ข้ามไปเนื้อหา

กองกำลังเฉพาะกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กองกำลังเฉพาะกิจ หรือ หน่วยเฉพาะกิจ[1] (อังกฤษ: task force: TF) คือหน่วยหรือรูปขบวนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำงานในภารกิจหรือกิจกรรมที่กำหนดไว้เพียงภารกิจเดียว เดิมทีกองทัพเรือสหรัฐเป็นผู้เสนอคำนี้[2] แต่ปัจจุบันคำนี้เริ่มแพร่หลายและกลายเป็นส่วนหนึ่งของคำศัพท์ของเนโท องค์การที่ไม่ใช่ทางทหารจำนวนมากในปัจจุบันสร้าง "กองกำลังเฉพาะกิจ" หรือกลุ่มงานสำหรับกิจกรรมชั่วคราวที่อาจเคยดำเนินการโดยคณะกรรมการเฉพาะกิจ (ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด) ในบริบทที่ไม่ใช่ทางทหาร กลุ่มงาน (working group) บางครั้งถูกเรียกว่ากองกำลังเฉพาะกิจ

กองทัพเรือ

[แก้]

แนวคิดเรื่องกองกำลังเฉพาะกิจทางเรือ หรือเรียกว่ากองเรือเฉพาะกิจ[3]นั้นมีมานานพอ ๆ กับกองทัพเรือ ก่อนหน้านั้น การประกอบกำลังทางเรือเพื่อปฏิบัติการทางเรือจะเรียกว่า กองเรือนาวี หมู่เรือ หรือในระดับเล็กกว่าจะเรียกว่า กองเรือ และหมวดเรือ

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เรือจะถูกแบ่งออกเป็นกองต่าง ๆ ตาม "หมู่เรือ" ของราชนาวีในแนวรบ โดยกองเรือหนึ่งจะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของจอมพลเรือ กองเรือหนึ่งจะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือโท และกองเรือหนึ่งจะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือตรี แต่ละคนจะใช้ธงคำสั่งที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้จึงใช้คำว่า เรือธง (flagship) และ นายทหารชั้นนายพล (flag officer) บังคับบัญชาที่แตกต่างกัน ชื่อ "โท" (Vice ลำดับที่สอง) และ "ตรี" (Rear ท้าย) อาจมาจากตำแหน่งเดินเรือภายในแนวรบในขณะทำการรบ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรือจะถูกแบ่งออกเป็นกองเรือที่มีหมายเลข ซึ่งได้รับมอบหมายให้กับกองเรือที่มีชื่อ (เช่น ทัพเรือเอเชีย) และทัพเรือที่มีหมายเลขในภายหลัง

กองทัพเรือสหรัฐ

[แก้]

ในกองทัพเรือสหรัฐ กองเรือเฉพาะกิจมักเป็นองค์กรชั่วคราวที่ประกอบด้วยเรือ เครื่องบิน เรือดำน้ำ กองกำลังภาคพื้นดิน หรือหน่วยบริการชายฝั่ง ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจบางอย่าง โดยเน้นที่ผู้บัญชาการแต่ละคนของหน่วย และมักมีการอ้างถึง "ผู้บัญชาการ กองเรือเฉพาะกิจ" ("Commander, Task Force: CTF")

ประวัติ

[แก้]

ในกองทัพเรือสหรัฐ กองเรือเฉพาะกิจซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทัพเรือ (Fleet) ที่มีการกำหนดหมายเลขได้รับการกำหนดหมายเลขสองหลักมาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2486 เมื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดทัพเรือสหรัฐ พลเรือเอก เออร์เนสต์ คิง มอบหมายทัพเรือที่มีเลขคี่ให้กับฝั่งแปซิฟิก และทัพเรือเลขคู่ในฝั่งในมหาสมุทรแอตแลนติก

ทัพเรือที่ 2 ได้รับมอบหมายให้ดูแลทัพเรือแอตแลนติก (Atlantic Fleet) ส่วนทัพเรือที่ 4 (Fourth Fleet) ได้รับมอบหมายให้ดูแลกำลังแอตแลนติกใต้ (South Atlantic Force) ทัพเรือที่ 8 (Eighth Fleet) ได้รับมอบหมายให้ดูแลทัพเรือสหรัฐน่านน้ำแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ (Naval Forces, Northwest African waters) และทัพเรือที่ 12 (Twelfth Fleet) ได้รับมอบหมายให้ดูแลทัพเรือสหรัฐภาคยุโรป (Naval Forces, Europe)[4]

กองทัพเรือสหรัฐใช้กองเรือเฉพาะกิจแบบมีหมายเลขในลักษณะเดียวกันนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 กระทรวงกลาโหมสหรัฐมักจัดตั้งกองเรือเฉพาะกิจร่วม หากกองกำลังมีหน่วยจากหน่วยงานอื่น กองเรือเฉพาะกิจร่วมที่ 1 เป็นกองกำลังสำหรับทดสอบระเบิดปรมาณูในช่วงปฏิบัติการครอสโร้ดส์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง[5]

ในแง่ของกองทัพเรือ คณะกรรมการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ร่วมระหว่างประเทศ (ออสเตรเลีย, สหรัฐ, สหราชอาณาจักร, แคนาดา และนิวซีแลนด์) กำหนดให้ระบบปัจจุบันโดยจัดสรรหมายเลขตั้งแต่ 1 ถึง 834[6] อยู่ภายใต้เอกสารเผยแพร่การสื่อสารของฝ่ายสัมพันธมิตรหมายเลข 113 (ACP 113)[6] เช่น หมู่เรืออิลัสเทรียส (Illustrious battle group) ของกองทัพเรืออังกฤษในปี พ.ศ. 2543 สำหรับการฝึกซ้อม Linked Seas ซึ่งต่อมาได้ถูกส่งไปปฏิบัติการ Palliser คือกลุ่มเฉพาะกิจ 342.1[7] กองทัพเรือฝรั่งเศสได้รับการจัดสรรหมายเลขกองเรือเฉพาะกิจที่ 470–474 และกองเรือเฉพาะกิจที่ 473 ถูกใช้ล่าสุดสำหรับกองเรือเฉพาะกิจ Enduring Freedom ที่สร้างขึ้นโดยมีเรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle (R91) ของฝรั่งเศสเป็นแกนหลัก กองเรือเฉพาะกิจ 142 คือหน่วยทดสอบและประเมินผลการปฏิบัติการของกองทัพเรือสหรัฐ

การกำหนดชื่อ

[แก้]

หลักแรกของการกำหนดกองเรือเฉพาะกิจ คือตัวเลขของทัพเรือหลัก ในขณะที่หลักที่สองจะเป็นแบบลำดับ กองเรือเฉพาะกิจอาจประกอบด้วยกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มประกอบด้วยหน่วย กลุ่มเฉพาะกิจ (task group) ภายในหน่วย จะมีหมายเลขกำกับด้วยหลักเพิ่มเติมที่คั่นด้วยจุดทศนิยมจากหมายเลขหลังจาอักษร TF หน่วยเฉพาะกิจ (task unit) ภายในกลุ่มจะมีหมายเลขกำกับด้วยจุดทศนิยมเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น "หน่วยเฉพาะกิจที่ 3 ของกลุ่มเฉพาะกิจที่ 5 ของกองเรือเฉพาะกิจที่ 2 ของทัพเรือที่ 6 จะมีหมายเลขกำกับด้วย 62.5.3" ระบบนี้ยังขยายไปถึงส่วนแยกเฉพาะกิจ ซึ่งก็คือเรือแต่ละลำในกลุ่มเฉพาะกิจ การจัดเรียงนี้มักจะย่อลง ดังนั้นจึงมักพบการอ้างอิงเช่น TF 11[8] กองเรือเฉพาะกิจบางครั้งมีชื่อเล่นว่า "Taffy" เช่น "Taffy 3" ของกองเรือเฉพาะกิจ 77 ซึ่งอย่างเป็นทางการคือกองเรือเฉพาะกิจ 77.4.3 ไม่มีข้อกำหนดสำหรับความเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละช่วงเวลา (เช่น ทัพเรือที่ 7 ของสหรัฐอเมริกาใช้ TF 76 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และนอกชายฝั่งเวียดนาม และยังคงใช้หมายเลข TF 70–79 ตลอดศตวรรษที่ 20 ที่เหลือ และจนถึงปี พ.ศ. 2555)

รายชื่อ
  • กองเรือเฉพาะกิจ 1 ในทัพเรือเรือแอตแลนติกของสหรัฐ ใช้เป็นกองเรือเฉพาะกิจร่วม 1 ของกองทัพบกและกองทัพเรือในปฏิบัติการครอสโรดส์ และจากนั้นเป็นกองเรือเฉพาะกิจ 1 ในปฏิบัติการซีออบิท (กองทัพเรือสหรัฐเท่านั้น)
  • กองเรือเฉพาะกิจ 2–10 ในทัพเรือแอตแลนติกสหรัฐ
  • กองเรือเฉพาะกิจ 11
  • กองเรือเฉพาะกิจ 16
  • กองเรือเฉพาะกิจ 17
  • กองเรือเฉพาะกิจ 18
  • กองเรือเฉพาะกิจ 19, การเสริมกำลังไอซ์แลนด์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2484
  • กองเรือเฉพาะกิจ 31
  • กองเรือเฉพาะกิจ 34
  • กองเรือเฉพาะกิจ 37, หมู่เรือบรรทุกเครื่องบินของทัพเรือแปซิฟิกสหราชอาณาจักร ซึ่งเปลี่ยนชื่อจากกองเรือเฉพาะกิจ 57 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2488 ปฏิบัติภารกิจในทะเลจีนใต้ หมู่เกาะริวกิว และทะเลในเซโตะระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
  • กองเรือเฉพาะกิจ 38, หมู่เรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งประจำการอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
  • กองเรือเฉพาะกิจ 44, กองกำลังผสมกองทัพเรือสหรัฐและกองทัพเรือออสเตรเลีย ก่อตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่แปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ (กองบัญชาการ) หลังจากการยุบกองเรือ ANZAC
  • กองเรือเฉพาะกิจ 57, หมู่เรือบรรทุกเครื่องบินของทัพเรือแปซิฟิกสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 ตามรายละเอียดข้างต้น
  • กองเรือเฉพาะกิจ 58, หมู่เรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งประจำการอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
  • กองเรือเฉพาะกิจ 61
  • กองเรือเฉพาะกิจ 77—รวมถึง "ทัฟฟี่ 3" หรือหน่วยเฉพาะกิจ 77.4.3 ที่ได้รับชื่อเสียงเป็นอย่างมากระหว่างการรบนอกซามาร์ในยุทธนาวีอ่าวเลย์เต กองเรือเฉพาะกิจ 77 ยังคงมีอยู่และถูกส่งไปประจำการที่ทะเลญี่ปุ่นในช่วงสงครามเกาหลี และที่อ่าวตังเกี๋ยในช่วงสงครามเวียดนาม
  • กองเรือเฉพาะกิจ 80
  • กองเรือเฉพาะกิจ 88
  • กองเรือเฉพาะกิจ 129, ระหว่างการโจมตีเชอร์บูร์กในปี พ.ศ. 2487

เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ

[แก้]

สามารถดูกองกำลังเฉพาะกิจภาคพื้นดินทางอากาศนาวิกโยธิน (Marine Air Ground Task Force: MAGTF) ​​เพื่อดูคำอธิบายเกี่ยวกับหน่วยผสมมาตรฐานติดอาวุธสามหน่วยงานที่กองทัพเรือสหรัฐว่าจ้าง

ราชนาวี

[แก้]

ก่อนหน้านี้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ราชนาวีหรือกองทัพเรือสหราชอาณาจักรได้ออกแบบระบบกองกำลังเป็นของตัวเองแล้ว โดยส่วนใหญ่จะกำหนดตัวอักษรและหมายเลขให้กับกองกำลังเฉพาะกิจบางส่วน ดังรายการด้านล่าง

กองกำลังเฉพาะกิจตามตัวอักษร

[แก้]
  • กองกำลังเอ (Force A)

เดิมประจำอยู่ที่มอลตา เข้าร่วมในยุทธนาวีที่คาลาเบรีย[9] ในปี พ.ศ. 2483 ได้ย้ายไปยังตรินโคมาลี และเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังเคลื่อนที่เร็วของกองเรือตะวันออกในระหว่างการโจมตีมหาสมุทรอินเดียเมื่อเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2485

  • กองกำลังบี (Force B)

เดิมประจำอยู่ที่มอลตา เข้าร่วมในยุทธนาวีที่คาลาเบรียเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 เข้าร่วมในยุทธนาวีที่แหลมสปาร์ติเวนโต เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 เข้าร่วมในยุทธนาวีครั้งแรกที่เมืองเซิร์ต เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จากนั้นย้ายไปที่ตรินโคมาลีในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2485 โดยเป็นส่วนประกอบ (กองกำลังช้า) ของทัพเรือเรือตะวันออกในระหว่างการโจมตีในมหาสมุทรอินเดียระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2485

  • กองกำลังเอช (Force H)

ก่อตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มล่าเฉพาะกิจ (hunting task group) เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2482 เพื่อนำไปสู่ยุทธการที่ริเวอร์เพลต เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2482 และเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เรืออเมริกาใต้ หลังจากนั้นจึงประจำการที่ยิบรอลตาร์ เข้าร่วมในปฏิบัติการแคทาพัลต์ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 เข้าร่วมในปฏิบัติการไรนือบุงระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2484

  • กองกำลังเค (Force K)

ส่วนหนึ่งของกลุ่มล่าเฉพาะกิจ (hunting task group) จำนวนหนึ่งในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุทธนาวีริโอเดลาปลาตา ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2482 ฐานที่ฟรีทาวน์ และต่อมาจึงย้ายไปที่มอลตา เข้าร่วมในการรบที่ขบวนเรือทาริโก ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2484 เข้าร่วมในการรบที่เมืองเซอร์เตครั้งแรก ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จากนั้นจึงย้ายไปที่ฟรีทาวน์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484

  • กองกำลังแซด (Force Z)

ประจำการอยู่ที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการทำลายเรือรบหลัก 2 ลำในเหตุการณ์การจมของเรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์และรีพัลส์

กองกำลังเฉพาะกิจตามหมายเลข

[แก้]
  • กองกำลัง 1 (Force 1)

ก่อตั้งขึ้นเพื่อรับมือกับ Tirpitz Sortie เพื่อต่อต้านขบวน PQ 12 และ QP8 ระหว่างวันที่ 6–13 มีนาคม พ.ศ. 2485

  • กองกำลัง 62 (Force 62)

ก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 และมีส่วนร่วมในการยุทธนาวีที่ปีนัง - ยุทธนาวีช่องแคบมะละกา[10]

  • กองกำลังเฉพาะกิจ 57 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกองกำลังเฉพาะกิจ 37 (ชื่อที่กองทัพเรือสหรัฐกำหนดให้กับหมู่เรือบรรทุกเครื่องบินของกองเรือแปซิฟิกสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2488)[11]

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]

ในระหว่างปฏิบัติการคอร์ปอเรตในสงครามฟอล์กแลนด์ในปี พ.ศ. 2525 กองกำลังของกองทัพเรืออังกฤษได้รวมตัวกันเป็นกองกำลังเฉพาะกิจ 317 ซึ่งมักเรียกกันทั่วไปว่า "กองกำลังเฉพาะกิจ" (The Task Force) เพื่อให้บรรลุถึงอำนาจสูงสุดในทะเลและทางอากาศในเขตห้ามเข้าโดยสิ้นเชิงของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ก่อนที่กองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบกจะมาถึง[12]

กองทัพเรือฝรั่งเศส

[แก้]

กองทัพเรือฝรั่งเศสใช้ชื่อกองกำลังเฉพาะกิจ 473 เพื่อกำหนดให้กับกองกำลังที่ออกไปในทะเล กองกำลังเฉพาะกิจนี้อาจประกอบด้วยหมู่เรือบรรทุกเครื่องบินที่ประกบไปกับเรือบรรทุกเครื่องบินชาร์ล เดอ โกล หรืออาจประกอบด้วยหมู่สะเทินน้ำสะเทินบกที่ประกบกับเรือยกพลขึ้นบกจู่โจมชั้นมิสทราล[13]

อื่น ๆ

[แก้]

ในอาร์เจนตินา หน่วยเฉพาะกิจกองทัพเรือในกลุ่มเฉพาะกิจ (Grupos de Tareas) G.T.3.3 มีหน้าที่รับผิดชอบในการบังคับบุคคลให้สูญหาย การทรมาน และการประหารชีวิตพลเรือนชาวอาร์เจนตินาโดยผิดกฎหมายนับพันกรณี ซึ่งหลายคนถูกคุมขังอยู่ในโรงเรียนช่างกลระดับสูงของศูนย์กักขังกองทัพเรือในช่วงเผด็จการทหารในปี พ.ศ. 2519–2526[14]

ในช่วงสงครามฟอล์กแลนด์ในปี พ.ศ. 2525 กองทัพเรืออาร์เจนตินาได้จัดตั้ง Grupos de Tareas (กลุ่มงาน) ขนาดเล็กกว่าสามกลุ่มสำหรับการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านกองทัพเรืออังกฤษ

กองทัพบก

[แก้]

ในกองทัพบกสหรัฐ กองกำลังเฉพาะกิจคือหน่วยเฉพาะกิจระดับกองพัน (โดยปกติแม้จะมีขนาดแตกต่างกัน) ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวและเป็นส่วนแยกที่เล็กกว่าของหน่วยอื่น ๆ หน่วยระดับกองร้อยที่มีหน่วยทหารราบยานเกราะหรือยานเกราะติดมาด้วยเรียกว่าชุดกองร้อย (company team) หน่วยที่คล้ายกันในระดับกองพลน้อยเรียกว่ากองพลน้อยชุดรบ (brigade combat team: BCT) และยังมีกรมผสม (regimental combat team: RCT) ที่คล้ายคลึงกันด้วย

ในกองทัพบกสหราชอาณาจักรและกองทัพของประเทศเครือจักรภพอื่น ๆ หน่วยดังกล่าวเรียกโดยทั่วไปว่ากลุ่มชุดรบ

กองกำลังเฉพาะกิจออสเตรเลียที่ 1 (1st Australian Task Force: 1 ATF) เป็นรูปขบวนระดับกองพลน้อยทำหน้าที่บัญชาการหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ที่ประจำการในเวียดนามใต้ในช่วงปี พ.ศ. 2509 ถึง พ.ศ. 2515[15] ไม่นานมานี้ กองกำลังเฉพาะกิจออสเตรเลียได้รับมอบหมายให้ครอบคลุมถึงส่วนสนับสนุนชั่วคราว เช่น กองกำลังระดับกองพันที่ปฏิบัติการในจังหวัดอูโรซกัน ประเทศอัฟกานิสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2556[16] และกองกำลังเฉพาะกิจตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉินนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี[17]

รัฐบาล

[แก้]

ในหน่วยงานของรัฐหรือภาคธุรกิจ คณะทำงานเฉพาะกิจ[18]เป็นองค์กรชั่วคราวที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะอย่างหนึ่ง ถือเป็นคณะกรรมการเฉพาะกิจ (ad hoc committee) ที่เป็นทางการมากกว่า

คณะทำงานเฉพาะกิจ คือคณะกรรมการพิเศษ (special committee) ซึ่งโดยปกติประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ โดยจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาเฉพาะด้าน คณะทำงานเฉพาะกิจมักจะดำเนินการตรวจสอบบางประเภทเพื่อประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน จากนั้นจึงจัดทำรายการปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และประเมินว่าปัญหาใดควรได้รับการแก้ไขก่อน และปัญหาใดที่สามารถแก้ไขได้จริง คณะทำงานเฉพาะกิจจะจัดทำชุดแนวทางแก้ไขปัญหาและเลือกแนวทางแก้ไข "ที่ดีที่สุด" สำหรับแต่ละปัญหาตามที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยมาตรฐานชุดหนึ่ง ตัวอย่างเช่น คณะทำงานเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดการค่าใช้จ่ายของรัฐบาลที่มากเกินไป อาจพิจารณาแนวทางแก้ไข "ที่ดีที่สุด" ว่าแนวทางใด เป็นแนวทางที่ประหยัดเงินได้มากที่สุด โดยปกติ คณะทำงานเฉพาะกิจจะนำเสนอผลการค้นพบและแนวทางแก้ไขที่เสนอต่อสถาบันที่ร้องขอให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ จากนั้นสถาบันจะดำเนินการตามคำแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจนั้น ๆ

ภาคธุรกิจ

[แก้]

ในภาคธุรกิจ คณะทำงานเฉพาะกิจ[18]จะมีจุดเริ่มต้นขึ้นในลักษณะเดียวกับสถานการณ์ทางทหาร เพื่อจัดตั้งกลุ่มบุคคลเฉพาะกิจที่มีจุดประสงค์ไปที่หัวข้อเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดการ การแก้ไข หรือต้องการผลลัพธ์อย่างเร่งด่วน[19] คณะทำงานเฉพาะกิจในการจัดการประเด็นเฉพาะด้านนั้นพบได้ทั่วไป[20] การศึกษาของนาซามักจะประกอบด้วยข้อมูลจากคณะทำงานเฉพาะกิจต่าง ๆ[21]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พันธเศรษฐ, สุรศักดิ์; พันธเศรษฐ, นันทนา (2540). คู่มือศัพท์ และ คำย่อทางทหาร (PDF). ISBN 9747517701.
  2. Robinson, Colin D. (January 2020). "The U.S. Navy's task forces: 1–199". Defence and Security Analysis. 36 (1): 109–110. doi:10.1080/14751798.2020.1712028. S2CID 213678034.
  3. "พลเรือตรี ปกรณ์ วานิช รับมอบการบังคับบัญชา เป็น ผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจผสมที่ 151 (Combined Task Force 151 (CTF 151)". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  4. "Chapter 4: Fleet Administration". iBiblio.
  5. Nichols, K. D. (1987). The Road to Trinity. New York: Morrow. ISBN 068806910X.
  6. 6.0 6.1 Combined Communication Electronics Board (September 2004). "Annex A: Task Force Allocations" (PDF). ACP 113 (AF) Call Sign Book for Ships. Joint Chiefs of Staff. pp. A-1–A-2 (197–198). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 28, 2008. สืบค้นเมื่อ 12 October 2010.
  7. Operations in Sierra Leone, August 9, 2000, Jane's Defence Weekly.
  8. "Group". GlobalSecurity.org. Retrieved 2009-08-30.
  9. Rohwer, J.; Masters, G. Hümmelchen. (1974). Chronology of the War at sea, 1939-1945. แปลโดย Derek (from the German) (English ed.). New York: Arco. ISBN 0668033088.
  10. Mountbatten, John Winton ; with a foreword by Earl (1978). Sink the Haguro! : the last destroyer action of the Second World War. London: Seeley, Service. p. 28. ISBN 0854221522.
  11. Hobbs, David (2011). The British Pacific Fleet: the Royal Navy's most powerful strike force. Annapolis, MD: Naval Institute Press. ISBN 978-1591140443.
  12. "British Task Force - Falklands War 1982". Naval History. 31 May 2013.
  13. https://www.defense.gouv.fr/actualites/operations/libye-qu-est-ce-que-la-task-force-473 [ลิงก์เสีย]
  14. "Declaración de Jorge Enrique Perren ante el juez Bonadio" [Testimony of Jorge Enrique Perren before judge Bonadio]. Derechos.org (ภาษาสเปน). 30 August 2001. สืบค้นเมื่อ 20 January 2016.
  15. Horner, David, บ.ก. (2008). Duty First: A History of the Royal Australian Regiment (Second ed.). Crows Nest, New South Wales: Allen & Unwin. p. 177. ISBN 9781741753745.
  16. Brangwin, Nicole; Rann, Anne (16 July 2010). "Australia's military involvement in Afghanistan since 2001: a chronology". Parliament of Australia. สืบค้นเมื่อ 31 December 2016.
  17. "Operation OUTREACH". Global Operations. Department of Defence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2010.
  18. 18.0 18.1 "คำศัพท์ task force แปลว่าอะไร?". Longdo Dict.
  19. Bortal, Karim (2016), Bortal, Karim (บ.ก.), "Task Force", Task Force Management: Leitfaden für Manager (ภาษาเยอรมัน), Berlin, Heidelberg: Springer, pp. 1–34, doi:10.1007/978-3-662-46728-2_1, ISBN 978-3-662-46728-2
  20. "Quality Management | PMI". www.pmi.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-17.
  21. Hoffpauir, Daniel (2015-04-30). "NASA Lessons Learned". NASA. สืบค้นเมื่อ 2020-07-17.

บรรณานุกรม

[แก้]