เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์
เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ | |
---|---|
ปัจจุบัน: เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ 2020 | |
![]() | |
รางวัลสำหรับ | ความสำเร็จที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมดนตรี |
ประเทศ | เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, เวียดนาม, ฮ่องกง และมาเก๊า |
นำเสนอโดย | ซีเจ อีแอนด์เอ็ม (เอ็มเน็ต) |
รางวัลแรก | 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 |
เว็บไซต์ | เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ |
โทรทัศน์/วิทยุ | |
เครือข่าย | ช่องเอ็มเน็ต โดยซีเจ อีแอนด์เอ็ม และเครือข่ายระหว่างประเทศอื่น ๆ |
เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (อังกฤษ: Mnet Asian Music Awards) หรือชื่อเรียกย่อว่า มามา (MAMA) เป็นงานประกาศผลรางวัลเพลงในประเทศเกาหลีใต้ จัดโดย CJ E&M Pictures ผ่านทางสถานีโทรทัศน์เอ็มเน็ต (Mnet)
ประวัติ[แก้]
งานประกาศผลรางวัลนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ภายใต้ชื่อ Mnet Km Music Festival (MKMF)[1] ซึ่งถือเป็นงานประกาศรางวัลทางด้านผลงานเพลงและมิวสิกวิดีโอของเกาหลีใต้รางวัลแรกและรางวัลเดียวในยุคนั้น[2] ภายหลังจากที่ครบรอบ 10 ปีของการมอบรางวัลในปี พ.ศ. 2551 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "Mnet Asian Music Awards" หรือ "MAMA" เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะเปลี่ยนชื่องานแล้วยังมีการเปลี่ยนคอนเซปต์ของงาน ประเภทของรางวัลที่มอบ รวมถึงวิธีการตัดสินและการโหวตให้กับศิลปินที่แฟนเพลงชื่นชอบ[1] โดยงานประกาศผลรางวัล MAMA นั้นได้ส่งสัญญาณถ่ายทอดสดทั้งในประเทศเกาหลีใต้, จีน, ญี่ปุ่น, ฮ่องกง รวมไปถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
ในปีพ.ศ. 2553 เป็นปีแรกที่งานประกาศรางวัล MAMA ได้จัดขึ้นนอกประเทศเกาหลีใต้ โดยได้จัดงานขึ้นที่ Venetian Resort Macao, มาเก๊า, ประเทศจีน และได้จัดงานนอกประเทศเกาหลีใต้มาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน
สโลแกนของงานประกาศประกาศรางวัล MAMA ในปีพ.ศ. 2552 ใช้สโลแกนว่า "Asian Wave" ต่อมาในปีพ.ศ. 2553 จึงได้เปลี่ยนเป็น "One Asia" และในปีพ.ศ. 2554 ได้เปลี่ยนสโลแกนอีกครั้งเป็น "Music Makes One" จนถึงปัจจุบัน
การมอบรางวัล[แก้]
การมอบรางวัลในยุคแรก (ช่วงปีพ.ศ. 2542-2548) จะมีการมอบรางวัลใหญ่หรือรางวัลแกรนด์ทั้งหมด 2 รางวัลคือ รางวัลมิวสิกวิดีโอแห่งปี (Music Video of the Year) และรางวัลมิวสิกวิดีโอยอดนิยม (Most Popular Music Video) และตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549-2560 ได้เปลี่ยนรูปแบบของรางวัลใหญ่เป็นทั้งหมด 3 รางวัลคือ รางวัลอัลบั้มแห่งปี (Album of the Year), รางวัลศิลปินแห่งปี (Artist of the Year) และรางวัลเพลงแห่งปี (Song of the Year) และตั้งแต่ปีพ.ศ. 2561 เป็นต้นมา ได้เพิ่มรางวัลใหญ่อีก 1 รางวัล นั่นคือ รางวัลไอคอนทั่วโลกแห่งปี (Worldwide Icon of the Year) และทุกรางวัลไม่ได้มาจากการโหวตใดๆทั้งสิ้น
การออกอากาศ[แก้]
การออกอากาศจะเป็นการถ่ายทอดสดในงาน มาม่า ซึ่งหลายประเทศ เช่น จีน เกาหลีใต้ และประเทศอื่นในทวีปอเมริกาและเอเชีย และการดูสำหรับทางออนไลน์ดูผ่านทางเว็ปไซด์ยูทูป [3]
พิธีกรและสถานที่จัดงาน[แก้]
ปี[A] | วันที่[4] | เมือง[4] | สถานที่[4] | พิธีกร |
---|---|---|---|---|
เอ็มเน็ตวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ (Mnet Video Music Awards) | ||||
1999 (ครั้งที่ 1) |
27 พฤศจิกายน | โซล | ยูนิเวอร์แซลอาตส์เซ็นเตอร์ | ชเว ฮัล-ลี |
เอ็มเน็ตมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล (Mnet Music Video Festival – MMF) | ||||
2000 (ครั้งที่ 2) |
24 พฤศจิกายน | โซล | ยูนิเวอร์แซลอาตส์เซ็นเตอร์ | ชา แทฮยอน และ คิม ฮยอน-จู |
2001 (ครั้งที่ 3) |
23 พฤศจิกายน | ชา แทฮยอน และ ซง ฮเย-กโย | ||
2002 (ครั้งที่ 4) |
29 พฤศจิกายน | ชิน ดง-ยอบ และ คิม จอง-อึน | ||
2003 (ครั้งที่ 5) |
27 พฤศจิกายน | มหาวิทยาลัยคยองฮี | ชา แทฮยอน และ ซ็อง ยู-รี | |
เอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล (Mnet Km Music Video Festival – MKMF) | ||||
2004 (ครั้งที่ 6) |
4 ธันวาคม | โซล | มหาวิทยาลัยคยองฮี | ชิน ดง-ยอบ และ จอง-อึน |
2005 (ครั้งที่ 7) |
27 พฤศจิกายน | โอลิมปิกยิมนาสติกอารีนา | ชิน ดง-ยอบ และ คิม อา-จุง | |
เอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกเฟสติวัล (Mnet Km Music Festival – MKMF) | ||||
2006 (ครั้งที่ 8) |
25 พฤศจิกายน | โซล | โอลิมปิกยิมนาสติกอารีนา | ชิน ดง-ยอบ และ คิม อก-บิน |
2007 (ครั้งที่ 9) |
17 พฤศจิกายน | ศูนย์กีฬากรุงโซล | ชิน ดง-ยอบ และ อี ดาแฮ | |
2008 (ครั้งที่ 10) |
15 พฤศจิกายน | เรน | ||
เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (Mnet Asian Music Awards – MAMA) | ||||
2009 (ครั้งที่ 11) |
21 พฤศจิกายน | โซล | ศูนย์กีฬากรุงโซล | ไทเกอร์ เจเค |
2010 (ครั้งที่ 12) |
28 พฤศจิกายน | มาเก๊า | โคไทอารีนา, เดอะเวนีเชียนมาเก๊า | – |
2011 (ครั้งที่ 13) |
29 พฤศจิกายน | สิงคโปร์ | สนามกีฬาในร่มสิงคโปร์ | อี บย็อง-ฮ็อน |
2012 (ครั้งที่ 14) |
30 พฤศจิกายน | ฮ่องกง | ศูนย์นิทรรศการและการประชุมฮ่องกง | ซง จุง-กี |
2013 (ครั้งที่ 15) |
22 พฤศจิกายน | เอเชียเวิลด์–อารีนา | อี ซึง-กี | |
2014 (ครั้งที่ 16) |
3 ธันวาคม | ซง ซึง-ฮ็อน | ||
2015 (ครั้งที่ 17) |
2 ธันวาคม | ไซ | ||
2016 (ครั้งที่ 18) |
2 ธันวาคม | อี บย็อง-ฮ็อน | ||
2017 (ครั้งที่ 19) |
25 พฤศจิกายน | นครโฮจิมินห์ | โรงละครฮัวบินห์ | ธู มินห์ |
29 พฤศจิกายน | โยโกฮามะ | โยโกฮามะอารีนา | พัก โบ-ก็อม | |
30 พฤศจิกายน | ฮ่องกง | ดับเบิ้ลยูฮ่องกง | – | |
1 ธันวาคม | เอเชียเวิลด์–อารีนา | ซง จุง-กี | ||
2018 (ครั้งที่ 20) |
10 ธันวาคม | โซล | ทงแดมุนดีไซน์พลาซ่า | จอง แฮ-อิน |
12 ธันวาคม | ไซตามะ | ไซตามะซูเปอร์อารีนา | พัก โบ-ก็อม | |
14 ธันวาคม | ฮ่องกง | เอเชียเวิลด์–อารีนา | ซง จุง-กี | |
2019 (ครั้งที่ 21) |
4 ธันวาคม | นาโงยะ | นาโกย่าโดม | พัก โบ-ก็อม |
2020 (ครั้งที่ 22) |
6 ธันวาคม | กิจกรรมออนไลน์ ถ่ายทอดสดจากซีเจ อีเอ็นเอ็ม คอนเทนต์ส เวิลด์ ที่พาจู ประเทศเกาหลีใต้[5] | ซง จุง-กี |
A แต่ละปีในตารางจะลิงก์ไปยังบทความของพิธีมอบรางวัลในปีนั้น ๆ
ประเภทรางวัล[แก้]
รางวัลแกรนด์
รางวัลแบ่งตามประเภทศิลปิน
รางวัลแบ่งตามประเภทการแสดง
|
รางวัลอื่นๆ
รางวัลพิเศษ
รางวัลที่ยกเลิกการมอบไปแล้ว
|
ชนะมากที่สุด[แก้]
รางวัลแดซัง[แก้]
- รายชื่อศิลปินที่ได้รับรางวัล แดซัง 2 รางวัลขึ้นไป
(ประกอบด้วย ศิลปินแห่งปี, อัลบั้มแห่งปี, เพลงแห่งปี และไอคอนทั่วโลกแห่งปี)
ศิลปิน | ชุดบันทึก | ปีแรกที่ได้รับรางวัล | ปีล่าสุดที่ได้รับรางวัล |
---|---|---|---|
บีทีเอส | 13 | 2016 | 2020 |
เอ็กโซ | 6 | 2013 | 2017 |
บิกแบง | 5 | 2008 | 2015 |
ทูเอนีวัน | 4 | 2009 | 2011 |
ทไวซ์ | 3 | 2016 | 2018 |
ซูเปอร์จูเนียร์ | 2007 | 2012 | |
จี-ดรากอน | 2 | 2009 | 2013 |
ทงบังชินกี | 2005 | 2008 | |
เอสจี วอนนาบี | 2006 | 2006 | |
โบอา | 2002 | 2004 | |
เอชโอที | 1999 | 2000 |
รางวัลการแข่งขัน[แก้]
- รายชื่อศิลปินที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน 2 รางวัลขึ้นไป
ศิลปิน | ชุดบันทึก | ปีแรกที่ได้รับรางวัล | ปีล่าสุดที่ได้รับรางวัล* |
---|---|---|---|
บีทีเอส | 8 | 2015 | 2020 |
ไอยู | 2011 | 2020 | |
ทไวซ์ | 7 | 2015 | 2019 |
ไอลี | 6 | 2012 | 2017 |
ซีเอ็นบลู | 5 | 2010 | 2016 |
บิกแบง | 2007 | 2015 | |
เอพิกไฮ | 2005 | 2014 | |
จี-ดรากอน | 2007 | 2013 | |
ทูเอนีวัน | 2009 | 2011 | |
โบอา | 2000 | 2010 | |
ชินฮวา | 2001 | 2007 | |
วอนนาวัน | 4 | 2017 | 2018 |
เอ็กโซ | 2012 | 2016 | |
ซิโค่ | 3 | 2016 | 2020 |
เกิลส์เจเนอเรชัน | 2011 | 2015 | |
แทยัง | 2010 | 2014 | |
มิสเอ | 2010 | 2011 | |
แบ็กฮย็อน | 2 | 2019 | 2020 |
แบล็กพิงก์ | 2020 | 2020 | |
เซเวนทีน | 2017 | 2019 | |
แท-มิน | 2016 | 2017 | |
เรดเวลเวต | 2015 | 2017 | |
แทย็อน | 2015 | 2016 | |
ชายนี | 2008 | 2015 | |
อินฟินิต | 2013 | 2014 | |
ซิสตาร์ | 2012 | 2014 | |
ทูพีเอ็ม | 2009 | 2014 | |
อี ซึง-กี | 2004 | 2013 | |
ไซ | 2005 | 2012 | |
เพ็ก จี-ยอง | 2006 | 2011 | |
เอสจี วอนนาบี | 2005 | 2008 | |
โคโยเต | 2001 | 2005 | |
โช ซองโม | 1999 | 2004 | |
*ศิลปินที่ได้รับรางวัลมากที่สุด และปีล่าสุดที่ได้รับจะมีรายชื่อเป็นอันดับหนึ่ง |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "MKMF goes into history" Asiae. 20 October 2009. Retrieved 2012-04-17
- ↑ "2013 Mnet Asian Music Awards (MAMA) Nominees has been Announced...Let the Voting Begin!". Kpopstarz. Retrieved 2014-06-16.
- ↑ "International Live Broadcasting Time Notice". 2010 Mnet Asian Music Awards. Mnet Media Corp. November 12, 2010. สืบค้นเมื่อ February 26, 2011.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "MAMA History". Mnet Global (ภาษาอังกฤษ). CJ E&M. สืบค้นเมื่อ 2018-02-09.
- ↑ Kim, Ron (September 20, 2020). "2020 MAMA Will Be Held In Korea For The First Time In 11 Years With BTS Attending". koreaboo.com (ภาษาอังกฤษ). Koreaboo. สืบค้นเมื่อ December 9, 2020.