ข้ามไปเนื้อหา

ทะเลญี่ปุ่น

พิกัด: 40°N 135°E / 40°N 135°E / 40; 135
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทะเลตะวันออก)
ทะเลญี่ปุ่น
แผนที่ทะเลญี่ปุ่น
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน日本
ชื่อเกาหลีเหนือ
โชซ็อนกึล
ฮันจา
ความหมายตามตัวอักษรEast Sea of Korea
ชื่อเกาหลีใต้
ฮันกึล
ฮันจา
ความหมายตามตัวอักษรEast Sea
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ日本海
ฮิรางานะ
การถอดเสียง
เฮ็ปเบิร์นปรับปรุงNihon-kai
ชื่อภาษารัสเซีย
ภาษารัสเซียЯпонское море
อักษรโรมันYaponskoye more
ชื่อManchu
Manchuᡩᡝᡵᡤᡳ
ᠮᡝᡩᡝᡵᡳ

dergi mederi

ทะเลญี่ปุ่น (สำหรับชื่ออื่น ๆ ดูด้านล่าง) (ญี่ปุ่น: 日本海โรมาจิNihonkai) เป็นทะเลชายอาณาเขตทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างแผ่นดินใหญ่เอเชีย หมู่เกาะญี่ปุ่น และเกาะซาฮาลิน ล้อมรอบด้วยประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศเกาหลีเหนือ และประเทศรัสเซีย เป็นผืนน้ำที่ถูกปิดกั้นจากมหาสมุทรแปซิฟิกเกือบสมบูรณ์ ทำให้แทบไม่มีปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งคล้ายกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[1] และความโดดเดี่ยวเช่นนี้ยังทำให้จำนวนชนิดพันธุ์สัตว์และความเค็มของน้ำมีน้อยกว่าในมหาสมุทร ภายในพื้นที่ไม่มีเกาะ อ่าว หรือแหลมขนาดใหญ่ สมดุลของน้ำได้รับอิทธิพลอย่างมากจากกระแสน้ำที่ไหลเข้าและออกผ่านช่องแคบต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับทะเลรอบข้างและมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะที่แม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลแห่งนี้มีจำนวนน้อย จึงมีผลต่อปริมาตรน้ำในทะเลเพียงไม่เกินร้อยละ 1

น้ำในทะเลญี่ปุ่น มีความเข้มข้นของออกซิเจนละลายอยู่สูง ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ การประมงจึงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และการขนส่งทางเรือในทะเลญี่ปุ่นกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออก แม้ว่าในอดีตจะไม่คับคั่งนักเนื่องด้วยประเด็นปัญหาทางการเมือง ขณะที่ชื่อของผืนน้ำแห่งนี้ยังคงเป็นประเด็นขัดแย้ง เนื่องจากเกาหลีใต้พยายามเรียกร้องให้ใช้ชื่อว่า ทะเลตะวันออก

ขอบเขต

[แก้]

องค์การอุทกศาสตร์สากลได้กำหนดขอบเขตของทะเลญี่ปุ่นไว้ดังนี้[2]

ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขอบเขตด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลจีนตะวันออก [จากแหลมโนะโมะบนเกาะคิวชู ถึงปลายด้านทิศใต้ของเกาะฟุกุเอะ (หมู่เกาะโกะโต)] และด้านทิศตะวันตกของทะเลในเซะโตะ
ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในช่องแคบคันมง จากแหลมนะโงะยะ (130°49'E) บนเกาะคิวชู ถึงมุระซะกิฮะนะ (34°01'N) บนเกาะฮอนชู
ด้านทิศตะวันออก ในช่องแคบสึงะรุ จากปลายสุดแหลมชิริยะ (141°28'E) ถึงปลายสุดแหลมเอะซัง (41°48'N)
ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่องแคบลาเปรูส (ช่องแคบโซยะ) จากแหลมโซยะ ถึงแหลมนิชิโนะโตะโระ
ด้านทิศเหนือ จากแหลมตุยค์ (51°45'N) ถึงแหลมซูเชวา

ภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา

[แก้]

ทะเลญี่ปุ่นเคยถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดินในยุคสมัยที่ยังคงมีสะพานแผ่นดินในภูมิภาคเอเชียตะวันออก[3] โดยหมู่เกาะญี่ปุ่นเริ่มก่อตัวขึ้นจากการแยกตัวของพื้นที่ทางตอนเหนือและใต้ในสมัยไมโอซีนตอนต้น[4] ซึ่งทำให้ทะเลญี่ปุ่นเริ่มเชื่อมต่อกับทะเลเปิด พื้นที่ทางตอนเหนือของหมู่เกาะยังคงแยกแตกกระจายกันจนกระทั่งเกิดกลุ่มเกาะทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในสมัยไมโอซีนตอนปลาย[4] ขณะที่พื้นที่ทางใต้ยังคงเป็นผืนดินขนาดใหญ่ และเมื่อถึงสมัยไมโอซีนตอนปลายก็เริ่มขยายตัวไปทางทิศเหนือ[4]

แผนที่แสดงหมู่เกาะญี่ปุ่น ทะเลญี่ปุ่น และพื้นที่โดยรอบในภาคพื้นทวีปของเอเชียตะวันออก ในสมัยไมโอซีนตอนต้น (23–18 Ma)
แผนที่แสดงหมู่เกาะญี่ปุ่น ทะเลญี่ปุ่น และพื้นที่โดยรอบในภาคพื้นทวีปของเอเชียตะวันออก ในสมัยไมโอซีนตอนปลายถึงสมัยไพลโอซีนตอนกลาง (3.5–2 Ma)

ทะเลญี่ปุ่นถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดินรัสเซียและเกาะซาคาลินทางเหนือ คาบสมุทรเกาหลีทางตะวันตก และหมู่เกาะญี่ปุ่นทางตะวันออก และเชื่อมต่อกับทะเลอื่น ๆ โดยช่องแคบ 5 แห่ง ได้แก่ ช่องแคบตาตาร์ระหว่างทวีปเอเชียกับเกาะซาฮาลิน ช่องแคบลาเปรูสระหว่างเกาะซาฮาลินกับเกาะฮกไกโด ช่องแคบสึงารุระหว่างเกาะฮกไกโดกับเกาะฮนชู ช่องแคบคัมมงระหว่างเกาะฮนชูกับเกาะคีวชู และช่องแคบเกาหลีระหว่างคาบสมุทรเกาหลีกับเกาะคีวชู

ความลึกเฉลี่ย 1,062 เมตร จุดที่ลึกที่สุดลึกจากระดับน้ำทะเล 3,742 เมตร และมีพื้นที่ประมาณ 978,000 ตารางกิโลเมตร กิจกรรมที่สำคัญที่ทะเลแห่งนี้คือการทำประมง ปลาที่จับได้จะมีลักษณะคล้ายปลาในทะเลเบริง นอกจากนี้ยังมีการจับปลิงทะเลด้วย

กรณีพิพาทชื่อ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2535 เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้ยกประเด็นว่าด้วยชื่อของทะเลที่ถูกห้อมล้อมโดยรัสเซีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ แม้ว่าชื่อของ "ทะเลญี่ปุ่น" หรือการแปลเทียบเท่าอื่น จะได้รับการตั้งชื่ออื่นในต่างประเทศ อย่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างก็ให้มีการใช้ชื่อที่ต่างออกไป โดยเกาหลีเหนือให้ใช้ชื่อว่า "ทะเลเกาหลีตะวันออก"[5] และเกาหลีใต้ให้ใช้ชื่อว่า "ทะเลตะวันออก"[6] แทนชื่อของ "ทะเลญี่ปุ่น" อย่างไรก็ดีในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 สหประชาชาติได้มีหนังสือถึงรัฐบาลญี่ปุ่นว่า จะใช้ชื่อ "ทะเลญี่ปุ่น" เป็นชื่อสากลในเอกสารราชการที่ออกโดยสหประชาชาติ[7] แต่ยังคงเปิดให้มีการอภิปรายในประเด็นว่าด้วยชื่อทะเลดังกล่าวต่อไป นอกจากนี้ใน พ.ศ. 2555 องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) ซึ่งเป็นองค์การว่าด้วยอุทกศาสตร์และมีหน้าที่หนึ่งในการกำหนดชื่อทางอุทกศาสตร์สากล ได้ให้การยอมรับชื่อ "ทะเลญี่ปุ่น" เป็นชื่อเดียวที่จะปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ขององค์การ และปฏิเสธชื่อ "ทะเลตะวันออก" ตามที่เกาหลีใต้เสนอ โดยจะมีการอภิปรายเรื่องชื่ออีกครั้งเมื่อถึง พ.ศ. 2560[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Tides in Marginal, Semi-Enclosed and Coastal Seas – Part I: Sea Surface Height". ERC-Stennis at Mississippi State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2004. สืบค้นเมื่อ 2 February 2007.
  2. "Limits of Oceans and Seas, 3rd edition" (PDF). องค์การอุทกศาสตร์สากล. 1953. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Totman, Conrad D. (2004). Pre-Industrial Korea and Japan in Environmental Perspective. ISBN 978-9004136267. สืบค้นเมื่อ 2 February 2007.
  4. 4.0 4.1 4.2 Kameda Y. & Kato M. (2011). "Terrestrial invasion of pomatiopsid gastropods in the heavy-snow region of the Japanese Archipelago". BMC Evolutionary Biology 11: 118. doi:10.1186/1471-2148-11-118.
  5. Efforts of the Government of Japan in Response to the Issue of the Name of the Sea of Japan (1) The 8th UNCSGN, The Ministry of Foreign Affairs of Japan
  6. "Ministry of Foreign Affairs and Trade. East Sea". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-06. สืบค้นเมื่อ 2012-05-23.
  7. "The Policy of the United Nations Concerning the Naming of 'Sea of Japan'". Ministry of Foreign Affairs of Japan. มิถุนายน พ.ศ. 2547. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. Kyodo News, "Sea of Japan name dispute rolls on เก็บถาวร 2012-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Japan Times, 3 May 2012, p. 3; Kyodo News, "IHO nixes 'East Sea' name bid", Japan Times, 28 April 2012, p. 2; Rabiroff, Jon, and Yoo Kyong Chang, "Agency rejects South Korea's request to rename Sea of Japan เก็บถาวร 2016-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Stars and Stripes, 28 April 2012, p. 5.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Sea of Japan

40°N 135°E / 40°N 135°E / 40; 135