ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดคังว็อน (ประเทศเกาหลีใต้)

พิกัด: 37°30′N 128°15′E / 37.500°N 128.250°E / 37.500; 128.250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดปกครองตนเองพิเศษคังว็อน

강원특별자치도
การถอดเสียงภาษาเกาหลี
 • ฮันกึล
 • ฮันจา
 • แมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์KangwŏnT'ŭkpyŏl Chach'ido
 • อักษรโรมันปรับปรุงGangwon Teukbyeoljachi-do
ธงของจังหวัดปกครองตนเองพิเศษคังว็อน
ธง
โลโกอย่างเป็นทางการของจังหวัดปกครองตนเองพิเศษคังว็อน
สัญลักษณ์
ที่ตั้งของจังหวัดปกครองตนเองพิเศษคังว็อน
พิกัด: 37°30′N 128°15′E / 37.500°N 128.250°E / 37.500; 128.250
ประเทศเกาหลีใต้
ภูมิภาคควันดง
(ย็องซอ: คังว็อนตะวันตก; ย็องดง: คังว็อนตะวันออก)
เมืองหลวงชุนช็อน
เขตการปกครองย่อย7 นคร, 11 อำเภอ
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการชเว มุน-ซุน (พรรคประชาธิปไตย)
พื้นที่
 • ทั้งหมด16,875 ตร.กม. (6,515 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (เมษายน 2016[2])
 • ทั้งหมด1,564,615[1] คน
 • ความหนาแน่น90 คน/ตร.กม. (200 คน/ตร.ไมล์)
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ดอกไม้ดอกอาซาเลีย
 • ต้นไม้ไม้สนเกาหลี
 • สัตว์ปีกนกกระเรียนมงกุฎแดง
รหัส ISO 3166KR-42
เว็บไซต์gwd.go.kr (อังกฤษ)

คังว็อน เป็นจังหวัดในเกาหลีใต้ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ชุนช็อน ก่อนหน้าที่จะมีการแบ่งเกาหลีในปี พ.ศ. 2488 จังหวัดคังว็อนในประเทศเกาหลีใต้และจังหวัดคังว็อนในประเทศเกาหลีเหนือเคยเป็นจังหวัดเดียวกันมาก่อน

ประวัติ

[แก้]

จังหวัดคังว็อน เคยเป็นหนึ่งในแปดจังหวัดในสมัยราชวงศ์โชซ็อน โดยจังหวัดนี้ได้ถูกตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1938 โดยชื่อของจังหวัดคังว็อนนั้นได้มาจากชื่อของเมืองหลักคือ คังนึง (강릉; 江陵) และชื่อเมืองหลวงในสมัยนั้นคือ ว็อนจู (원주; 原州)

ในปี พ.ศ. 2438 จังหวัดคังว็อนได้ถูกแทนที่โดยเขตชุนช็อน (ชุนช็อน-บู; 춘천부; 春川府)ในทางด้านตะวันตกและเขตคังนึง (คังนึง-บู; 강릉부; 江陵府) ในทางตะวันออก (ส่วนว็อนจูนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเขตชุงจู)

ในปี พ.ศ. 2439 เกาหลีได้กลับมาแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดอีกครั้ง โดยได้แบ่งออกเป็น 13 จังหวัด และสองเขตก็ได้ยุบรวมเป็นจังหวัดคังว็อนอีกครั้ง ถึงแม้ว่าว็อนจูจะได้กลับเข้ามาอยู่ในเขตจังหวัดคังว็อน แต่ก็ไม่ได้เป็นเมืองหลวงของจังหวัดคังว็อนอีกต่อไป โดยได้ย้ายเมืองหลวงไปยังชุนช็อน ซึ่งก็เป็นเมืองหลวงของจังหวัดมาจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2488 จังหวัดคังว็อน (พร้อมด้วยเกาหลีทั้งคาบสมุทร) ได้ถูกแบ่งโดยเส้นขนานที่ 38 เหนือ โดยทางสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองฝั่งทางใต้และสหภาพโซเวียตยึดครองฝั่งทางเหนือ โดยมีเมืองว็อนซัน เป็นเมืองหลวงของจังหวัดคังว็อนในฝั่งเกาหลีเหนือ ตั้งแต่ปี 2489 ต่อมาในปี 2491 ครึ่งหนึ่งของจังหวัดคังว็อนฝั่งทางใต้ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเกาหลี ผลมาจากข้อตกลงหยุดยิงในสงครามเกาหลี ในปี พ.ศ. 2496 เขตแดนระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้บางส่วนของจังหวัดได้เคลื่อนไปยังทางเหนือเพื่อเป็นเส้นแบ่งเขตทางทหาร โดยเขตแดนของจังหวัดก็ยังคงเป็นแบบนี้เรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้ง

[แก้]

จังหวัดคังว็อนมีพื้นที่ทางทิศตะวันตกติดกับจังหวัดคย็องกี ทางใต้ติดกับจังหวัดชุงชองเหนือ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลญี่ปุ่น (ทะเลตะวันออก) ทางทิศเหนือติดกับจังหวัดคังว็อน ประเทศเกาหลีเหนือ ภูมิประเทศของจังหวัดส่วนใหญ่อยู่เทือกเขาแทแบ็ก (แทแบ็กซันแม็ก) โดยทอดยาวจนเกือบถึงทะเล ซึ่งเป็นผลทำให้ชายฝั่งมีความลาดชัน

ทรัพยากร

[แก้]

จังหวัดคังว็อนมีพื้นที่ 16,874 ตร.กม. (6,522.81 ตร.ไมล์) โดยมีพื้นที่สี่ในห้าเป็นป่าไม้ โดยมีพืชเขตอัลไพน์และเห็ดที่สามารถรับประทานได้ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้จากป่า จังหวัดนี้มีชื่อเสียงเรื่องผลิตผลทางการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งมันฝรั่งและปลา (ปลาหมึกและปลาพอลล็อก) และจังหวัดนี้ยังมีแร่ธาตุเช่น เหล็ก ถ่านหิน ฟลูออไรต์ หินปูน และทังสเตน และที่คังว็อนก็ยังเป็นที่ตั้งของโรงงานพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย

เมืองและอุทยานแห่งชาติ

[แก้]
ซอรักซัน อุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดคังว็อน

เมืองหลวงของจังหวัดคังว็อนคือ เมืองชุนช็อน เมืองหลักของจังหวัดนี้เช่น คังนึง ซกโช ทงแฮและว็อนจู ส่วนอุทยานแห่งชาติซอรักซัน (ความสูง 1,708 เมตร) และอุทยานแห่งชาติโอแดซัน (1,563 เมตร) มีลานสำหรับเล่นสกี ทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก โดยอุทยานแห่งชาติทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเทอกเขาแทแบก และถ้ำฮวันซ็อลกุล เป็นถ้ำหินปูนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเกาหลีใต้ โดยมีนักท่องเที่ยวนับล้านคนต่อปีมาเยือนถ้ำแห่งนี้

ภูมิภาค

[แก้]

จังหวัดคังว็อนและจังหวัดคังว็อนที่อยู่ในเกาหลีเหนือ ต่างก็อยู่ในภูมิภาคควันดง เหมือนกัน ภูมิภาคตะวันตกของเทือกเขาแทแบ็กเรียกว่าภูมิภาคย็องซอ ส่วนภูมิภาคภาคตะวันออกของเทือกเขาเรียกว่าภูมิภาคย็องดง คำว่าย็องดงมักใช้บ่อย ๆ เพื่อใช้เรียกขนส่งมวลชนที่มาจากโซล เมืองหลวงของประเทศ ดังนั้นถ้าโดยสารรถโดยสารหรือรถไฟมาจะใช้ทาง "เส้นทางย็องดง" ส่วนถ้าขับรถยนต์ส่วนตัวมาผ่านคังนึงจะผ่านทางด่วนสายย็องดง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 자연환경 (ภาษาเกาหลี). 강원도청. 2016-04-27. สืบค้นเมื่อ 2018-02-09.
  2. Gangwon Province (2016-04-27). 자연환경. Gangwon Province (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2018-02-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]