บุญชู
บุญชู เป็นภาพยนตร์ไทย ประเภทหนังตลกขบขัน ที่มีการสร้างถึง 8 ครั้ง 10 ภาค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2553 สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น โดย 7 ภาคแรก กำกับภาพยนตร์และเขียนบทภาพยนตร์โดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล โดยมี สันติสุข พรหมศิริ และ จินตหรา สุขพัฒน์ แสดงนำ โดยเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จได้รับความนิยมสูงสุดในยุคนั้น
นอกจากนั้นภาพยนตร์ชุดบุญชูที่สร้างภาคต่อๆ มาถึง 6 เรื่อง ก็ได้รับการบันทึกว่าเป็นภาพยนตร์ซึ่งได้รับความนิยมทำรายได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกภาค[1] ซึ่งหลังจากหนังเรื่องนี้ บัณฑิตก็กลายเป็นคนทำหนังร่วมสมัยที่มีหนังทำเงินและหนังคุณภาพมากที่สุด ระหว่างปี 2531-2538 และสามารถคว้ารางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขาภาพยนตร์ยอดนิยม ติดต่อกันถึง 3 ปีซ้อน [2]
บุญชูได้เคยถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2541 ออกอากาศทางช่อง 5 โดยใช้ชื่อว่า บุญชู สระอูยาว สร้างโดย มีเดีย ออฟ มีเดียส์ กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล เช่นเดิม นำแสดงโดย เพ็ญเพชร เพ็ญกุล, ผาณิต สุทธาศวิน, สันติสุข พรหมศิริ, กีรติ เจนปรมกิจ
ภาพยนตร์ชุดบุญชูอย่างเรื่อง บุญชูผู้น่ารัก ยังเป็นหนี่งในภาพยนตร์ไทย 100 เรื่องที่คนไทยควรดู และหนึ่งในภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติครั้งที่ 3[3]
ภาคสุดท้ายของบุญชู มีชื่อเรื่องว่า บุญชู จะอยู่ในใจเสมอ ฉายในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการเปลี่ยนตัวผู้กำกับภาพยนตร์เป็น เกียรติ กิจเจริญ หนึ่งในกลุ่มนักแสดงบุญชูซึ่งร่วมงานมาทุกภาค
เนื้อหา
[แก้]ภาค 1-5 : ช่วงศึกษา
[แก้]เรื่องราวของ "บุญชู" เริ่มขึ้นเมื่อ บุญชู บ้านโข้ง (สันติสุข พรหมศิริ) หนุ่มสุพรรณฯ เดินทางเข้ากรุงเทพฯ พร้อมกับ บัวลอย (กัญญาลักษ์ บำรุงรักษ์) หลานสาวซึ่งเป็นลูกสาวของ บุญช่วย (นิรุตติ์ ศิริจรรยา ในภาคแรกก่อนจะเปลี่ยนเป็น สุเทพ ประยูรพิทักษ์ ในภาค 2) พี่ชายของเขาเพื่อเรียนกวดวิชาและสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยได้พบกับเพื่อนใหม่จากต่างถิ่น และ โมลี (จินตหรา สุขพัฒน์) สาวน้อยผู้น่ารัก จนเมื่อผลสอบเข้าไม่ผ่าน บุญชูจึงตัดสินใจกลับบ้านเกิด และกลับมากรุงเทพฯ อีกครั้งโดยช่วยงานที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นจึงขอสอบใหม่อีกครั้ง ผลปรากฏว่าสอบเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยในช่วงกำลังศึกษา บุญชูเป็นที่รักใคร่ของเพื่อนๆ ร่วมสถาบัน เคยสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานนักศึกษาแต่ก็ไม่ได้รับเลือก จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา
ภาค 6-8 : ช่วงทำงาน
[แก้]โมลีต้องการให้บุญชูทำงานในกรุงเทพฯ แต่บุญชูทนไม่ไหวกับสภาพความหนาแน่นของผู้คนที่พากันแย่งก็เลยตัดสินใจกลับบ้านเกิด โดยไปเป็นพ่อค้าขายข้าว ต่อมา บุญล้อม (จุรี โอศิริ) แม่ของบุญชูได้ยกบ้านริมน้ำให้เป็นเรือนหอกับโมลี แต่ มานี (ญาณี จงวิสุทธิ์ ในภาค 1-2 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นปรารถนา สัชฌุกร ในภาค 5) พี่สาวของเธอไม่ตกลงโดยยื่นคำขาดให้กำจัดน้ำเน่าเสียในคลองหน้าบ้านให้เป็นน้ำสะอาด มานีเห็นใจในความพยายาม จึงตัดสินใจให้โมลีแต่งงานกับบุญชู และอยู่ด้วยกันที่บ้านริมน้ำหลังนั้น จนได้ให้กำเนิดลูกชายคือ บุญโชค [4]
ภาค 9-10 : ช่วงแห่งความเป็นพ่อ
[แก้]เกือบ 20 ปีให้หลัง บุญโชค ลูกชายของบุญชูและโมลี โตเป็นหนุ่มแต่อยู่ในช่วงแห่งการศึกษาพระธรรม ขณะที่คุณพ่อซึ่งอาศัยอยู่ร้านขายของชำในจังหวัดบ้านเกิดก็ตั้งใจจะให้ลูกบวชไปเรื่อยๆ จนเป็นพระ แต่คุณแม่อยากให้เข้าเรียนและใช้ชีวิตปกติมากกว่า โมลีจึงแอบสึกเณรแล้วส่งเข้ากรุงเทพฯ โดยไม่บอกบุญชู และฝากให้กลุ่มเพื่อนเก่าของบุญชูช่วยดูแล จนบุญโชคสามารถสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาแต่ผลก็คือไม่ได้เข้าสอบ อันเนื่องมาจากความวุ่นวายนั้นเอง[5] จึงเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อพบพ่อแม่ และได้รับคำปลอบว่าจะเรียนอะไรก็ได้ ขอให้เป็นคนดี เรื่องสอบยังไม่สาย บุญโชคจึงตั้งใจสอบใหม่อีกครั้งโดยมีความหวังคือเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อที่จะพบเพื่อนใหม่อย่างคาดไม่ถึง
ความนิยม
[แก้]ภาพยนตร์เรื่อง "บุญชู ผู้น่ารัก" ออกสู่สายตาผู้ชมครั้งแรกในปี 2531 โดยเป็นภาพยนตร์ไทยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปีนั้น จากความสำเร็จในภาคแรก ทำให้มีการสร้างภาพยนตร์ในภาคต่อๆ มา และกลายเป็นภาพยนตร์ตลกที่สร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้ชมมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการบันทึกว่าเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกภาค ดังนี้
ปี | ชื่อภาค | รายได้ |
---|---|---|
2531 | บุญชู ผู้น่ารัก | 13,000,000 บาท |
2532 | บุญชู 2 น้องใหม่ | 16,000,000 บาท |
2533 | บุญชู 5 เนื้อหอม | 21,000,000 บาท |
2534 | บุญชู 6 โลกนี้ดีออก สุดสวย น่ารักน่าอยู่ ถ้าหงุ่ย | 23,500,000 บาท |
2536 | บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ | 32,100,000 บาท |
2538 | บุญชู 8 เพื่อเธอ | 26,000,000 บาท |
2551 | บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู | ประมาณ 50,000,000 บาท [6][7] |
2553 | บุญชู จะอยู่ในใจเสมอ | 15,600,000 บาท |
ภาค
[แก้]ปี | ชื่อภาค | ตัวละครรับเชิญ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2531 | บุญชู ผู้น่ารัก | โต้ง , เงินตรา | |
2532 | บุญชู 2 น้องใหม่ | มหาแจ่ม , บุญมา , รศ.เศรษฐศิริ | เปลี่ยนผู้แสดง "เฉื่อย" จาก โรม อิศรา เป็น นฤพนธ์ ไชยยศ เปิดตัว "ประพันธ์" (เกรียงไกร อมาตยกุล) เปลี่ยนผู้แสดง "บุญช่วย" จาก นิรุตติ์ ศิริจรรยา เป็น สุเทพ ประยูรพิทักษ์ |
2533 | บุญชู 5 เนื้อหอม | อำภาวรรณ , อ.สุโต , เรวัต , จันทร์เพ็ญ , สายัณห์ | ฉายรวมกับ บุญชู 3 จำจากแม่ และ บุญชู 4 ปีหนึ่ง เปลี่ยนผู้แสดง "มานี" จาก ญาณี จงวิสุทธิ์ เป็น ปรารถนา สัชฌุกร เปลี่ยนผู้แสดง "เฉื่อย" จาก นฤพนธ์ ไชยยศ เป็น นัท กิจดินันท์ ที่เจ้าตัวเดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศเยอรมนี |
2534 | บุญชู 6 โลกนี้ดีออก สุดสวย น่ารักน่าอยู่ ถ้าหงุ่ย | ลลิตา , ทองดี | นฤพนธ์ ไชยยศ กลับมาแสดงเป็น "เฉื่อย" โดยมาเฉพาะเสียงผ่านโทรศัพท์ในร้านอาหาร |
2536 | บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ | สตีฟ , ทองดี , อากลม , อาเที่ยง | นฤพนธ์ ไชยยศ กลับมารับบท เฉื่อย อีกครั้งหลังจากจบการศึกษา |
2538 | บุญชู 8 เพื่อเธอ | รำเพย , นารายณ์บรรทม , แฉล้ม | - |
2551 | บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู | พิม , แอ่น , พี่เหน่ง , ทิดรินทร์ | เปิดตัวนักแสดงรุ่นลูก |
2553 | บุญชู จะอยู่ในใจเสมอ | จันทร์ผา , จันทร์หอม , พี่หมอ , ปิงวัง , ยมน่าน , มะขิ่น (กฤษฎา) , อบต | เกียรติ กิจเจริญ กำกับภาพยนตร์ ปิดตัวภาคสุดท้าย |
ตัวละครหลัก
[แก้]ตัวละครที่ปรากฏตัวจนถึงภาคล่าสุด | ||
---|---|---|
นักแสดง | ตัวละคร | ปรากฏตัวครั้งแรก |
สันติสุข พรหมศิริ | บุญชู บ้านโข้ง | บุญชู ผู้น่ารัก |
เป็นคนสุพรรณ บ้านโข้ง มีแม่ชื่อ บุญล้อม มีพี่ชายชื่อ บุญช่วย และมีหลานชื่อ บัวลอย เป็นลูกพี่ชายของบุญชู เรียนจบจากนิสิตเกษตร (คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)[8] จบปริญญาได้กลายเป็นเกษตรแบบพอเพียงเต็มตัว รวมทั้งมีร้านสะดวกซื้อ แบบบ้านนอกเป็นของตัวเอง ยังคงเป็นคนน่ารักของทุกคนเหมือนเดิม แม้ว่าเวลาจะผ่านมายี่สิบปีแล้ว เสน่ห์ของบุญชู คือ ความใส ความซื่อของตัวบุญชู และ จริยธรรมที่แทรกอยู่ว่าความดีสามารถเอาชนะความชั่ว มีบุตรกับโมลีด้วยกันสามคน คนแรกชื่อ บุญโชค [9] เป็นบุตรหัวปี และอีกสองคนเป็นลูกฝาแฝด [5] | ||
จินตหรา สุขพัฒน์ | โมลี | บุญชู ผู้น่ารัก |
เป็นคนกรุงเทพฯ เป็นคนรักของบุญชู เรียนจบจาก คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[8] มีพี่สาวชื่อ มานียอมสละชีวิตที่หรูหราในกรุงเทพฯกับพี่สาว มาอยู่กับคนรักที่บ้านริมน้ำที่บ้านโข้ง มีลูกชายชื่อ บุญโชค ที่หวังจะฟูมฟักให้ได้เรียนสูงๆเช่นกัน และมีด้วยกันอีกสองคนเป็นฝาแฝด [5] | ||
วัชระ ปานเอี่ยม | ไวยากรณ์ กำไร | บุญชู ผู้น่ารัก |
เป็นคนกรุงเทพฯ สอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย ติดทุกปีแต่ไม่ได้คณะที่ต้องการคือคณะแพทยศาสตร์ ต่อมาสอบติดเรียนจบจาก คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[8] เป็นสัตวแพทย์เพื่อนเก่าของบุญชูและโมลี ผู้เชี่ยวชาญด้านการผสมพันธุ์ และยังคงเป็นที่ปรึกษาให้เพื่อนๆ | ||
เกรียงไกร อมาตยกุล | ประพันธ์ | บุญชู 2 น้องใหม่ |
เป็นคนระยอง เรียนจบจาก คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียนคณะเดียวกันกับโมลี[8] ยังคงเป็นคนขี้สงสัย ช่างซักในเรื่องไม่ควรซักอันเป็นลักษณะที่เป็นกรรมพันธุ์ถ่ายทอดไปถึงรุ่นลูกและเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของโมลี มีลูกชายชื่อ ประพาฬ[9] | ||
อรุณ ภาวิไล | นรา (นุ้ย) | บุญชู ผู้น่ารัก |
เป็นคนหาดใหญ่ สงขลา มีนิสัยชอบพูดเร็วและบ้าการเมือง จบจากนิติศาสตร์บัณฑิต (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง)[8] ที่เล่นการเมืองแล้วสอบตกแล้วสอบตกอีก เป็นทนายความที่ทำให้ลูกความติดตะรางเป็นประจำ ชอบปราศรัยแบบที่ใครฟังไม่รู้เรื่องเหมือนเดิม มีลูกสาวชื่อ นิ้ง [9]มีนิสัยชอบกิน ข้าวผัดอเมริกัน | ||
กฤษณ์ ศุกระมงคล | คำมูล | บุญชู ผู้น่ารัก |
เป็นคนอุบลราชธานี เรียนจบจากบัณฑิตโบราณคดี (คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)[8] ชอบทำตัวและแต่งตัวเป็น อินเดียน่า โจนส์ เที่ยวตามล่าหาสมบัติไม่เลิกและยังมีนิสัยชอบกินปลากระป๋องเป็นประจำ | ||
โรม อิศรา (ภาค 1) ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ (ภาค 2 , ภาค 6-10) นัท กิจดินันท์ (ภาค 5) |
มั่นคง ชัยมงคล (เฉื่อย) | บุญชู ผู้น่ารัก |
เป็นคนเชียงใหม่ มีนิสัยพูดช้ากว่าคนอื่น สอบติดและเรียนจบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร [8] เป็นอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรมแต่พูดไม่ทันคนอื่นเหมือนเดิมและยังไม่ทันเพื่อนๆ เหมือนเดิม | ||
เกียรติ กิจเจริญ | ยงยุทธ (หยอย) | บุญชู ผู้น่ารัก |
เป็นคนกรุงเทพฯ สอบติดและเรียนจบจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[8] ที่บ้านของหยอยทำขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขายส่งออกจนเป็นอาชีพในปัจจุบันของหยอย ชอบพูดเสียงดังเอ็ดตะโร โดยเฉพาะเวลาที่เผชิญหน้ากับ พี่ปอง ปากหมา เจ้าของร้านอาหารเจ้าประจำ ในภาคแรกๆ ชอบพูดคำติดปากว่า "ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง" หยอยมีลูกชายชื่อ หยอน [9]แต่ยังทะเลาะกับพี่ปองแต่ชอบถูกพี่ปองด่าว่า ไอ้ระยำ เพราะชอบกวนพี่ปองตลอดและหยอยมีคำพูดเวลาสั่งอาหาร ไม่กินแล้ว จะสั่งเหรอ | ||
สมเกียรติ คุณานิธิพงศ์ | ปอง (พี่ปอง) | บุญชู ผู้น่ารัก |
เจ้าของร้านอาหารเจ้าประจำ ชอบพูดกวนๆกับลูกค้าในร้านเสมอๆ ทำให้ใครๆเรียกว่า "ปอง ท่าพระจันทร์" หรือ "พี่ปอง ปากหมา" ชอบทะเลาะกัดกับหยอย ตั้งร้านอยู่ที่ท่าพระจันทร์ แถวแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันปิดร้านแล้ว ไปเปิดสาขาใหม่ที่เชียงราย [5]โดยปองจะต้องปิดร้านเร็วเพราะกลัวเจ้าของร้านมาหลอกแต่มีความพูดปากเวลาด่าว่า "ไอ้ระยำ" | ||
ตัวละครรุ่นลูก | ||
ธนฉัตร ตุลยฉัตร | บุญโชค | บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู |
ลูกชายเพียงคนเดียวของบุญชูและโมลี ซื่อและมีจิตใจดีงามเหมือนพ่อ แต่อารมณ์สนุกสนานเหมือนเด็กรุ่นใหม่ บวชเณรตั้งแต่เล็กๆ ไม่ยอมสึกและเดินธุดงค์ตามอาจารย์ไปหลายประเทศ จนโมลีผู้เป็นแม่ทนไม่ไหว ตามไปสึกและส่งเข้าไปหาทางเรียนหนังสือต่อในกรุงเทพ แต่ก็ไม่ได้ไปสอบ ต่อมาได้ไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง [5] | ||
อภิญญา สกุลเจริญสุข | นิ้ง | บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู |
ลูกสาวของนรา เพื่อนคนหนึ่งของบุญชู เรียนรามคำแหงคณะนิติศาสตร์เหมือนพ่อ และทำงานที่ร้านเชสเตอร์กริลล์ไปในเวลาเดียวกันด้วย เป็นคนไม่ค่อยยอมคน ทะเลาะได้แม้แต่พ่อของตัวเอง | ||
รัชชุ สุระจรัส | หยอน | บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู |
ลูกชายของหยอย ที่รูปร่างผอมๆในขณะที่พ่ออ้วน พ่อลูกจึงเรียกกันว่า “ไอ้อ้วน” (หยอย) และ “ไอ้ผอม” (หยอน) เป็นคนที่มีเรื่องตื่นเต้นมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังเสมอหยอนและปพาฬยังแย่งกันจีบแอ่นเสมอเมื่อมีโอกาส | ||
วรฤทธิ์ นิลกลม | ประพาฬ | บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู |
ลูกชายคนเดียวของประพันธ์ ช่างสงสัยคล้ายพ่อ เรียนคณะศิลปศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ใช้เวลาว่างหารายได้พิเศษ ด้วยการเปิดหมวกเล่นไมค์โดยหิ้วไวโอลินติดตัวเพื่อความเท่ห์ | ||
ตัวละครที่ปรากฏตัวในอดีต
ตัวละครเหล่านี้ ปรากฏตัวเฉพาะในบุญชูภาค 1-8 | ||
จุรี โอศิริ | บุญล้อม (แม่บุญล้อม) | บุญชู ผู้น่ารัก |
แม่ของบุญช่วยกับบุญชู เป็นผู้ที่หวังให้บุญชูเพื่อให้บุญชูสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยให้โด่งดังทั่วบ้านโข้ง พอบุญชูจบมหาวิทยาลัย แม่บุญล้อมได้ยกบ้านริมน้ำให้เป็นเรือนหอกับโมรี | ||
นิรุตติ์ ศิริจรรยา (ภาค 1) สุเทพ ประยูรพิทักษ์ (ภาค 2-8) |
บุญช่วย บ้านโข้ง | บุญชู ผู้น่ารัก |
พี่ชายของบุญชู มักมีนิสัยเหลวไหล ชอบขอเงินจากแม่บุญล้อม ไปเช่าท่าเรือข้ามฟากคลองสาน แม่บุญล้อมเคยส่งเงินบุญช่วยเรียนต่อแต่บุญช่วยกลับแอบไปแต่งงานจนถูกทิ้ง ต่อมาทำท่าเรือจนขาดทุนจนต้องปิดกิจการไป แล้วร่วมทุนกับเพื่อนบุญชูเปิดร้านอาหารที่บ้านเกิดใช้ชื่อว่า ช่วยโอชา บุญช่วยมีลูกสาวจากภรรยาชื่อว่า บัวลอย และแอบชอบคุณมานี | ||
ญาณี จงวิสุทธิ์ (ภาค 1-2) ปรารถนา สัชฌุกร (ภาค 5-8) |
มานี | บุญชู ผู้น่ารัก |
พี่สาวของโมลี มีนิสัยโมโหง่าย เป็นเจ้าของบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ทำงานโปรดักชั่นเฮ้าส์ ด้านโฆษณา เป็นคนรักน้องสาวมาก มานีต้องการจะให้โมลีใช้ชีวิตที่หรูหราในกรุงเทพฯร่วมกับตน แต่โมลีมาอยู่กับบุญชูที่บ้านโข้ง | ||
กัญญาลักษ์ บำรุงรักษ์ | บัวลอย บ้านโข้ง | บุญชู ผู้น่ารัก |
ลูกสาวของบุญช่วย พี่ชายของบุญชู หลานสาวของบุญชู ชอบพูดคำติดปากว่า "ระวังน้ำตาจะเช็ดหัวเข่า" |
รายชื่อผู้แสดง
[แก้]เพลงประกอบภาพยนตร์
[แก้]ชื่อเพลง | ศิลปิน | ภาคที่นำไปใช้ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ฉันคือบุญชู | จรัล มโนเพ็ชร | บุญชู ผู้น่ารัก | |
บุญชู จะอยู่ในใจเสมอ | |||
รักหรือเรียนดี | บุญชู ผู้น่ารัก | ||
บุญชู 3 จำจากแม่ | |||
ความหวังยังไม่สาย | บุญชู ผู้น่ารัก | ||
บุญชู 2 น้องใหม่ | |||
น้ำตาเช็ดหัวเข่า | บุญชู ผู้น่ารัก | ||
เพ้อ | |||
หวาน | |||
เพื่อน | ตั้งแต่ภาค บุญชู 2 น้องใหม่ | ||
เปลี่ยนรัก | |||
แล้วเราก็เจอกัน | บุญชู 2 น้องใหม่ | ||
บุญชู | ยืนยง โอภากุล | บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู | |
เขิน | ธนฉัตร ตุลยฉัตร | ||
รางวัลแด่คนช่างฝัน | กลุ่มนักแสดง | เพลงต้นฉบับศิลปิน คือ จรัล มโนเพ็ชร | |
จะอยู่ในใจเสมอ | ยืนยง โอภากุล | จะอยู่ในใจเสมอ | |
แค่บอกว่ารักเธอ | หมีพูห์ | ||
1 2 3 4 5 I Love You | เดอะบ็อททอมบลูส์ |
ผู้ทำเพลงและดนตรีประกอบภาพยนตร์
[แก้]- จรัล มโนเพ็ชร และ ดำรงค์ ธรรมพิทักษ์ (ภาค 1 - 8, จะอยู่ในใจเสมอ)
- ยืนยง โอภากุล (บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู, จะอยู่ในใจเสมอ)
- ไจแอนท์ เวฟ (บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู, จะอยู่ในใจเสมอ)
- ชันษา เมตตพันธ์ (เรียบเรียงดนตรีใหม่ เพลง เขิน ใน บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู)
รางวัล
[แก้]- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2531 ภาพยนตร์ยอดนิยม [10]
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2532 เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (จรัล มโนเพ็ชร และ ดำรงค์ ธรรมพิทักษ์)
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2532 ภาพยนตร์ยอดนิยม
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2533 ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สุเทพ ประยูรพิทักษ์)
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2533 ภาพยนตร์ยอดนิยม
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 17 ประจำปี พ.ศ. 2536 ตุ๊กตาเงิน ภาพยนตร์ยอดนิยม
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 19 ประจำปี พ.ศ. 2538 ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (จารุณี สุขสวัสดิ์)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.thaicinema.org/kits122boonchoole.asp
- ↑ รายการ แฟนพันธุ์แท้ปี 2008 เรื่อง บุญชู ผู้น่ารัก ออกอากาศในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
- ↑ "ทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ ๓". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-17. สืบค้นเมื่อ 2014-03-31.
- ↑ ย้อนรำลึก ถึง บุญชู กัน
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 ภาพยนตร์ บุญชู จะอยู่ในใจเสมอ (2551) .
- ↑ "100 อันดับหนังไทยทำเงินสูงสุดตลอดกาล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-01-20.
- ↑ มยุรี อำนวยพร, ที่สุดของหนังเด่น-หนังโดนแห่งปี เก็บถาวร 2008-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 ภาพยนตร์ บุญชู 2 น้องใหม่ (2532) .
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 ภาพยนตร์ บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู (2553) .
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-11. สืบค้นเมื่อ 2011-12-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-02. สืบค้นเมื่อ 2011-12-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-29. สืบค้นเมื่อ 2012-05-22.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2012-05-22.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2012-05-22.