อันดับสัตว์กีบคู่
อันดับสัตว์กีบคู่ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 54–0Ma ก่อนยุคอีโอซีน - ปัจจุบัน | |
---|---|
![]() | |
ภาพวาดของกีบเท้าของสัตว์หลายชนิดในอันดับนี้ (จากซ้าย หมูป่า, กวางแดง, อูฐ) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับใหญ่: | Laurasiatheria |
อันดับ: | Artiodactyla Owen, 1848 |
อันดับย่อยและวงศ์ | |
อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/)
มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่
ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย
ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์[1] ราว 220 ชนิด
โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ
เป็นสัตว์ที่มีห้องกระเพาะห้องเดียว มีด้วยกัน 3 วงศ์ คือ
- Suidae ได้แก่ หมู
- Hippopotamidae ได้แก่ ฮิปโปโปเตมัส
- Tayassuidae ได้แก่ แพคคารี ซึ่งเป็นสัตว์ที่คล้ายกับหมูป่า
เป็นสัตว์ที่ห้องกระเพาะ 3 ห้อง มีการหมักอาหารเกิดขึ้นในนั้น
เป็นสัตว์ที่มีห้องกระเพาะ 4 ห้อง มีการหมักอาหารเกิดขึ้นในนั้น มีการขย้อนอาหารที่กินลงไปแล้วออกมาเคี้ยวใหม่ เรียกว่า "เคี้ยวเอื้อง"
เป็นสัตว์ที่มีความแตกต่างกันทางรูปร่างอย่างมาก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดและถือเป็นสัตว์ที่สูงที่สุดบนบกด้วย คือ ยีราฟที่มีความสูงกว่า 5 เมตร และกระจง ที่ถือได้ว่าเป็นสัตว์กีบที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ด้วยมีความสูงราว 1 ฟุตเท่านั้น[2]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ Michael et al., 2004. Grzimek’s Animal Life Encyclopedia 2nd ed. V. 16 : MammalsV