โรคแผลเปื่อยเพปติก
แผลเปื่อยเพปติก Peptic ulcer disease | |
---|---|
ชื่ออื่น | Peptic ulcer, stomach ulcer, gastric ulcer, duodenal ulcer |
แผลเปื่อยกระเพาะ | |
สาขาวิชา | วิทยาทางเดินอาหาร ศัลยกรรมทั่วไป |
อาการ | แสบร้อนกลางอก, ปวดท้องส่วนบน, คลื่นไส้, เรอ, อาเจียน, เลือดปนอุจจาระ, น้ำหนักลด, น้ำหนักเพิ่ม, ท้องอืด, เบื่ออาหาร[1] ผิวและตาขาวเป็นสีเหลือง, กลืนลำบาก |
ภาวะแทรกซ้อน | เลือดออก, ทางเดินอาหารทะลุ, แผลทะลุ, กระเพาะอาหารอุดตัน[2] |
สาเหตุ | Helicobacter pylori, ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์, การสูบบุหรี่, โรคโครห์น[1][3] |
วิธีวินิจฉัย | ขึ้นอยู่กับอาการ, ยืนยันโดยการส่องกล้อง หรือกลืนแบเรียม[1] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | มะเร็งกระเพาะอาหาร, โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ, การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร, ถุงน้ำดีอักเสบ[1] |
การรักษา | หยุดสูบบุหรี่, หยุด NSAID, หยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การให้ยา[1] |
ยา | ยายับยั้งการหลั่งกรด, สารต้านตัวรับเอช2, ยาปฏิชีวนะ[1][4] |
ความชุก | 87.4 ล้าน (2015)[5] |
การเสียชีวิต | 267,500 (2015)[6] |
โรคแผลเปื่อยเพปติก (อังกฤษ: Peptic ulcer disease หรือ PUD) คือการแตกที่เยื่อบุด้านในของกระเพาะอาหาร หรือในส่วนแรกของลำไส้เล็ก หรือบางครั้งเป็นในหลอดอาหารส่วนล่าง[1][7] แผลเปื่อยในกระเพาะอาหารจะเรียกว่า แผลเปื่อยกระเพาะ (gastric ulcer) ถ้าเป็นในส่วนแรกของลำไส้จะเรียกว่า แผลเปื่อยลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenal ulcer)[1] อาการที่พบบ่อยที่สุดของแผลเปื่อยลำไส้เล็กส่วนต้นคือ ตื่นตอนกลางคืนโดยมีอาการปวดท้องส่วนบน และอาการปวดท้องส่วนบนจะดีขึ้นเมื่อรับประทานอาหาร[1] ถ้าเป็นแผลเปื่อยกระเพาะ อาการปวดอาจแย่ลงเมื่อรับประทานอาหาร[8] อาการปวดมักเป็นปวดแบบแสบร้อน หรือปวดตื้อ[1] อาการอื่น ๆ ได้แก่ เรอ อาเจียน น้ำหนักลด หรือไม่อยากอาหาร[1] ผู้สูงอายุประมาณหนึ่งในสามจะไม่มีอาการใด ๆ[1] ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิด เช่น เลือดออกในกระเพาะและลำไส้ ทางเดินอาหารทะลุ และการอุดตันของกระเพาะอาหาร[2] โดยอาการเลือดออกเกิดขึ้นได้มากถึงร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคนี้[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 Najm WI (September 2011). "Peptic ulcer disease". Primary Care. 38 (3): 383–94, vii. doi:10.1016/j.pop.2011.05.001. PMID 21872087.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Milosavljevic T, Kostić-Milosavljević M, Jovanović I, Krstić M (2011). "Complications of peptic ulcer disease". Digestive Diseases. 29 (5): 491–3. doi:10.1159/000331517. PMID 22095016. S2CID 25464311.
- ↑ Steinberg KP (June 2002). "Stress-related mucosal disease in the critically ill patient: risk factors and strategies to prevent stress-related bleeding in the intensive care unit". Critical Care Medicine. 30 (6 Suppl): S362–4. doi:10.1097/00003246-200206001-00005. PMID 12072662.
- ↑ Wang AY, Peura DA (October 2011). "The prevalence and incidence of Helicobacter pylori-associated peptic ulcer disease and upper gastrointestinal bleeding throughout the world". Gastrointestinal Endoscopy Clinics of North America. 21 (4): 613–35. doi:10.1016/j.giec.2011.07.011. PMID 21944414.
- ↑ GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence Collaborators (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
{{cite journal}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Wang, Haidong; Naghavi, Mohsen; Allen, Christine; Barber, Ryan M.; Bhutta, Zulfiqar A.; Carter, Austin; Casey, Daniel C.; Charlson, Fiona J.; Chen, Alan Zian; Coates, Matthew M.; Coggeshall, Megan; Dandona, Lalit; Dicker, Daniel J.; Erskine, Holly E.; Ferrari, Alize J.; Fitzmaurice, Christina; Foreman, Kyle; Forouzanfar, Mohammad H.; Fraser, Maya S.; Fullman, Nancy; Gething, Peter W.; Goldberg, Ellen M.; Graetz, Nicholas; Haagsma, Juanita A.; Hay, Simon I.; Huynh, Chantal; Johnson, Catherine O.; Kassebaum, Nicholas J.; Kinfu, Yohannes; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/s0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
- ↑ "Definition and Facts for Peptic Ulcer Disease". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2015.
- ↑ Rao, S. Devaji (2014). Clinical Manual of Surgery (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 526. ISBN 9788131238714.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
- Gastric ulcer images
- "Peptic Ulcer". MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2020. สืบค้นเมื่อ 20 May 2020.