ไซตามะซูเปอร์อารีนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไซตามะซูเปอร์อารีนา
ภาพถ่ายไซตามะซูเปอร์อารีนา ใน พ.ศ. 2548
แผนที่
ชื่อเดิมไซตามะอารีนา
ที่ตั้งญี่ปุ่น ชินโตชิง เขตชูโอ ไซตามะ จังหวัดไซตามะ
พิกัด35°53′41.60″N 139°37′51.00″E / 35.8948889°N 139.6308333°E / 35.8948889; 139.6308333พิกัดภูมิศาสตร์: 35°53′41.60″N 139°37′51.00″E / 35.8948889°N 139.6308333°E / 35.8948889; 139.6308333
เจ้าของบริษัทไซตามะอารีนา จำกัด
ผู้ดำเนินการบริษัทไซตามะอารีนา จำกัด
ความจุ36,500
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนาม1 กันยายน พ.ศ. 2543
งบประมาณในการก่อสร้าง64,965 ล้านเยน
สถาปนิกสถาปนิกจังหวัดไซตามะ
ดูในบทความ
ผู้จัดการโครงการมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์
ไทเซ
ยูดีเค

ไซตามะซูเปอร์อารีนา (ญี่ปุ่น: さいたまスーパーアリーナโรมาจิSaitama Sūpā Arīna) เป็นสนามกีฬาเอนกประสงค์ในร่ม ตั้งอยู่ในเขตชูโอ ไซตามะ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น สามารถจุคนได้สูงสุดสามหมื่นหกพันห้าร้อยคน แต่ในยามแข่งขันกีฬา เช่น บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, เทนนิส, ฮอกกี้น้ำแข็ง, ยิมนาสติก, มวย, ศิลปะการต่อสู้แบบผสม และมวยปล้ำอาชีพ จะจำกัดความจุไว้ราวหนึ่งหมื่นเก้าพันคนถึงสองหมื่นสองพันห้าร้อยคนเท่านั้น

ไซตามะซูเปอร์อารีนาเป็นสนามกีฬาญี่ปุ่นแห่งเดียวที่มีอุปกรณ์เตรียมพร้อมไว้สำหรับอเมริกันฟุตบอลเป็นการเฉพาะ ในสนาม ประกอบด้วยที่นั่งขนาดยักษ์ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ สำหรับจะลดความจุลงในเมื่อจัดกิจกรรมขนาดเล็ก และยังมีพิพิธภัณฑสถานจอห์นเลนนอน ซึ่งจัดแสดงสิ่งเตือนความจำถึงจอห์น เลนนอน

การแข่งขันมวยปล้ำอาชีพและศิลปะการต่อสู้แบบผสมมักจัดขึ้นที่นี้

ประวัติ[แก้]

โครงการสร้างสนามกีฬาในร่มขนาดใหญ่ในจังหวัดไซตามะ เริ่มใน พ.ศ. 2537 โดยให้เรียกชื่อสนามกีฬาว่า "ไซตามะอารีนา" ไปพลางก่อน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2540 มีการจัดตั้งบริษัทไซตามะอารีนา จำกัด ขึ้นบริหาร ครั้นวันที่ 12 เดือนเดียวกันนั้น มีการเลือกและประกาศชื่อสนามกีฬาอย่างเป็นทางการว่า "ไซตามะซูเปอร์อารีนา" ออกแบบโดย แดน เมส์ (Dan Meis) สถาปนิกชาวสหรัฐอเมริกา จากบริษัทเอลเลอร์เบเบ็กเกต จำกัด (Ellerbe Becket) ร่วมกับ ทีมออกแบบนิกเก็งเซกเก/แมส 2000 (Nikken Sekkei/MAS 2000 Design Team) ส่วนการก่อสร้างดำเนินการโดยกิจการร่วมค้าระหว่าง บริษัทไทเซ จำกัด (Taisei), บริษัทมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ จำกัด (Mitsubishi Heavy Industries) และ บริษัทยูดีเค จำกัด (UDK) [1]

ทั้งสามบริษัทลงมือก่อสร้างในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 นั้น แล้วเสร็จและเปิดอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยสถานีวิทยุเอ็นเอชเคประกาศเชิญชวนประชาชนไปเข้าชมและออกกำลังกาย ต่อมาวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ และในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2543 ได้จัดกิจกรรมครั้งแรก เป็นการแข่งขันบาสเกตบอลนานาชาติระหว่างญี่ปุ่นและสเปน ใช้ชื่อว่า "ซูเปอร์ดรีมเกม 2000" (Super Dream Game 2000) และจัดคอนเสิร์ตในวันที่ 10 กันยายน

การเข้าถึง[แก้]

  • ทางรถยนต์ จากโตเกียว ใช้ทางด่วนสายชูโต และออกที่ทางออกไซตามะชินโตชิง-โอมิยะ ก็สามารถเข้าสู่สนามกีฬาได้ทันที มีที่จอดรถ รองรับได้เจ็ดร้อยคัน ค่าธรรมเนียมชั่วโมงแรกสี่ร้อยเยน หลังจากนั้น ทุก ๆ สามสิบนาที คิดค่าธรรมเนียมสองร้อยเยน
  • ทางรถไฟ
  • ทางเครื่องบิน[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Saitama Super Arena เก็บถาวร 2011-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  2. 京浜東北線の駅 (ในภาษาญี่ปุ่น)
  3. 高崎線の駅 (ในภาษาญี่ปุ่น)
  4. さいたま新都心 (ในภาษาญี่ปุ่น)
  5. JR東北本線 (宇都宮線) เก็บถาวร 2011-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาญี่ปุ่น)
  6. SAITAMA SUPER ARENA เก็บถาวร 2011-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  7. Keisei Bus เก็บถาวร 2011-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]