การโจมตีด้วยโดรน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โดรนพรีเดเตอร์ขณะยิงขีปนาวุธเฮลไฟร์
อากาศยานไร้คนขับเชิงพาณิชย์ที่ปรับใช้เป็นอาวุธ

การโจมตีด้วยโดรน (อังกฤษ: drone strike) เป็นการโจมตีโดยอากาศยานต่อสู้ไร้คนขับ (UCAV) หนึ่งลำหรือมากกว่า หรืออากาศยานไร้คนขับ (UAV) เชิงพาณิชย์ที่ปรับใช้เป็นอาวุธ

สำหรับอากาศยานต่อสู้ไร้คนขับ การโจมตีมักเกี่ยวข้องกับการยิงขีปนาวุธหรือปล่อยระเบิดใส่เป้าหมาย[1] โดรนอาจจะติดตั้งอาวุธ เช่น ระเบิดนำวิถี, ระเบิดดาวกระจาย, วัตถุที่ก่อให้เกิดเพลิง, ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น, ขีปนาวุธต่อสู้รถถัง หรืออาวุธนำวิถีความแม่นยำสูงชนิดอื่น ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนศตวรรษ การโจมตีด้วยโดรนส่วนใหญ่ได้ดำเนินการโดยกองทัพสหรัฐในต่างประเทศ เช่น อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, ซีเรีย, อิรัก, โซมาเลีย และเยเมน โดยใช้ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น[2]

การโจมตีด้วยโดรนใช้สำหรับการสังหารที่ระบุเป้าหมายหลายประเทศ[3][4]

มีเพียงสหรัฐ, อิสราเอล, จีน, อิหร่าน, อิตาลี, อินเดีย, ปากีสถาน, รัสเซีย, ตุรกี, และโปแลนด์เท่านั้น[5][6] ที่ทราบว่ามีการผลิตอากาศยานต่อสู้ไร้คนขับปฏิบัติงานในปี ค.ศ. 2019[7]

การโจมตีด้วยโดรนสามารถทำได้โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAVs) เช่น การบรรทุกวัตถุอันตราย และชนเป้าหมายที่ทำให้บาดเจ็บ หรือจุดชนวนระเบิดใส่เป้าหมาย สิ่งบรรทุกอาจรวมถึงวัตถุระเบิด, กระสุนที่กระจายกลางอากาศ, สารเคมี, อันตรายจากรังสีและชีวภาพ ส่วนระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับได้รับการพัฒนาโดยรัฐเพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากโดรนโจมตี อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ทดลองได้ยาก อ้างอิงจากเจมส์ โรเจอส์ นักวิชาการที่ศึกษาการสงครามโดรน ซึ่งกล่าวว่า "มีการถกเถียงกันอย่างมากในตอนนี้เกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการต่อต้านอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กเหล่านี้ ไม่ว่าจะถูกใช้โดยมือสมัครเล่นที่ก่อให้เกิดความรำคาญเล็กน้อย หรือในลักษณะที่น่ากลัวกว่าโดยนักแสดงผู้ก่อการร้าย"[8]

การโจมตีด้วยโดรนโดยสหรัฐ[แก้]

เบน เอ็มเมอร์สัน ผู้สืบสวนคดีพิเศษของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่าการโจมตีด้วยโดรนของสหรัฐอาจเป็นการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ[9][10] ดิอินเตอร์เซปต์รายงานว่า "ระหว่างเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 การโจมตีทางอากาศโดยการปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐ [ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน] ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน ในจำนวนนั้น มีเพียง 35 คนเท่านั้นที่เป็นเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ในช่วงระยะเวลาห้าเดือนหนึ่งของปฏิบัติการ ตามเอกสาร เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศไม่ใช่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้"[11][12] ในสหรัฐ การโจมตีด้วยโดรนใช้เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิต เนื่องจากไม่มีใครที่ต้องใช้ร่างกายประจัญในการทำศึก ความสามารถในการส่งโดรนเพื่อต่อสู้ได้ลดจำนวนชีวิตชาวอเมริกันที่สูญเสียไปอย่างมาก[13] สหรัฐได้เพิ่มการใช้โดรนโจมตีอย่างมีนัยสำคัญในระหว่างการเป็นประธานาธิบดีของโอบามาเมื่อเทียบกับบุช[14] ด้วยความช่วยเหลือจากศูนย์ป้องกันร่วมที่ไพน์แกป ซึ่งค้นหาเป้าหมายโดยการสกัดสัญญาณวิทยุ ทำให้สหรัฐเสมือนเป็นโดรนโจมตีแบบดับเบิลแท็ป[15][16][17]

ในเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 2018 สำนักข่าวอัลญะซีเราะฮ์ รายงานว่ากลุ่มพันธมิตรที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย "ต่อสู้กับกบฏฮูษี [ในเยเมน] ได้ทำข้อตกลงลับกับอัลกออิดะฮ์ในเยเมน และทำการคัดเลือกกลุ่มนักสู้หลายร้อยคน ... บุคคลสำคัญในการทำข้อตกลงกล่าวว่าสหรัฐได้ตระหนักถึงข้อตกลงและรีรอการโจมตีด้วยโดรนกับกลุ่มติดอาวุธ ที่ก่อตั้งโดยอุซามะฮ์ บิน ลาดิน ในปี ค.ศ. 1988"[18][19][20]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Agence France-Presse (14 March 2017). "US military deploys attack drones to South Korea". Defence Talk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-10. สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
  2. "America at war: The countries where the US took or gave fire in 2018 - Business Insider".
  3. "The global targeted killings bandwagon: who's next after France?".
  4. "Why Drones Work: The Case for Washington's Weapon of Choice".
  5. "AS 2017: Warmate UAV with Ukrainian Warheads [PHOTOS] - Defence24.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-28.
  6. Baykar Technologies (17 December 2015). "17 Aralık 2015 – Tarihi Atış Testinden Kesitler". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-01. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18 – โดยทาง YouTube.
  7. Haber7. "Milli İHA'ya yerli füze takıldı!". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18.
  8. "Anti-drone technology to be test flown on UK base amid terror fears". 2017-03-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-07. สืบค้นเมื่อ 2017-05-09.
  9. Drone strikes by US may violate international law, says UN เก็บถาวร 2013-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Guardian. 18 October 2013.
  10. UN report calls for independent investigations of drone attacks เก็บถาวร 2018-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Guardian. 18 October 2013.
  11. "The Obama Administration's Drone-Strike Dissembling เก็บถาวร 2018-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". The Atlantic. 14 March 2016.
  12. "The Assassination Complex เก็บถาวร 2018-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". The Intercept. 15 October 2015.
  13. Lerner, Ben (Autumn 2015). "Drones and Targeted Killings: Ethics, Law, Politics". Parameters (Review) (ภาษาอังกฤษ): 118+. สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
  14. Vogel, Ryan J. (Winter 2010). "Drone warfare and the law of armed conflict". Denver Journal of International Law and Policy: 101+. สืบค้นเมื่อ 2018-05-08.
  15. Randle, Justin (2013-07-29). "Australia and drones: time for an honest and public debate | Justin Randle". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2019-08-18.
  16. Briefing, Peter Cronau for Background (2017-08-20). "Leaked documents reveal Pine Gap's role in the US fighting machine". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 2019-08-18.
  17. "Australia's role in drone strikes - connecting the dots". Foreign Policy Blogs. 2018-01-10. สืบค้นเมื่อ 2019-08-18.
  18. "Report: Saudi-UAE coalition 'cut deals' with al-Qaeda in Yemen". Al-Jazeera. 6 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-24. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18.
  19. "US allies, Al Qaeda battle rebels in Yemen". Fox News. 7 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-28. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18.
  20. "Allies cut deals with al Qaeda in Yemen to serve larger fight with Iran". San Francisco Chronicle. 6 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-15. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]