ลำดับชั้นการบังคับบัญชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลทหาร ถือเป็นตำแหน่งที่อยู่ล่างสุดของลำดับชั้นการบังคับบัญชา

ลำดับชั้นการบังคับบัญชา (อังกฤษ: command hierarchy) คือกลุ่มบุคคลที่ทำตามคำสั่งจากอำนาจหน้าที่ของบุคคลอื่นภายในกลุ่ม[1]

สายการบังคับบัญชาทางทหาร[แก้]

ยศทหารที่พบทั่วไป
ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ
นายทหารชั้นสัญญาบัตร
จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก
พลโท พลเรือโท พลอากาศโท
พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
พลจัตวา พลเรือจัตวา พลอากาศจัตวา
พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก
พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท
พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี
ร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก
ร้อยโท เรือโท เรืออากาศโท
ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี
นายทหารชั้นประทวน
จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก
จ่าสิบโท พันจ่าโท พันจ่าอากาศโท
จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี
สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก
สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท
สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี
พลทหาร พลทหารเรือ พลทหารอากาศ

ในบริบททางการทหาร สายการบังคับบัญชาคือสายของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการสั่งการภายในหน่วยทหารและระหว่างหน่วยต่าง ๆ สรุปโดยง่ายคือสายการบังคับบัญชาคือการถ่ายทอดคำสั่งของผู้นำโดยใช้การสั่งการและการดำเนินการ ซึ่งคำสั่งจะถูกส่งลงไปตามสายการบังคับบัญชา จากผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบ เช่น นายทหารชั้นสัญญาบัตร ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาที่อยู่ในระดับล่างกว่าที่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นหรือถ่ายทอดคำสั่งต่อลงไปตามสายการบังคับบัญชา จนกว่าจะถึงผู้รับคำสั่งและปฏิบัติตามข้อสั่งการนั้น "การบังคับบัญชาโดยอาศัยอำนาจอำนาจหน้าที่ของนายทหารและการมอบหมายพิเศษของสมาชิกกองทัพซึ่งมียศที่สามารถบังคับบัญชาได้"[2]

โดยปกติ บุคลากรทางการทหารจะออกคำสั่งเฉพาะกับผู้ที่อยู่ต่ำกว่าในสายการบังคับบัญชา และรับคำสั่งจากผู้ที่อยู่เหนือสายการบังคับบัญชาโดยตรงเท่านั้น ทหารที่มีปัญหาในการปฏิบัติงานหรือไม่ทำตามคำสั่งอาจถูกร้องเรียนโดยตรงไปยังผู้บังคับบัญชาที่อยู่เหนือกว่าซึ่งจะมีบทลงโทษทางวินัยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามสายการบังคับบัญชา ในทำนองเดียวกัน นายทหารมักถูกคาดหวังว่าจะออกคำสั่งแค่กับผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเท่านั้น แม้ว่าในความเป็นจริงจะมีการออกคำสั่งกับทหารนายอื่นซึ่งมียศที่ต่ำกว่าแต่ไม่ได้อยู่ในสายการบังคับบัญชาของตนก็ตาม

แนวคิดของสายการบังคับบัญชายังบอกเป็นนัยว่าแค่การมีตำแหน่งที่สูงกว่าเพียงอย่างเดียวไม่ได้ให้สิทธิ์ในการออกคำสั่งต่อใครก็ตามที่มีตำแหน่งที่ต่ำกว่า เช่น นายทหารของหน่วย "A" ไม่สามารถสั่งการสมาชิกของหน่วย "B" ได้โดยตรง นอกจากเขาจะอยู่ร่วมกันกับนายทหารของหน่วย "B" หากต้องการให้สมาชิกของหน่วยนั้นทำตามคำสั่ง หมายความว่าสายการบังคับบัญชาคือการให้สมาชิกแต่ละคนรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาของตน และสามารถออกคำสั่งไปยังกลุ่มบุคคลที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเท่านั้น

หากนายทหารของหน่วย "A" ออกคำสั่งโดยตรงกับสมาชิกของหน่วย "B" ไม่ใช่สิ่งที่ปกติมากนัก (เช่น มีพฤติกรรมผิดปกติ หรือในสถานการณ์พิเศษ เช่น ไม่มีเวลาหารือกับนายทหารในหน่วยบัญชาการของหน่วย "B") ในฐานะนายทหารของหน่วย "A" จะถูกมองว่าเขาไปทำลายอำนาจสั่งการของนายทหารหน่วย "B" ทั้งนี้รูปแบบการสั่งการอาจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้นหรือขั้นตอนมาตรฐานการปฏิบัติการของหน่วยทางทหารนั้น ๆ ซึ่งสมาชิกที่ได้รับคำสั่งการอาจจะเลือกที่จะปฏิบัติตามคำสั่งนั้น หรือให้คำแนะนำว่าควรหารือกับสายการบังคับบัญชาหลักของตน ซึ่งในสถานการณ์นี้ คือนายทหารของหน่วย "B" โดยในสถานการณ์ที่มีการปฏิเสธการปฏิบัติตามคำสั่งของสายการบังคับบัญชา จะถือว่าเป็นการขัดคำสั่ง (insubordination) โดยมีข้อยกเว้นเพียงข้อเดียวคือเมื่อคำสั่งนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย (เช่น หากบุคคลนั้นทำตามคำสั่งจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย) (ดูเพิ่มที่คำสั่งผู้บังคับบัญชา)

นอกจากนี้ ในการรบ นายทหารในแนวหน้าจะอยู่ในสายการบังคับบัญชา แต่นายทหารในสาขาเฉพาะทาง (เช่น การแพทย์ กฎหมาย พลาธิการ) จะไม่อยู่ในสายการบังคับบัญชา เว้นแต่จะอยู่ในความเชี่ยวชาญเฉพาะของตน เช่น นายทหารแพทย์ในกองพันทหารราบจะต้องรับผิดชอบทหารพยาบาลในกองพันนั้น แต่จะไม่มีสิทธิในการสั่งการทหารอื่น ๆ ในกองพันหรือหน่วยรอง

คำนี้ยังถูกใช้งานในบริบทของการจัดการพลเรือนที่อธิบายโครงสร้างอำนาจหน้าที่แบบลำดับชั้น ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวอยู่ภายในแผนกดับเพลิง กรมตำรวจ และองค์การอื่น ๆ ที่มีโครงสร้างอำนาจหรือการบัญชาการกำลังกึ่งทหาร

สังคมวิทยา[แก้]

ในสังคมวิทยา ทุนทางสังคมถูกมองว่าเป็นการระดมทุนเพื่อตอบสนองต่อคำสั่งตามลำดับขั้นที่นำไปสู่วลีว่า "การควบคุมบังคับบัญชา"[3]

คุณสมบัติ[แก้]

โดยไม่คำนึงถึงระดับของการควบคุมหรือผลจากการควบคุม ไม่ว่าระบบลำดับชั้นจะได้รับการพิสูจน์และให้เหตุผลว่าดีอย่างไร ลักษณะหลายข้อของลำดับชั้นการบังคับบัญชามีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน:

  • ตำแหน่ง – โดยเฉพาะยศทหาร – "ใครเหนือกว่าใคร" ในโครงสร้างอำนาจ
  • เอกภาพในการบังคับบัญชา - สมาชิกแต่ละคนในลำดับชั้นจะมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวเท่านั้น ป้องกันโอกาสที่จะมีคำสั่งที่ขัดแย้งกัน
  • ภาระรับผิดชอบที่เข้มงวด – ผู้ที่ออกคำสั่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา ไม่ใช่ผู้ที่ปฏิบัติตาม (ยกเว้นคำสั่งที่ผิดกฎหมาย)
  • กฎการตอบรับที่เข้มงวด – ข้อร้องเรียนจะถูกส่งขึ้นไปตามลำดับชั้นไปยังผู้ที่มีอำนาจในการจัดการกับข้อร้องเรียน ไม่ใช่ลงไปในทิศทางของผู้ที่ไม่มีอำนาจ
  • กฎที่ละเอียดสำหรับการตัดสินใจ – เพื่อดูว่าใช้เกณฑ์อะไรและเมื่อใด
  • ภาษาและคำศัพท์ที่เป็นมาตรฐาน
  • จริยธรรมและความเชื่อหลักบางประการที่เหมือนกัน มักจะบังคับใช้ตั้งแต่เริ่มการสรรหาและการคัดกรองผู้สมัคร

ปัญหา[แก้]

อย่างไรก็ตาม คนที่มีมุมมองคล้ายคลึงกันมักจะมีอคติเชิงระบบที่คล้ายกัน เนื่องจากพวกเขามาจากวัฒนธรรมเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหา เช่น การคิดแบบติดกลุ่มหรือความเต็มใจที่จะยอมรับมาตรฐานเดียวหรือหลักฐานภายในกลุ่มของตน แต่ต้องการหลักฐานที่สูงกว่าจากภายนอก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ

ส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ วิทยาการบริหารจัดการยุคใหม่จำนวนมากพยายามมุ่งเน้นไปที่การลดการใช้งานลำดับชั้นการบังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการไหลของข้อมูล เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนในการสื่อสารนั้นต่ำ และต้นทุนของข้อผิดพลาดจากการบริหารจัดการนั้นสูงขึ้น นอกจากนี้ยังง่ายกว่าที่จะเปลี่ยนผู้จัดการในการบริหารจัดการ ทำให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบได้มากขึ้นและทำให้เกิดความเห็นพ้องที่เป็นเอกฉันท์มากยิ่งขึ้น

ตำแหน่งการควบคุมบังคับบัญชาที่แผร่หลายในหน่วยทางทหาร มีการวางลักษณะตั้งแต่ทั่วไปจากแบบลำดับขั้นไปจนถึงเครือข่ายที่อนุญาตให้ใช้ลำดับขั้นเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม และเครือข่ายแบบไร้ลำดับขั้นเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยรวมไปถึงแนวคิดของ ข้อตกลงภารกิจ ในการสนับสนุนเจตนารมแบบ "สอดแทรก" และการถ่ายทอดเจตจำนงแบบ "บนลงล่าง"

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "What Is a Chain of Command? (Definition and Explanation)". Indeed Career Guide (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-18.
  2. "Army Regulation 600-20 20AUG86" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-01-17. สืบค้นเมื่อ 2018-01-17.
  3. usacac.army.mil

แม่แบบ:Military units