ข้ามไปเนื้อหา

กูปรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กูปรี
ภาพถ่ายกูปรีตัวผู้ในวัยที่ยังไม่โตเต็มที่ ที่สวนสัตว์ในกรุงปารีส เมื่อ ค.ศ. 1937
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: สัตว์กีบคู่
Artiodactyla
วงศ์: วงศ์วัวและควาย
Bovidae
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยวัวและควาย
Bovinae
สกุล: Bos
Bos
Urbain, 1937
สปีชีส์: Bos sauveli
ชื่อทวินาม
Bos sauveli
Urbain, 1937
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของกูปรี
ชื่อพ้อง

Bibos sauveli (Urbain, 1937)[3]
Novibos sauveli (Coolidge, 1940)[3]

กูปรี หรือ โคไพร (เขมร: គោព្រៃ ถอดรูปได้ โคไพร แต่อ่านว่า โกเปร็ย หรือ กูปรี แปลว่า วัวป่า) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bos sauveli เป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวโต โคนขาใหญ่ ปลายหางเป็นพู่ขน

ลักษณะทั่วไป

[แก้]
กูปรีเพศเมียและเพศผู้เทียบกับมนุษย์วัยผู้ใหญ่
  • ตัวผู้ มีขนสีดำ ขนาดความสูง 1.71 - 1.90 เมตร ขนาดลำตัว 2.10 - 2.22 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 680 ถึง 910 กิโลกรัม (1,500 ถึง 2,010 ปอนด์)[4][5] เขาตัวผู้จะโค้งเป็นวงกว้าง แล้วตีวงโค้งไปข้างหน้า ปลายเขาแตกออกเป็นพู่คล้ายเส้นไม้กวาดแข็ง ขาทั้ง 4 มีถุงเท้าสีขาวเช่นเดียวกับกระทิง (B. gaurus) ในตัวผู้ที่มีอายุมาก จะมีเหนียงใต้คอยาวห้อยลงมาจนเกือบจะถึงดิน เชื่อว่าใช้ในการระบายความร้อน
  • ตัวเมีย มีขนสีเทา มีเขาตีวงแคบแล้วม้วนขึ้นด้านบน ไม่มีพู่ที่ปลายเขา มีเขากลวงแบบ Horns ขนาดเท่ากัน โคนเขาใหญ่ ปลายเขาแหลม ไม่มีการแตกกิ่ง ยาวประมาณ 1 เมตร

สถานภาพในปัจจุบัน

[แก้]

ปัจจุบันไม่มีการรายงานการพบมานานแล้ว จนครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปจากโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ ณ ปัจจุบันเชื่อว่าอาจจะยังพอมีหลงเหลืออยู่ในชายแดนไทยกับกัมพูชาแถบจังหวัดศรีสะเกษ รวมถึงบริเวณชายแดนระหว่างลาวตอนใต้และเวียดนามด้วย เพราะมักจะมีข่าวว่าพบสัตว์ลักษณะคล้ายกูปรีบ่อย ๆ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่น่าเชื่อถือพอ นอกจากคำเล่าลือเท่านั้น[6][7]

ครั้งหนึ่ง เคยเชื่อกันว่า กูปรีอาจจะไม่ใช่วัวสายพันธุ์แท้ที่มีอยู่จริงในธรรมชาติ แต่เป็นเพียงแค่ลูกผสมของวัวบ้าน (B. taurus) กับวัวแดง (B. javanicus) ซึ่งเป็นวัวป่าอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น แต่จากการตรวจสอบด้วยดีเอ็นเอของนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสและนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยบ่งชี้ว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด[8]

กูปรีในสัญลักษณ์

[แก้]

นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล ผู้ก่อตั้ง มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ใช้รูปกูปรี เป็นสัญลักษณ์ของมูลนิธิ เพื่อเน้นถึงความสำคัญของสัตว์หายากที่มีอยู่ในภูมิภาคอินโดจีน ไม่มีที่อื่นในโลกและเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์

นอกจากนี้แล้ว ทีมฟุตบอลจังหวัดศรีสะเกษมีฉายาว่า "กูปรีอันตราย" และใช้กูปรีเป็นสัญลักษณ์ประจำทีมด้วย ด้วยว่า กูปรีเป็นสัตว์ที่พบได้เฉพาะที่จังหวัดศรีสะเกษเท่านั้น และสำหรับประเทศกัมพูชา ถือว่ากูปรีเป็นสัตว์ประจำชาติ[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Timmins, R.J.; Burton, J.; Hedges, S. (2016). "Bos sauveli". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T2890A46363360. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-2.RLTS.T2890A46363360.en. สืบค้นเมื่อ 18 November 2021.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. 3.0 3.1 Grigson, C.: "Complex Cattle[ลิงก์เสีย]", New Scientist, August 4, 1988; p. 93f. URL retrieved 2011-01-27.
  4. [1] เก็บถาวร 2011-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2011).
  5. Burnie D and Wilson DE (Eds.), Animal: The Definitive Visual Guide to the World's Wildlife. DK Adult (2005), ISBN 0789477645
  6. ""กูปรี" โผล่เขาพนมดงรัก หลังสูญพันธุ์จากโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2007-06-14.
  7. กองทุนสัตว์ป่าโลก. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : ไซรัสการพิมพ์, 2543. 256 หน้า. หน้า 138-139. ISBN 974-87081-5-2
  8. [2]เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นักชีววิทยาไทยยันนานาชาติ “กูปรี” ไม่ใช่ลูกผสมของวัวแดง จากผู้จัดการออนไลน์
  9. "The Money Drop ไทยแลนด์ 15 ก.พ.58 3/3". ช่อง 7. 15 February 2015. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]