โฮโม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โฮโม
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ช่วงอายุเพียเชนเซียนปัจจุบัน, 2.8–0Ma
Homo habilis
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับวานร
อันดับย่อย: Haplorhini
อันดับฐาน: Simiiformes
วงศ์: ลิงใหญ่
เผ่า: โฮมินินิ
สกุล: โฮโม
Linnaeus, 1758
ชนิดต้นแบบ
Homo sapiens
Linnaeus, 1758
สปีชีส์
ชื่อพ้อง
ชื่อพ้อง
  • Africanthropus Dreyer, 1935
  • Atlanthropus Arambourg, 1954
  • Cyphanthropus Pycraft, 1928
  • Palaeanthropus Bonarelli, 1909
  • Palaeoanthropus Freudenberg, 1927
  • Pithecanthropus Dubois, 1894
  • Protanthropus Haeckel, 1895
  • Sinanthropus Black, 1927
  • Tchadanthropus Coppens, 1965
  • Telanthropus Broom & Anderson 1949

โฮโม เป็นสกุล ซึ่งนับรวมเอามนุษย์สมัยใหม่ทางกายวิภาคและสปีชีส์ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด สกุลนี้ประเมินว่ามีอายุระหว่าง 2.3 ถึง 2.4 ล้านปี[1][2] วิวัฒนามาจากบรรพบุรุษออสตราโลพิเธคัสโดยมีลักษณะภายนอกของ Homo habilis ลักษณะเฉพาะของชนิด H. habilis สันนิษฐานว่าจะเป็นผู้สืบเชื้อสายโดยตรงของ Australopithecus garhi ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อราว 2.5 ล้านปีก่อน พัฒนาการทางสรีรวิทยาที่สำคัญที่สุดระหว่างสองสปีชีส์นี้คือการเพิ่มขึ้นของความจุกะโหลก จาก 450 ซีซีใน A. garhi เป็น 600 ซีซีใน H. habilis ในสกุล โฮโม ความจุกะโหลกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก H. habilis เป็น H. heidelbergensis เมื่อ 0.6 ล้านปีก่อน ความจุกะโหลกของ H. heidelbergensis คาบเกี่ยวกันกับพิสัยความจุกะโหลกที่พบในมนุษย์สมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 H. gautengensis ถูกค้นพบ ซึ่งเป็นสปีชีส์ที่เชื่อกันว่าเก่าแก่กว่า H. habilis เสียอีก[3]

การปรากฏขึ้นของสกุล โฮโม คาดกันว่าน่าจะเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับหลักฐานเครื่องมือหินชิ้นแรก ซึ่งตามนิยามในทางประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเริ่มต้นของยุคหินเก่า อย่างไรก็ตาม หลักฐานล่าสุดจากเอธิโอเปียชี้ว่าหลักฐานการใช้อุปกรณ์หินที่เก่าแก่ที่สุดมีตั้งแต่ก่อน 3.39 ล้านปีมาแล้ว[4] การถือกำเนิดขึ้นของ โฮโม คาดว่าอยู่ในช่วงเดียวกันกับการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงโดยธารน้ำแข็งยุคควอเทอร์นารี อันเป็นจุดเริ่มต้นของยุคน้ำแข็งปัจจุบัน

ทุกสปีชีส์ในสกุลยกเว้น Homo sapiens (มนุษย์สมัยใหม่) ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว Homo neanderthalensis ซึ่งแต่เดิมเชื่อกันว่าเป็นสปีชีส์ที่ใกล้ชิดกับมนุษย์สมัยใหม่มากที่สุด สูญพันธุ์ไปเมื่อ 24,000 ปีที่แล้ว ขณะที่การค้นพบล่าสุดแนะว่าอีกสปีชีส์หนึ่ง Homo floresiensis อาจมีชีวิตอยู่จนถึง 12,000 ปีก่อน

อ้างอิง[แก้]

  1. Stringer, C.B. (1994). "Evolution of early humans". ใน Steve Jones; Robert Martin; David Pilbeam (eds.) (บ.ก.). The Cambridge Encyclopedia of Human Evolution. Cambridge: Cambridge University Press. p. 242. ISBN 0-521-32370-3. {{cite book}}: |editor3= มีชื่อเรียกทั่วไป (help) Also ISBN 0-521-46786-1 (paperback)
  2. McHenry, H.M (2009). "Human Evolution". ใน Michael Ruse; Joseph Travis (บ.ก.). Evolution: The First Four Billion Years. Cambridge, Massachusetts: The Belknap Press of Harvard University Press. p. 265. ISBN 978-0-674-03175-3.
  3. ""Toothy Tree-Swinger May Be Earliest Human"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-02. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.
  4. McPherron, S. P., Z. Alemseged, C. W. Marean, J. G. Wynn, D. Reed, D. Geraads, R. Bobe, and H. A. Bearat. 2010. Evidence for stone-tool-assisted consumption of animal tissues before 3.39 million years ago at Dikika, Ethiopia. Nature 466:857-860.