ข้ามไปเนื้อหา

UTC+07:00

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
UTC+07:00
เขตเวลา
แผนที่โลกพร้อมเขตเวลาที่เน้น
ออฟเซตเวลาสากลเชิงพิกัด
UTCUTC+07:00
เวลาปัจจุบัน
17:52, 20 พฤศจิกายน 2024 UTC+07:00 [รีเฟรช]
เส้นเมริเดียนกลาง
105 องศาตะวันออก
หมู่วันเวลา
G
เวลาในรัสเซีย
  KALT เวลาคาลีนินกราด UTC+2 (MSK−1)
  MSK เวลามอสโก UTC+3 (MSK±0)
  SAMT เวลาซามารา UTC+4 (MSK+1)
  YEKT เวลาเยคาเตรินบุร์ก UTC+5 (MSK+2)
  OMST เวลาออมสค์ UTC+6 (MSK+3)
  KRAT เวลาครัสโนยาสค์ UTC+7 (MSK+4)
  IRKT เวลาอีร์คุตสค์ UTC+8 (MSK+5)
  YAKT เวลายาคุตสค์ UTC+9 (MSK+6)
  VLAT เวลาวลาดีวอสตอค UTC+10 (MSK+7)
  MAGT เวลามากาดาน UTC+11 (MSK+8)
  PETT เวลาคัมชัตคา UTC+12 (MSK+9)
เวลาในมองโกเลีย
เวลามองโกเลียตะวันตก (UTC+7)
เวลามองโกเลียตะวันออก (UTC+8)
เวลาในประเทศอินโดนีเซีย
แผนที่เขตเวลาของประเทศอินโดนีเซีย
เวลาปัจจุบันทั่วอินโดนีเซีย
เวลาอินโดนีเซียตะวันตก
(UTC+7)
5:52 pm, 20 พฤศจิกายน 2024 [รีเฟรช]
เวลาอินโดนีเซียกลาง
(UTC+8)
6:52 pm, 20 พฤศจิกายน 2024 [รีเฟรช]
เวลาอินโดนีเซียตะวันออก
(UTC+9)
7:52 pm, 20 พฤศจิกายน 2024 [รีเฟรช]

UTC+07:00 เป็นตัวบ่งบอกความเฉของเวลาเพิ่มจากเวลาสากลเชิงพิกัด +07:00 ในมาตรฐาน ISO 8601 เวลาในเขตเวลานี้จะเขียนว่า 2024-11-20T17:52:16+07:00 เขตเวลานี้เร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด (UTC) 7 ชั่วโมง ซึ่งหมายความว่าเมื่อเวลาในพื้นที่ UTC คือเที่ยงคืน (00:00 น.) เวลาในพื้นที่ UTC+07:00 จะเป็น 7:00 น. ในตอนเช้า

UTC+07:00 ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ เวลาอินโดจีน (Indochina Time; ICT) และ เวลาอินโดนีเซียตะวันตก (อินโดนีเซีย: Waktu Indonesia Barat; WIB) ซึ่งใช้ในภูมิภาคและดินแดนดังต่อไปนี้

เป็นเวลามาตรฐาน (ตลอดทั้งปี)

[แก้]

เมืองที่สำคัญ: นครโฮจิมินห์, ฮานอย, พนมเปญ, เวียงจันทน์, กรุงเทพมหานคร, ครัสโนยาสค์, โนโวซีบีสค์, จาการ์ตา, เมดัน, ปาเล็มบัง, บันดุง, เซอมารัง, ซูราบายา, ซูราการ์ตา, ยกยาการ์ตา, ดานัง, คอฟด์, ฟลายอิงฟิชโคฟ

เอเชียเหนือ

[แก้]

เอเชียตะวันออก

[แก้]

ถือเป็นเขตเวลาทางตะวันตกสุดของเอเชียตะวันออก

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

[แก้]

โอเชียเนีย

[แก้]

มหาสมุทรอินเดีย

[แก้]

แอนตาร์กติกา

[แก้]

มหาสมุทรใต้

[แก้]

ความแตกต่างระหว่าง UTC+07:00 ที่ใช้เป็นทางการและ UTC+07:00 ในทางภูมิศาสตร์

[แก้]

เนื่องจากเหตุผลทางกฎหมาย การเมือง และเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยพึงพิจารณาในการกำหนดเขตเวลานอกเหนือจากสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์หรือทางกายภาพ ดังนั้น TC+07:00 ที่ใช้เป็นทางการจึงอาจไม่ตรงกับ UTC+07:00 ในทางภูมิศาสตร์ หากจะสร้างเขตเวลา UTC+07:00 ด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์เท่านั้น จะประกอบไปด้วยพื้นที่ระหว่างเส้นแวงที่ 97°30′ ตะวันออก ถึง 112°30′ ตะวันออก ด้วยเหตุนี้มีพื้นที่ทางกายภาพที่อยู่ใน UTC+07:00 ทางภูมิศาสตร์แต่ได้รับการกำหนดเขตเวลาเป็นอย่างอื่น และในทางตรงข้าม มีพื้นที่ซึ่งใช้ UTC+07:00 ทั้งที่เขตแดนทางกายภาพควรจะเป็น UTC+08:00 UTC+06:00 หรือแม้แต่ UTC+05:00

การใช้เขตเวลาในอดีต

[แก้]
เวลากานซู่-เสฉวน (UTC+07:00) สีเขียวในแผนที่

สาธารณรัฐจีนได้มีการกำหนดเขตเวลานี้โดยเรียกว่า กานซู่-เสฉวน และถูกใช้จนถึงปี 1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้าควบคุมจีนแผ่นดินใหญ่หลังเหตุสงครามกลางเมืองจีน และทำให้จีนเปลี่ยนไปใช้ UTC+08:00 เป็นเวลามาตรฐานสำหรับทุกพื้นที่ภายใต้การควบคุม แต่เดิมช่วงปี 1918 ถึง 1949 เขตเวลานี้ถูกใช้ทางตะวันออกของมณฑลซีคัง และมณฑลชิงไห่ตอนกลาง มองโกเลียนอก (1921–1924) และทั้งหมดของมณฑลยูนนาน, มณฑลกวางสี, มณฑลกุ้ยโจว, เขตหนิงเซี่ย, มณฑลซุยหยวน, มณฑลกานซู, มณฑลเสฉวน และมณฑลส่านซี

เขตเวลานี้ยังเคยเป็นเวลามาตรฐานที่ใช้ในประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1905 จนถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1932

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Russia Time Zones – Russia Current Times". TimeTemperature.com. สืบค้นเมื่อ 20 November 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Russia Time Zone Map". WorldTimeZone.com. สืบค้นเมื่อ 22 March 2018.
  3. "HOVT – Hovd Time". Asian time zones. Time and Date. สืบค้นเมื่อ 14 July 2012.
  4. "Indonesia Time Zones – Indonesia Current Time". TimeTemperature.com. สืบค้นเมื่อ 27 October 2012.
  5. Gwlliam Law. "Provinces of Indonesia". Statoids. สืบค้นเมื่อ 27 October 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ UTC+07:00
  • Asian time zones