เมลานีเชีย
ศัพท์ เมลานีเชีย (อังกฤษ: Melanesia) เป็นอนุภูมิภาคของโอเชียเนียในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ มีขอบเขตจากนิวกินีของอินโดนีเซียทางตะวันตกถึงหมู่เกาะฟีจีทางตะวันออก โดยรวมทะเลอาราฟูราด้วย
อนุภูมิภาคนี้มีประเทศ 4 ประเทศ คือ ฟีจี, วานูวาตู, หมู่เกาะโซโลมอน และปาปัวนิวกินี และยังรวมนิวแคลิโดเนีย ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส หมู่เกาะช่องแคบตอร์เรส และนิวกินีส่วนของอินโดนีเซีย อนุภูมิภาคนี้ทั้งหมดอยู่ในซีกโลกเหนือ
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ชื่อ Melanesia มาจากภาษากรีกว่า μέλας ดำ และ νῆσος เกาะ รวมกันหมายถึง "หมู่เกาะ[ชนผิว]ดำ" สื่อถึงผู้อยู่อาศัยที่มีผิวดำ
แนวคิด Melanesia ในฐานะภูมิภาคต่างหากของชาวยุโรปค่อย ๆ พัฒนาไปตามกาลเวลาเมื่อคณะสำรวจทำแผนที่และสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิก นักสำรวจชาวยุโรปยุคแรกบันทึกความแตกต่างทางกายภาพระหว่างกลุ่มชาวเกาะแปซิฟิก ใน ค.ศ. 1756 Charles de Brosses ตั้งทฤษฎีว่า เคยมี "ชนผิวดำโบราณ" ในแปซิฟิกที่เคยพิชิตหรือเอาชนะกลุ่มคนที่ปัจจุบันคือพอลินีเชีย ซึ่งเขาแยกจากการที่มีสีผิวขาวกว่า[1]: 189–190 ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 Jean Baptiste Bory de Saint-Vincent และ Jules Dumont d'Urville จัดให้ชาวเมลานีเชียเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่างหาก[2][3] : 165
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิศาสตร์ทางการเมือง
[แก้]ประเทศเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของเมลานีเชีย
นอกจากนี้ ยังมีบางประเทศอยู่ในเมลานีเชียด้วย:
- อินโดนีเซีย[หมายเหตุ 2] – นิวกินีตะวันตก: จังหวัดปาปัวกลาง, จังหวัดปาปัวที่สูง, จังหวัดปาปัว, จังหวัดปาปัวใต้, จังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้ และ จังหวัดปาปัวตะวันตก
- นิวแคลิโดเนีย[หมายเหตุ 3] – ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ในทางภูมิศาสตร์ เกาะนิวกินีฝั่งตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของทวีปออสเตรเลีย
- ↑ ในทางภูมิศาสตร์ เกาะนิวกินีฝั่งตะวันตกเป็นส่วนหนึ่งของทวีปออสเตรเลีย
- ↑ ในทางภูมิศาสตร์ นิวแคลิโดเนียเป็นส่วนหนึ่งของทวีปซีแลนเดีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Tcherkezoff, Serge (2003). "A Long and Unfortunate Voyage Toward the Invention of the Melanesia-Polynesia Distinction 1595–1832". Journal of Pacific History. 38 (2): 175–196. doi:10.1080/0022334032000120521. S2CID 219625326.
- ↑ "MAPS AND NOTES to illustrate the history of the European 'invention' of the Melanesia / Polynesia distinction". สืบค้นเมื่อ 7 March 2013.
- ↑ Durmont D'Urville, Jules-Sebastian-Cesar (2003). "On The Islands of The Great Ocean". Journal of Pacific History. 38 (2): 163–174. doi:10.1080/0022334032000120512. S2CID 162374626.