การล้อม

การล้อม (อังกฤษ: siege) เป็นการปิดล้อมทางทหารของเมือง หรือป้อมปราการ โดยมีเจตนาที่จะพิชิตโดยการพร่ากำลัง หรือการจู่โจมที่เตรียมไว้เป็นอย่างดี (การล้อมในภาษาอังกฤษคือ siege ซึ่งมาจากภาษาละติน: sedere, แปลตรงตัว: 'นั่ง'[1]) สงครามปิดล้อมเป็นรูปแบบหนึ่งของความขัดแย้งที่ต่อเนื่องและมีความรุนแรงต่ำ มีลักษณะเฉพาะโดยฝ่ายหนึ่งมีตำแหน่งที่แน่นหนา, อยู่กับที่ และตั้งรับ ดังนั้น โอกาสในการเจรจาระหว่างคู่ต่อสู้จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เนื่องจากความได้เปรียบในบริเวณใกล้เคียงและความผันผวนสามารถส่งเสริมให้มีการเจรจาต่อรอง ทั้งนี้ ศิลปะในการดำเนินและต่อต้านการล้อมเรียกว่าสงครามปิดล้อม, ซีจคราฟต์ (siegecraft) หรือโพลีออร์เซติกส์ (poliorcetics)
การล้อมเกิดขึ้นเมื่อผู้โจมตีพบเมืองหรือป้อมปราการที่ไม่สามารถเข้ายึดได้ง่ายจากการจู่โจมอย่างรวดเร็ว และไม่ยอมจำนน การล้อมเกี่ยวข้องกับการล้อมเป้าหมายเพื่อป้องกันการจัดหาเสบียงและการเสริมกำลังหรือหลบหนีของกองกำลัง (กลยุทธ์ที่เรียกว่า "อินเวสต์เมนต์"[2]) สิ่งนี้มักจะควบคู่ไปกับความพยายามที่จะลดป้อมปราการโดยใช้เครื่องจักรปิดล้อม, การบอมบาร์ดด้วยปืนใหญ่กองทหารปืนใหญ่, การขุด (เรียกอีกอย่างว่าการขุดสนามเพลาะ) หรือใช้การเสแสร้ง หรือการมีเล่ห์เพทุบายต่อฝ่ายตั้งรับทางอ้อม
ส่วนความล้มเหลวของผลการทหาร การล้อมสามารถตัดสินได้โดยความอดอยาก, ความกระหาย หรือโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งอาจทำให้ผู้โจมตีหรือผู้ต้านทานการรุกต้องทุกข์ทรมาน อย่างไรก็ตาม การล้อมรูปแบบนี้อาจใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของที่เก็บอาหารในตำแหน่งที่เสริมกำลังไว้
กองกำลังจู่โจมสามารถล้อมบริเวณที่ถูกปิดล้อม ซึ่งก็คือการสร้างแนวกำแพงดิน อันประกอบด้วยเชิงเทินและคูน้ำล้อมรอบ ในระหว่างกระบวนการสร้างแนวสนามเพลาะล้อม กองกำลังจู่โจมสามารถถูกกำหนดโดยกองกำลังอื่น ซึ่งเป็นพันธมิตรของสถานที่ที่ถูกปิดล้อม เนื่องจากต้องใช้เวลานานมากในการบังคับให้ยอมจำนน ส่วนวงแหวนป้องกันของป้อม ด้านนอกวงแหวนของป้อมที่สร้างแนวสนามเพลาะล้อม ที่เรียกว่าคอนทราวัลเลชัน บางครั้งก็ใช้เพื่อป้องกันผู้โจมตีจากภายนอกเช่นกัน
เมืองโบราณในตะวันออกกลางแสดงหลักฐานทางโบราณคดีของกำแพงเมืองที่มีป้อมปราการ ส่วนในช่วงยุครณรัฐของจีนโบราณ มีหลักฐานทั้งที่เป็นต้นฉบับและทางโบราณคดีของการล้อมที่ยืดเยื้อ ตลอดจนเครื่องปิดล้อมซึ่งใช้กับผู้พิทักษ์กำแพงเมือง นอกจากนี้ เครื่องปิดล้อมยังเป็นสิ่งที่ทำสืบต่อกันมาของกรีก-โรมัน ครั้นระหว่างสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสมัยใหม่ตอนต้น การทำสงครามปิดล้อมมีอิทธิพลเหนือการทำสงครามในทวีปยุโรป ส่วนเลโอนาร์โด ดา วินชี ได้มีชื่อเสียงจากการออกแบบป้อมสนามมากพอ ๆ กับงานศิลปะของเขา
โดยทั่วไปแล้ว การทัพในยุคกลางได้รับการออกแบบมาโดยมีการล้อมอย่างต่อเนื่อง ส่วนในยุคนโปเลียน การใช้ปืนใหญ่ที่มีพลังมากขึ้นทำให้ความหมายของป้อมสนามลดลง ครั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความสำคัญของการล้อมแบบคลาสสิกได้ลดลง ด้วยการถือกำเนิดของการสงครามเคลื่อนที่ ฐานที่มั่นที่มีป้อมปราการเพียงแห่งเดียวไม่ชี้ขาดอย่างที่เคยเป็นมาอีกต่อไป แม้ว่าการปิดล้อมแบบดั้งเดิมยังคงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยเหมือนเมื่อก่อนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรบ โดยหลักแล้วเป็นความง่ายในการส่งกำลังทำลายล้างจำนวนมากไปยังเป้าหมายอยู่กับที่ การล้อมสมัยใหม่มักเป็นผลมาจากสถานการณ์การจับกุมเชลยที่มีขนาดเล็กกว่า, กลุ่มติดอาวุธ หรือสถานการณ์การขัดขืนการจับกุมอย่างสุดขั้ว
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: การล้อม |
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ "Definition of SIEGE". www.merriam-webster.com.
- ↑ "Definition of INVEST". www.merriam-webster.com.
อ้างอิง[แก้]
- Alchon, Suzanne Austin (2003). A pest in the land: new world epidemics in a global perspective. University of New Mexico Press. p. 21. ISBN 0-8263-2871-7.
- Baldock, Thomas Stanford (1809). Cromwell as a Soldier. K. Paul, Trench, Trübner & Company. pp. 515–520.
- Beevor, Antony (2002). Berlin: The Downfall 1945. Viking-Penguin Books. ISBN 0-670-88695-5.
- Firth, C. H. (1902). Cromwell's Army: A History of the English Soldier During the Civil Wars, the Commonwealth and the Protectorate. Sussex: Methurn & Company. p. 29.
- Ebrey, Walthall, Palais (2006). East Asia: A Cultural, Social, and Political History. Boston: Houghton Mifflin Company.
- Fletcher, Banister; Cruickshank, Dan (1996). Sir Banister Fletcher's A History of Architecture (20th ed.). Architectural Press. p. 20. ISBN 0-7506-2267-9.
- Grousset, René (1970). The Empire of the Steppes: A History of Central Asia. Rutgers University Press. p. 362. ISBN 0-8135-1304-9.
- Hoskin, John, Carol Howland (2006). Vietnam. New Holland Publishers. p. 105. ISBN 978-1-84537-551-5.[ลิงก์เสีย]
- Stewart, William (1998). Dictionary of images and symbols in counselling (1st ed.). Jessica Kingsley. p. 105. ISBN 1-85302-351-5.
- Morocco, John (1984). Thunder from Above: Air War, 1941–1968. Boston: Boston Publishing Company.
- Needham, Joseph (1986). Science and Civilization in China. 4. Taipei: Caves Books Ltd.
- Needham, Joseph (1986). Science and Civilization in China. 5. Taiepi: Caves Books Ltd.
- Needham, Joseph (1986). Science and Civilization in China. 5. Taipei: Caves Books Ltd.
- Reynolds, Francis Joseph; Churchill, Allen Leon; Miller, Francis Trevelyan (1916). The story of the great war: history of the European War from official sources; complete historical records of events to date. P.F. Collier & Son. p. 406.
- Roland, Alex (1992). "Secrecy, Technology, and War: Greek Fire and the Defense of Byzantium, Technology and Culture". Technology and Culture. 33 (4): 655–679. doi:10.2307/3106585. JSTOR 3106585.
- Sellman, R. R. (1954). Castles and Fortresses. Methuen.
- Stearns, Peter N. (2001). The Encyclopedia of World History: ancient, medieval, and modern (6th ed.). Houghton Mifflin Books. p. 17. ISBN 0-395-65237-5.
- Symonds, Richard (1859). Long, Charles Edward (บ.ก.). Diary of the Marches of the Royal Army During the Great Civil War. Works of the Camden Society. 74. The Camden Society. p. 270.
- Townshend, Charles (2000). The Oxford History of Modern War. Oxford University Press. pp. 211, 212. ISBN 0-19-285373-2.
- Turnbull, Stephen R. (2002). Siege Weapons of the Far East. Oxford: Osprey Publishing Ltd.
- Wheelis, M. (2002). "Biological warfare at the 1346 siege of Caffa". Emerg Infect Dis. Center for Disease Control. 8 (9): 971–975. doi:10.3201/eid0809.010536. PMC 2732530. PMID 12194776.
- Windrow, Martin (2005). The Last Valley: Dien Bien Phu and the French defeat in Vietnam. London: Cassell.
อ่านเพิ่ม[แก้]
- Duffy, Christopher (1996) [1975]. Fire & Stone: The Science of Fortress Warfare (1660–1860) (2nd ed.). New York: Stackpole Books.
- Duffy, Christopher (1996). Siege Warfare: Fortress in the Early Modern World, 1494–1660. Routledge and Kegan Paul.
- Duffy, Christopher (1985). Siege Warfare, Volume II: The Fortress in the Age of Vauban and Frederick the Great. London: Routledge and Kegan Paul.
- Garlan, Yvon (1974). Recherches de poliorcétique grecque (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: De Boccard.
- Lynn, John A. (1999). The Wars of Louis XIV. Pearson. ISBN 0582056292.
- May, Timothy. (27 June 2004). "Mongol Arms". Explorations in Empire, Pre-Modern Imperialism Tutorial: the Mongols. University of Wisconsin-Madison. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 18 May 2008.
- Ostwald, Jamel (2007). Vauban Under Siege: Engineering Efficiency and Martial Vigor in the War of the Spanish Succession. History of Warfare. 41 (illustrated ed.). BRILL. ISBN 978-90-04-15489-6.
ประวัติศาสตร์นิพนธ์
- Bachrach, Bernard S (1994). "Medieval siege warfare: a reconnaissance". Journal of Military History. 58 (1): 119–133. doi:10.2307/2944182. JSTOR 2944182.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

- Native American Siege Warfare.
- Siege Kits
- Scenes of Siege Warfare
- Three ancient Egyptian Sieges: Megiddo, Dapur, Hermopolis
- The Siege Of The City Archived 30 กรกฎาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Biblical perspectives.
- Secrets of Lost Empires: Medieval Siege (PBS) Informative and interactive webpages about medieval siege tactics.