธ์ ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สำนักศิลปกรรม[2] สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน ผู้เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์บำรุง เจ้าคณะจังหวัดชลบุรี เจ้าคณะตรวจการภาค 9 และ 2 และแม่กองธรรมสนามหลวง และเป็นผู้ริเริ่มให้มีวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่งในประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]ชาติกำเนิด
[แก้]พระพิมลธรรม มีนามเดิมว่า ชอบ ชมจันทร์[3] เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2444 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีฉลู เวลา 24:00 น.[4] เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 6 คน ของนายชมและนางจันทร์ จันทร์พยอม ชาติภูมิอยู่ในตลอดเมืองเก่า อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ท่านเริ่มศึกษากับยายช้อย แล้วเข้าศึกษาที่วัดพลับจบการศึกษา[3]
อุปสมบท
[แก้]พระพิมลธรรม ได้บรรพชาเป็นสาเณรเมื่อปี พ.ศ. 2457 ที่วัดพลับ อำเภอพนัสนิคม โดยมีพระครูศรีพนัสนิคมเป็นพระอุปัชฌาย์ บวชได้ 2 ปี โยมยายพาไปเรียนบาลีที่วัดใต้ต้นลาน ขณะพระอธิการกรานเป็นเจ้าอาวาส ถึง พ.ศ. 2461 เจ้าอาวาสย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดหัวถนน ทำให้สำนักเรียนปิดลง โยมยายจึงได้พาไปฝากเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
พ.ศ. 2465 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) และพระธรรมรัตนากร (สวัสดิ์ กิตฺติสาโร) เป็นพระกรรมวาจานุสาวนาจารย์[4]
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2462 สอบได้นักธรรมชั้นตรี
- พ.ศ. 2463 สอบได้นักธรรมชั้นโท
- พ.ศ. 2465 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
- พ.ศ. 2468 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค
- พ.ศ. 2469 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
- พ.ศ. 2478 สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่ง
[แก้]- พ.ศ. 2491 เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง
- พ.ศ. 2493 เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา ซึ่งมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นสังฆนายก[5]
- พ.ศ. 2494 เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา ซึ่งมีพระศาสนโศภน (จวน อุฏฺฐายี) เป็นสังฆนายก[6]
- พ.ศ. 2494 เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นสังฆนายก[7]
- 1 กันยายน พ.ศ. 2529 เป็นราชบัณฑิตในวิชาวรรณศิลป์[8]
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2489 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระชลธารมุนี ปิยทัสสีธรรมสาธก สังฆปาโมกข์[9]
- พ.ศ. 2492 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสุธี ธรรมปรีชาภิมณฑ์ ปริยัตติโกศล ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
- พ.ศ. 2495 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธี ศรีวิมลนายก ตรีปิฎกธาดา มหาคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
- พ.ศ. 2499 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก ตรีปิฎกธรรมภูสิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[12]
- พ.ศ. 2530 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพิมลธรรม มหันตคุณ วิบุลปรีชาญาณนายก ตรีปิฎกคุณาลังการภูษิต ยติกิจสาทร บวรสังฆาราม คามวาสี[13]
หนังสือที่เขียน
[แก้]หนังสือที่นิพนธ์โดยพระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี)[14]
- โสฬสปัญหา
- ตำนานพระอรหันต์ 8 พิศ
- ตำนานพระอรหันต์แปดทิศ
- พุทธประวัติทัศนะศึกษา
- พุทธประวัติทัศนะศึกษา
- พุทธประวัติทัศนศึกษา
- ตำนานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ
- สมบัติรัตนกวีชิ้นเอก
- พุทธสาวิกา
- แม่ของลูก
- คำสั่งของพ่อ
- ตำนานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ
- เมื่อเราบวช
- เมื่อเราบวช 2500
- เมื่อเราบวช
- ปริทรรศน์ เวชสันดรชาดก
- ปริทรรศน์ เวสสันดรชาดก
- เมื่อเราบวช (เรื่องราวน่ารู้ทางพุทธศาสนาธรรมปฏิบัติและคติพจน์)
- วันศาสนานิพนธ์ของพระธรรมโกศาจารย์ อนุจารีเถระ
- พุทธประวัติทัศนศึกษา
- พุทธประวัติทัศนะศึกษา
มรณภาพ
[แก้]พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) มรณภาพเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 เวลา 13.40 น.[3] สิริอายุได้ 91 ปี 243 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ทำเนียบแม่กองธรรมสนามหลวง-เว็บไซต์สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
- ↑ "พระพิมลธรรม ชอบ อนุจารีมหาเถร". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2558. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 "อริยะโลกที่6 : พระพิมลธรรม(ชอบ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์". ข่าวสด. 28 กันยายน 2561. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 มงคลกรรมการกุศล บำเพ็ญอายุในอภิลักขิตกาลครบ ๖ รอบ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารีเถระ), 2516, หน้า 1-8
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์, เล่ม 67, ตอนที่ 43, 8 สิงหาคม 2493, หน้า 3374-6
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์, เล่ม 68, ตอนที่ 38, 19 มิถุนายน 2494, หน้า 2593-5
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์, เล่ม 68, ตอนที่ 50, 31 กรกฎาคม 2494, หน้า 3087-8
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (115 ง): 2629. 28 กันยายน 2519. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 63, ตอนที่ 15 ง, 19 มีนาคม 2489, หน้า 954
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 66, ตอนที่ 66 ง, 6 ธันวาคม 2492, หน้า 5405
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 69, ตอนที่ 72 ง, 9 ธันวาคม 2495, หน้า 4619
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ฉบับพิเศษ, เล่ม 74, ตอนที่ 6, 12 มกราคม 2500, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ฉบับพิเศษ, เล่ม 105, ตอนที่ 35, 4 มีนาคม 2531, หน้า 1-5
- ↑ งานนิพนธ์ของท่านเจ้าคุณพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2] เก็บถาวร 2010-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
ก่อนหน้า | พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) | แม่กองธรรมสนามหลวง (พ.ศ. 2491 — พ.ศ. 2503) |
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) |