ข้ามไปเนื้อหา

ฉากกำบัง (ยุทธวิธี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฉากกำบัง (อังกฤษ: screening) เป็นยุทธวิธีรักษาความปลอดภัยในการตั้งรับ ซึ่งใช้ฉากกำบัง (screening force) ประกอบด้วยทหารกองหน้าหรือกองรักษาด่านเพื่อซ่อนลักษณะและอัตราของกำลังทหาร พร้อมทั้งแจ้งเตือนล่วงหน้าเมื่อศัตรูเข้าใกล้ ขัดขวางและก่อกวนกองกำลังหลักของศัตรูด้วยการยิงเล็งจำลอง และรายงานกิจกรรมของกองกำลังหลักของศัตรู ในขณะที่ฉากกำบังยังคงปะทะกับศัตรู อาจจะทำการลาดตระเวน สร้างกองรักษาด่าน และช่วยทำลายหน่วยลาดตระเวนของศัตรู กองกำลังยังคงอิสระในการดำเนินกลยุทธ์และไม่เข้ารบแตกหักกับเป้าหมาย[1]

ภารกิจฉากกำบังจะพยายามทำลายหรือขับไล่กองกำลังข้าศึกเมื่อเป็นไปได้ โดยจัดให้มีการเตือนล่วงหน้าในลักษณะการป้องกัน ทำลายหน่วยลาดตระเวนของข้าศึกที่สังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดกับกำลังหลักของเรา ฉากกำบังที่มีประสิทธิภาพสามารถปกปิดตำแหน่งที่กองทัพตั้งแต่ช่วงต้นและท้ายสุดของรูปขบวน ทำให้ยากต่อการขนาบทางปีก ในการสงครามสมัยใหม่ ฉากกำบังจะปฏิบัติการโดยรถเกราะ, รถถังเบา และทหารม้าอากาศ

ฉากกำบังในการลาดตระเวน

[แก้]

ฉากกำบังมักจะใช้งานโดยหน่วยลาดตระเวน เช่น ทหารม้า ซึ่งปฏิบัติการภายในระยะของปืนใหญ่สนับสนุน ตรงกันข้ามกับกองกำลังรักษาการณ์ ฉากกำบังอาจประกอบด้วยหมวดลาดตระเวน มากกว่ากองกำลังเฉพาะกิจหรือกองพันทหารม้า และภารกิจมีเป้าหมายสูงสุดน้อยกว่า โดยมุ่งเน้นไปที่การเตือนล่วงหน้าไปยังกองกำลังหลักแทนที่จะป้องกันการสังเกตของศัตรูและการยิงโดยตรงไปยังกองกำลังหลัก นอกจากนี้ ฉากกำบังยังต่างจากกองกำลังรักษาการณ์ โดยฉากกำบังจะวางกำลังไปที่พื้นที่เปิด ไปยังด้านหลังและทางปีกของกองกำลังหลัก แทนที่จะเป็นด้านหน้า ซึ่งการวางกำลังบริเวณด้านหน้าของฉากกำบังด้านหน้าน้อยจะช่วยให้มีบริเวณหน้ากว้างได้ แนวฉากกำบังสามารถใช้เป็นแนวที่หน่วยป้องกันจะวางกำลังรักษาความปลอดภัยให้หน่วยหลักได้[2] ซึ่งการส่งกำลังบำรุงทางอากาศจะใช้ก็ต่อเมื่อการส่งกำลังบำรุงภาคพื้นดินไม่สามารถส่งให้กับกำลังหลักได้[3]

โดยปกติฉากกำบังจะใช้การยิงเล็งตรงในการป้องกันตัวเองเท่านั้น และจะไม่พยายามเข้าปะทะกับกองกำลังศัตรูอย่างเด็ดขาด

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Security operations". Global Security.
  2. Field Manual FM 3-98 Reconnaissance and Security Operations (PDF). Washington D.C.: Department of the Army. 2023-01-10. pp. 5–7.
  3. "FM 34-35 Combat Operations".