การขนส่งในประเทศเกาหลีใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การขนส่งในประเทศเกาหลีใต้ แบ่งออกเป็นการขนส่งระบบราง ถนน รถโดยสาร เรือ และอากาศยานซึ่งมีให้บริการทั่วประเทศ และยังเป็นประเทศที่ 3 ของโลกที่ให้บริการรถไฟฟ้าพลังแม่เหล็ก[1]

ประวัติ[แก้]

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอันทันสมัย เริ่มต้นขึ้นในแผนพัฒนาห้าปีระยะแรก (ค.ศ. 1962–66) ซึ่งประกอบด้วยโครงการสร้างทางรถไฟ 275 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดินสายเล็ก ๆ[2] การก่อสร้าง ทางด่วนคย็องปู ซึ่งเชื่อมระหว่างโซลกับปูซานนั้น เสร็จสิ้นในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1970

คริสต์ทศวรรษ 1970 มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น แผนพัฒนาห้าปีระยะที่ 3 (ค.ศ. 1972–76) ได้แก่ โครงการท่าอากาศยาน, ท่าเรือ มีการสร้างรถไฟใต้ดินในโซล โครงข่ายทางหลวงได้ขยายเพิ่มขึ้น 487 กิโลเมตร มีเมืองท่าที่สำคัญได้แก่ โพฮัง, อุลซัน, มาซัน, อินช็อน และปูซาน[2]

โครงข่ายรถไฟพัฒนามากขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งมีการติดตั้งการรับไฟฟ้า โดยรถไฟในเส้นทางหลักจะมีความเร็วมากกว่าเส้นทางอื่น ๆ แม้ว่ารถไฟในสมัยนั้นจะมีประโยชน์ต่อการขนส่งสินค้ามากกว่า แต่จำนวนผู้โดยสารยังคงมากขึ้น ส่วนโครงข่ายในปี ค.ศ. 1988 มีระยะทางรวม 51,000 กิโลเมตร และทางด่วนที่เชื่อมระหว่างนครใหญ่ ๆ มีระยะทางรวม 1,539 กิโลเมตร

การขนส่งทางราง[แก้]

รถไฟเคทีเอ็กซ์

ผู้ดำเนินการรถไฟที่ใหญ่ที่สุดคือ โคเรล โครงข่ายรถไฟจัดการบริการโดย หน่วยบริหารโครงข่ายรถไฟเกาหลี

รถไฟด่วนเกาหลี (รถไฟความเร็วสูงขบวนแรกของเกาหลีใต้) เริ่มต้นการให้บริการในเดือนเมษายน ค.ศ. 2004 รถไฟระหว่างเมือง แบ่งเป็นสองประเภทคือ รถไฟเซมวล กับรถไฟมูกุงฮวา โดยรถไฟเซมวลจะจอดสถานีน้อยและมีความสะดวกสบายมากกว่ารถไฟมูกุงฮวา รถไฟท็องกึน ซึ่งเป็นรถไฟชานเมือง จะให้บริการเฉพาะสาย โดยจะหยุดทุก ๆ สถานี และไม่มีการสำรองที่นั่ง

รถไฟที่เปิดในปีถัด ๆ มา คือ รถไฟนุริโร วิ่งระหว่าง สถานีรถไฟโซลสถานีรถไฟซินจาง ให้บริการแบบรถไฟชานเมืองรอบ ๆ โซล ใช้เวลาในการเดินทางน้อยกว่ารถไฟใต้ดิน ในปัจจุบัน โคเรลยังคงขยายเส้นทางรถไฟเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ[3] นอกจากนี้ ยังมีแผนจะเปิดรถไฟไอทีเอ็กซ์เซมวล ซึ่งจะวิ่งแทนรถไฟเซมวลเก่า

รถไฟใต้ดิน[แก้]

รายชื่อนครที่มีรถไฟใต้ดินโซล, ปูซาน, แทกู, ควังจู, แทจ็อน และ อินช็อน

รถไฟฟ้ามหานครโซล เป็นระบบรถไฟฟ้าที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ สายแรกที่เปิดคือ สาย 1 ระหว่าง สถานีรถไฟโซลสถานีรถไฟช็องนยังงิ เปิดในปี ค.ศ. 1974

รถราง[แก้]

รถรางสายแรกในโซล วิ่งระหว่างเขตซอแดมุน กับเขตช็องนยังงิ เปิดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1898 โครงข่ายรถรางได้ถูกขยายจนครอบคลุมพื้นที่ใจกลางนครทั้งหมด โดยวิ่งไปถึงเขตช็องนยังงิทางตะวันออก เขตมาโพทางตะวันตก เขตนอรยังจินทางหนือ และข้ามแม่น้ำฮันไปทางใต้

โครงข่ายได้พัฒนาถึงขั้นสูงสุดในปี ค.ศ. 1941[4] และได้ปิดตัวลงในปี ค.ศ. 1968 ด้วยการแทนที่ของรถไฟใต้ดินโซล สาย 1 และสาย 2

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

รถโดยสารระหว่างเมือง[แก้]

เลนสำหรับรถโดยสารบนทางด่วนคย็องปู

แทบทุกเมืองในเกาหลีใต้ จะมีรถโดยสารระหว่างเมือง เส้นทางระหว่างเมืองแยกประเภทได้แก่ รถคอซ็อก (고속버스, "รถด่วน") กับ รถซิออ (시외버스, "รถชานเมือง") ซึ่งรถคอซ็อกจะมีระยะทางมากกว่า และจอดน้อยกว่า ส่วนรถซิออจะให้บริการระยะทางสั้นกว่า จอดมากกว่า

รถโดยสารท้องถิ่น[แก้]

รถโดยสารท้องถิ่นในโซล

ภายในเมืองหลาย ๆ เมือง จะมีรถโดยสารสองประเภทคือ จวาซ็อก (좌석) และ โทซิฮย็อง (도시형) (หรือ อิพซ็อก (입석)) รถทั้งประเภท ส่วนใหญ่วิ่งเส้นทางเดียวกัน จอดใกล้เคียงกัน และมีความถี่ในการเดินรถไล่เลี่ยกัน แต่รถจวาซ็อกจะมีราคาแพง และมีความสะดวกสบายมากกว่า ขณะที่รถโทซิฮย็องจะมีราคาถูก แต่สะดวกสบายน้อยกว่า แต่ในเมืองเล็ก ๆ จะไม่มีรถจวาซ็อก แต่จะมีรถโดยสารที่เรียกว่า น็อนกีช็อน (농어촌) ก่อน

บางนครจะมีการจัดจำแนกรถโดยสาร ดังนี้

ประเภทรถ โซล ปูซาน แทกู แทจ็อน
จวาซ็อก รถเร็ว: ควังย็อก (광역), สายสีแดง
ทั่วไป: คันซ็อน (간선), สายสีน้ำเงิน
รถเร็ว: คึพเฮ็ง (급행)
ทั่วไป: จวาซ็อก
รถเร็ว: คึพเฮ็ง
ทั่วไป: คันซ็อน จวาซ็อก (간선좌석)
รถเร็ว: คึพเฮ็ง, สายสีแดง
ทั่วไป: คันซ็อน, สายสีน้ำเงิน
โทซิฮย็อง/อิพซ็อก สายหลัก: คันซ็อน, สายสีน้ำเงิน
สายย่อย: จีซ็อน (지선), สายสีเขียว
ทั่วไป: อิลปาน (일반) สายวงกลม: ซุนฮวัน (순환)
สายหลัก: คันซ็อน
สายย่อย: จีซ็อน
สายหลัก: คันซ็อน, สายสีน้ำเงิน
สายย่อย: จีซ็อน (지선), สายสีเขียว
วิลเลจ สายหลัก: จีซ็อน, สายสีเขียว
สายวงกลม: ซุนฮวัน, สายสีเหลือง
สายหมู่บ้าน: รถมึล (마을버스) สายย่อย: จีซ็อน, สายสีเขียว
สายรอบนอก: อูควัก (외곽), สายสีเขียว
สายหมู่บ้าน: รถมึล (마을버스)

รถโดยสารอื่น ๆ[แก้]

รถลีมูซีนที่ท่าอากาศยานอินช็อน
รถโดยสารลีมูซีนที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน

ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ให้บริการรถโดยสารประจำทางความเร็วสูงจากทุกส่วนของประเทศ

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งมีรถโดยสารสำหรับลูกค้า แต่เนื่องจากคำตัดสินของศาลในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2001 ส่งผลให้รถโดยสารเหล่านี้ถูกยกเลิก[5] อย่างไรก็ตาม โบสถ์ ศาสนสถาน สถานศึกษาหลายแห่ง ยังคงให้บริการรถโดยสารเหมือนเดิม

การขนส่งทางถนน[แก้]

แผนที่โครงข่ายทางด่วนในประเทศเกาหลีใต้

ทางหลวงแผ่นดินในเกาหลีใต้ แบ่งเป็นทางด่วน ทางหลวงทั่วไป และอีกมายมาย โดยทางด่วนส่วนใหญ่จะอยู่ในการกำกับดูแลของ บริษัททางด่วนเกาหลี (KEC)

โครงข่ายทางหลวงมีให้บริการเกือบทุกส่วนของเกาหลีใต้ โดยมีระบบไฟฟ้าควบคุมด้วย

เส้นทางทางด่วนที่สำคัญ อาทิเช่น ทางด่วนน็อนซัน-ชอนัน, ทางด่วนแทกู-ปูซาน, ทางด่วนท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน, ทางด่วนโซล-ชุนช็อน และ ทางด่วนวงแหวนโซล

บนทางด่วนจากท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน

ถนนในเกาหลีใต้มีระยะทางรวม 86,989 กิโลเมตรในปี ค.ศ. 1998 เป็นทางด่วน 1,996 กิโลเมตร (และได้เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 กิโลเมตรในปี ค.ศ. 2009) และอีก 12,447 กิโลเมตรเป็นทางหลวงแผ่นดิน

ทั้งหมด ทางด่วน ทางหลวงแผ่นดิน ลาดยาง ไม่ลาดยาง
86,990 กิโลเมตร 3,000 กิโลเมตร 12,447 กิโลเมตร 64,808 กิโลเมตร 22,182 กิโลเมตร

การขนส่งทางน้ำ[แก้]

ประเทศเกาหลีใต้ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอุตสาหกรรมการต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังมีระบบขนส่งทางเรือที่ดีอีกด้วย เกาหลีใต้ให้บริการเรือขนส่งสินค้าระหว่าง ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง โดยผู้ให้บริการเรือขนส่งสินค้า จะเป็นกลุ่มใหญ่ ต่างจากเรืออื่น ๆ ที่ผู้ให้บริการจะเป็นบริษัทเอกชนขนาดเล็ก

ระยะทางของเรือในเกาหลีใต้รวม 1,609 กิโลเมตร

เรือข้ามฟาก[แก้]

ท่าเรือข้ามฟากปูซาน

ชายฝั่งทางตอนใต้และตะวันตกของประเทศ มีเรือข้ามฟากให้บริการไปยังเกาะต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเกาะเชจู และเกาะอัลลึง ศูนย์กลางเรือข้ามฟากจะอยู่ที่ อินช็อน, ม็อกโพ, โพฮัง และปูซาน

เมืองท่าที่สำคัญ[แก้]

เมืองท่าในเกาหลีใต้ที่สำคัญได้แก่

เรือขนส่งสินค้า[แก้]

สถิติปี ค.ศ. 1999 มีเรือขนส่งสินค้า 461 ลำ จำแนกประเภทได้ดังนี้:[6]

  • เรือขนาดใหญ่ 98 ลำ
  • เรือสินค้า 149 ลำ
  • เรือบรรจุสารเคมี 39 ลำ
  • เรือผสม 4 ลำ
  • เรือคอนเทนเนอร์ 53 ลำ
  • เรือบรรจุแก๊สเหลว 13 ลำ
  • เรือหน้าที่ผสม 1 ลำ
  • เรือผู้โดยสาร 3 ลำ
  • เรือปิโตรเลียม 61 ลำ
  • เรือสินค้าแช่แข็ง 26 ลำ
  • เรือ roll-on/roll-off 4 ลำ
  • เรือบรรจุสินค้าพิเศษ 4 ลำ
  • เรือบรรจุยานพาหนะ 6 ลำ

การขนส่งทางอากาศ[แก้]

แอร์บัส เอ 380 ของสายการบินโคเรียนแอร์

โคเรียนแอร์ ก่อตั้งโดยรัฐบาลในปี ค.ศ. 1962 เพื่อแทนที่ โคเรียนเนชันนอลแอร์ไลน์ สถิติปี ค.ศ. 2008 โคเรียนแอร์มียอดผู้โดยสารรวม 2,164 ล้านคน เป็นผู้โดยสารต่างชาติ 1,249 ล้านคน[7]

สายการบินที่สอง เอเชียนาแอร์ไลน์ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1988 จุดหมายปลายทางเริ่มแรกได้แก่ โซล, เชจูซิตี, ปูซาน, กรุงเทพมหานคร, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น และ ลอสแอนเจลิส ในปี ค.ศ. 2006 มีจุดหมายปลายทางในประเทศ 12 ที่หมาย ระหว่างประเทศ 66 ที่หมายใน 20 ประเทศ (เฉพาะสินค้า 24 ที่หมายใน 17 ประเทศ)[8]

สายการบินของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน มีจำนวนเส้นทางระหว่างประเทศรวม 297 เส้นทาง[9] นอกจากนี้ยังสายการบินย่อย ได้แก่ แอร์ปูซาน, จินแอร์, อีสเตอร์เจ็ต และเชจูแอร์ เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ

ท่าอากาศยาน[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2001 เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 สถิติปี ค.ศ. 2007 มีผู้โดยสารกว่า 30 ล้านคนต่อปี[10] ได้รับคัดเลือกเป็น "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005-2008[11]

ท่าอากาศยานอีกแห่งหนึ่งในโซล คือ ท่าอากาศยานกิมโป โดยส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินในประเทศ ขณะที่เที่ยวบินระหว่างประเทศส่วนใหญ่จะอยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ท่าอากาศยานอื่น ๆ อาทิเช่น ท่าอากาศยานกิมเฮ และท่าอากาศยานเชจู

ประเทศเกาหลีใต้ มีท่าอากาศยาน 103 แห่ง (ค.ศ. 1999) ดังนี้

ท่าอากาศยานมีทางวิ่งลาดยาง:
รวมทั้งหมด: 67 แห่ง
ตั้งแต่ 3,047 เมตรขึ้นไป: 1 แห่ง
ตั้งแต่ 2,438 ถึง 3,047 เมตร: 18 แห่ง
ตั้งแต่ 1,524 ถึง 2,437 เมตร: 15 แห่ง
ตั้งแต่ 914 ถึง 1,523 เมตร: 13 แห่ง
น้อยกว่า 914 เมตร: 20 แห่ง

ท่าอากาศยานมีทางวิ่งไม่ลาดยาง:
ทั้งหมด: 36 แห่ง
ตั้งแต่ 3,047 เมตรขึ้นไป: 1 แห่ง
ตั้งแต่ 914 ถึง 1,523 เมตร: 3 แห่ง
น้อยกว่า 914 เมตร: 32 แห่ง

ท่าเฮลิคอปเตอร์: 203 แห่ง

ท่อขนส่งน้ำมัน[แก้]

  • ท่อขนส่งน้ำมันเกาหลีใต้-เหนือ
  • ท่อขนส่งน้ำมันทรานส์โคเรีย

ส่วนใหญ่ออกแบบมาเป็นใช้งานกับน้ำมันปิโตรเลียม

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Incheon Airport maglev unveiled". Railway Gazette. 20 May 2014. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  2. 2.0 2.1 "Infrastructure Development in Korea" (PDF). United Nations Public Administration Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-05. สืบค้นเมื่อ 2005-05-19.
  3. 무궁화호 열차 점차 사라진다, YTN, 2009년 6월 6일
  4. 서대문-청량리~: 이이화, 《한국사이야기22. 빼앗긴 들에 부는 근대화바람》(한길사, 2004) 49쪽.
  5. "Ban on the Shuttle Bus Operation Case". Constitutional Court of Korea. สืบค้นเมื่อ 2005-05-19.
  6. "Ships by type (most recent) by country". nationmaster.com. สืบค้นเมื่อ 2005-05-19.
  7. "Company Info / Overview". Korean Air. สืบค้นเมื่อ 2005-05-19.
  8. "Overview / General Info". Asiana Airlines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-08. สืบค้นเมื่อ 2005-05-19.
  9. "International Aviation Policy". Ministry of Land, Transportation and Maritime Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-15. สืบค้นเมื่อ 2005-05-19.
  10. "Incheon International Airport celebrates its eighth year". Incheon International Airport Corp. สืบค้นเมื่อ 2005-05-20.
  11. "Incheon International Airport, Best Airport Worldwide for 4 Years Straight". Incheon International Airport Corp. สืบค้นเมื่อ 2005-05-20.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]