47 หมีใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
47 หมีใหญ่
47 หมีใหญ่ตั้งอยู่ใน100x100
47 หมีใหญ่

จุดสีแดงแสดงตำแหน่งของดาว 47 หมีใหญ่ ในกลุ่มดาวหมีใหญ่
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000.0      วิษุวัต J2000.0
กลุ่มดาว กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major)
ไรต์แอสเซนชัน 10h 59m 27.97s[1]
เดคลิเนชัน +40° 25′ 48.9″[1]
ความส่องสว่างปรากฏ (V) +5.03
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมG1V
ดัชนีสี U-B0.13
ดัชนีสี B-V0.61
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)+12.6 km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: –317.01 ± 0.22[1] mas/yr
Dec.: 54.64 ± 0.20[1] mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)71.11 ± 0.25[1] mas
ระยะทาง45.9 ± 0.2 ly
(14.06 ± 0.05 pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)4.41[2]
รายละเอียด
มวล1.08[3] M
รัศมี1.172 ± 0.111 [4] R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)4.377[3]
กำลังส่องสว่าง1.48[note 1] L
อุณหภูมิ5887 ± 3.8 [5] K
ค่าความเป็นโลหะ110% solar[3]
ความเร็วในการหมุนตัว (v sin i)2.80[3] km/s
อายุ6.03 × 109[6] ปี
ชื่ออื่น
Chalawan, BD+41°2147, FK5 1282, GC 15087, GCTP 2556.00, Gliese 407, HD 95128, HIP 53721, HR 4277, LTT 12934, SAO 43557
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADThe star
planet b
planet c
planet d
Exoplanet Archivedata
ARICNSdata
สารานุกรม
ดาวเคราะห์นอกระบบ
data

47 หมีใหญ่ (47 Ursae Majoris ย่อเป็น 47 UMa) หรือชื่อว่าชาละวัน เป็นดาวแคระเหลืองอยู่ห่างจากโลกประมาณ 46 ปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่ ในปี พ.ศ. 2554 เชื่อว่าดาวเคราะห์นอกระบบสามดวงชื่อ (47 หมีใหญ่ บี, ซีและดี ซึ่งสองดวงแรกได้ชื่อว่าตะเภาทองและตะเภาแก้ว) โคจรรอบดาวฤกษ์นี้

47 หมีใหญ่ตั้งอยู่ค่อนข้างใกล้กับระบบสุริยะ จากข้อมูลของการวัดวิชาการวัดตำแหน่งดาวโดยดาวเทียมวัดตำแหน่งดาวฮิปพาร์คอส ดาวนี้มีพารัลแลกซ์ 71.11 มิลลิพิลิปดา สอดคล้องกับระยะทาง 45.913 ปีแสง ดาวนี้มีความส่องสว่างปรากฏ +5.03 ซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและมีความส่องสว่างสัมบูรณ์ +4.29 หมายความว่า ความสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 60% ดาวนี้เป็นแฝดดวงอาทิตย์ (solar analog) ด้วยชนิดสเปกตรัม G1V มีมวลพอ ๆ กับดวงอาทิตย์แต่ร้อนกว่าประมาณ 5,882 K[3] และเป็นโลหะมากกว่าเล็กน้อย คือ ประมาณ 110% ของความอุดม (abundance) เหล็กของดวงอาทิตย์

เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ 47 หมีใหญ่อยู่บนลำดับหลัก โดยเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน โดยอาศัยกัมมันตภาพโครโมสเฟียร์ ดาวฤกษ์นี้อาจมีอายุประมาณ 6,000 ล้านปี แม้แบบจำลองวิวัฒนาการแนะว่าอายุอาจสูงถึงประมาณ 8,700 ล้านปี[6] การศึกษาอื่นประมาณอายุดาวนี้ไว้ระหว่าง 4,400 ถึง 7,000 ล้านปี[7]

ชื่อ[แก้]

47 Ursae Majoris เป็นชื่อในระบบแฟลมสตีด (Flamsteed designation) และในการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบของดาว 47 Ursae Majoris จึงถูกกำหนดชื่อต่อเนื่องเป็น 47 Ursae Majoris b, c และ d

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ได้ประกาศกระบวนการกำหนดชื่อที่เหมาะสมแก่ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะและดาวฤกษ์แม่[8] กระบวนการดำเนินโดยการเสนอชื่อสาธารณะและการเลือกโดยการลงคะแนน[9] ซึ่งในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้ประกาศชื่อสามัญให้กับดาว 47 Ursae majoris ใหม่ว่า "ดาวชาละวัน" (Chalawan) อันเป็นชื่อสามัญของดาวฤกษ์เป็นภาษาไทยครั้งแรก[10] ส่วนดาวเคราะห์ในระบบของดาว 47 หมีใหญ่ อีก 2 ดวง คือดาว 47 Ursae majoris b (ดาว 47 หมีใหญ่ บี) และดาว 47 Ursae majoris c (ดาว 47 หมีใหญ่ ซี) ได้ชื่อสามัญว่า "ดาวตะเภาทอง" (Taphao Thong) และ "ดาวตะเภาแก้ว" (Taphao Kaew) ตามลำดับ โดยชื่อทั้ง 3 เสนอโดยสมาคมดาราศาสตร์ไทย[11] (ชาละวัน นอกจากเป็นชื่อในนิทานพื้นบ้านแล้ว 'Chalawan' ยังเป็นชื่อที่กำหนดให้กับสกุล ในอันดับจระเข้ที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งมีสายพันธุ์เดียวคือ Chalawan thailandicus[12])

ในปี พ.ศ. 2559 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้จัดทำคณะทำงานเกี่ยวกับชื่อดาว (WGSN)[13] เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อและกำหนดมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับชื่อดาว ในแถลงการณ์ฉบับแรกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559[14] คณะทำงานฯ ได้ระบุชื่อดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะและดาวฤกษ์แม่ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก คณะกรรมการบริหารการตั้งชื่อสาธารณะของดาวเคราะห์และบริวารดาวเคราะห์ รวมถึงชื่อของดาวฤกษ์ที่ได้รับในระหว่างกระบวนการรณรงค์กำหนดชื่อในปี พ.ศ. 2558 (2015 NameExoWorlds) ปัจจุบันดาวดวงนี้อยู่ในบัญชีรายชื่อดาวของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล[15]

ระบบดาวเคราะห์[แก้]

ในปีพ.ศ. 2539 ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ 47 หมีใหญ่ บี ถูกประกาศการค้นพบโดยโคจรรอบดาวฤกษ์ 47 หมีใหญ่ โดย Geoffrey Marcy และ R. Paul Butler การค้นพบนี้เกิดขึ้นจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนด็อพเพลอร์ของสเปกตรัมของดาว ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของความเร็วเชิงรัศมีของดาว เช่นเดียวกับเมื่อมีแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ดึงไปรอบ ๆ[16] ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ค้นพบดวงแรก ที่มีคาบการโคจรระยะยาวต่างจากดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะส่วนใหญ่ มีวงโคจรที่มีความเยื้องศูนย์ต่ำ ดาวเคราะห์มีมวลอย่างน้อย 2.53 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดีและใช้เวลา 1,078 วันหรือ 2.95 ปีเพื่อโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงแม่ หากนำมาเปรียบเทียบกับระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ดวงนี้จะมีวงโคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี[17]

วงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบ 47 หมีใหญ่, วงโคจรของ 47 หมีใหญ่ ดี ยังไม่ทราบแน่ชัดในขณะนี้; ทั้ง 47 หมีใหญ่ ซี และ ดี น่าจะมีวงโคจรเป็นวงกลม

ในปีพ.ศ. 2544 การตรวจวัดทางดาราศาสตร์เบื้องต้นโดยเครื่องมือวัดของดาวเทียม Hipparcos ชี้ให้เห็นว่าวงโคจรของ 47 หมีใหญ่ บี นั้นมีมุมเอียง 63.1° กับระนาบของท้องฟ้าซึ่งหมายความว่ามวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นั้นอยู่ที่ 2.9 เท่าของดาวพฤหัสบดี[18] อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ที่ตามมาชี้ให้เห็นว่าการวัดโดย Hipparcos นั้นไม่แม่นยำพอที่จะระบุวงโคจรของดาวบริวารของดาวฤกษ์ได้อย่างแม่นยำ และยังไม่ทราบความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริง[19]

มีการประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่สอง (47 หมีใหญ่ ซี) ในปี พ.ศ. 2545 โดย Debra Fischer, Geoffrey Marcy และ R. Paul Butler การค้นพบนี้ทำขึ้นโดยใช้วิธีวัดความเร็วเชิงรัศมีเช่นเดียวกัน จากข้อมูลของ Fischer และคณะ ดาวเคราะห์ดวงนี้ใช้เวลาประมาณ 2,391 วันหรือ 6.55 ปีในคาบการโคจร ระยะเวลาของค่านี้คล้ายกับ อัตราส่วนคาบการโคจรของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ในระบบสุริยะ โดยมีอัตราส่วนวงโคจร (ใกล้กับ 5: 2) และอัตราส่วนมวลใกล้เคียงกัน[20] การตรวจวัดครั้งต่อมาไม่สามารถยืนยันการมีอยู่ของดาวเคราะห์ดวงที่สองได้ และมีการบันทึกไว้ว่าชุดข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบการมีอยู่ของดาว มีค่าตัวแปรของดาวเคราะห์ที่ "เกือบจะไม่สามารถกำหนดค่าได้" [21] การวิเคราะห์ชุดข้อมูลที่ยาวกว่าซึ่งครอบคลุมมากกว่า 6,900 วันแสดงให้เห็นว่า ดาวเคราะห์ดวงที่สองในระบบมีความน่าจะเป็นต่ำที่จะมีระยะเวลาโคจรใกล้เคียง 2,500 วัน และแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดให้ระยะเวลาการโคจร 7,586 วัน ระยะทาง 7.73 หน่วยดาราศาสตร์จากดาวฤกษ์แม่ อย่างไรก็ตามตัวแปรของดาวเคราะห์ดวงที่สองยังคงมีความไม่แน่นอนสูง[22] ในทางตรงกันข้ามจากบัญชีรายชื่อของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ใกล้เคียงนั้นให้ระยะเวลาโคจร 2,190 วันซึ่งจะทำให้ช่วงเวลาการโคจรของดาวเคราะห์สองดวงใกล้เคียงกับอัตราส่วน 2: 1 ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ได้รับการนำเสนอโดยสารานุกรมดาวเคราะห์นอกระบบ (Extrasolar Planets Encyclopaedia)[23] แต่แม้ว่าการอ้างอิงสำหรับตัวแปรเหล่านี้จะไม่แน่นอน: ต้นฉบับรายงานของ Fischer และคณะ ยังถูกใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง ทั้ง ๆ ที่รายงานให้ค่าตัวแปรที่แตกต่างกัน[20][24]

ในปี พ.ศ. 2553 การค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่สาม (47 หมีใหญ่ ดี) กระทำโดยใช้แบบจำลอง Bayesian Kepler Periodogram ซึ่งการใช้แบบจำลองของระบบดาวเคราะห์นี้ได้มีการพิจารณาแล้วว่ามีแนวโน้มที่จะมีดาวเคราะห์สามดวงมากกว่า 100,000 เท่าของการมีดาวเคราะห์สองดวง การค้นพบนี้ได้รับการประกาศโดย Debra Fischer และ P.C Gregory ดาวเคราะห์มวล 1.64 เท่าของดาวพฤหัสบดีนี้มีคาบการโคจร 14,002 วันหรือ 38.33 ปีและกึ่งแกนเอกของวงโคจรมีระยะ 11.6 หน่วยดาราศาสตร์ มีค่าความเยื้องศูนย์กลางระดับปานกลางที่ 0.16 [17] ดาวดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีระยะคาบการโคจรยาวที่สุดที่ค้นพบโดยวิธีการวัดความเร็วเชิงรัศมี แม้ว่าจะมีดาวเคราะห์ที่มีระยะคาบการโคจรยาวถูกค้นพบก่อนหน้านี้ แต่เป็นด้วยวิธีการถ่ายภาพโดยตรงและการวัดจังหวะพัลซาร์

การจำลองชี้ให้เห็นว่าส่วนด้านในของเขตอาศัยได้ของระบบ 47 หมีใหญ่ สามารถเป็นที่อยู่ของดาวเคราะห์ที่อยู่อาศัยได้ในวงโคจรที่มั่นคง แม้ว่าบริเวณรอบนอกของเขตอาศัยได้ จะถูกรบกวนโดยอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ 47 หมีใหญ่ บี[25] อย่างไรก็ตามการปรากฏตัวของดาวเคราะห์ยักษ์ภายในระยะทาง 2.5 หน่วยดาราศาสตร์จากดาวฤกษ์ อาจส่งผลกระทบต่อการก่อตัวดาวเคราะห์ในระบบชั้นใน และลดปริมาณน้ำที่ส่งไปยังดาวเคราะห์ชั้นในในช่วงการก่อตัว[26] นี่อาจหมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่อาศัยได้ที่โคจรอยู่ในเขตอาศัยได้ของ 47 หมีใหญ่ มีขนาดเล็กและแห้ง

มีข้อความจากโครงการ METI สองข้อความส่งถึง 47 หมีใหญ่ โดยทั้งคู่ถูกส่งจากเรดาร์ Evpatoria Planetary Radar (EPR) ที่ใหญ่ที่สุดของทวีปยูเรเชียในไครเมีย – ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 70 เมตร (230 ฟุต) ข้อความแรกชื่อ "Teen Age Message" ถูกส่งเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544 และจะไปถึง 47 หมีใหญ่ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2590 ข้อความที่สองชื่อ "Cosmic Call 2" ถูกส่งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 และจะไปถึง 47 หมีใหญ่ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2592 [27] เนื่องจากดาวเคราะห์ในระบบ 47 หมีใหญ่ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 100 ดาวเป้าหมายสำหรับอดีตภารกิจขององค์การนาซา ในการค้นหาดาวที่สามารถอยู่อาศัยได้

ระบบดาวเคราะห์ 47 หมีใหญ่[17]
ดาวเคราะห์
(ตามลำดับจากดาว)
มวล กึ่งแกนเอก
(AU)
คาบการโคจร
(วัน)
ความเยื้องศูนย์กลาง ความเอียงของวงโคจร รัศมี
บี (ตะเภาทอง) >2.53+0.07
−0.06
 MJ
2.10 ± 0.02 1078 ± 2 0.032 ± 0.014
ซี (ตะเภาแก้ว) >0.540+0.066
−0.073
 MJ
3.6 ± 0.1 2391+100
−70
0.098+0.047
−0.096
47 หมีใหญ่ ดี >1.64+0.29
−0.48
 MJ
11.6+2.1
−2.9
14002+4018
−5095
0.16+0.09
−0.16

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. จาก L=4πR2 σT4eff, เมื่อ L คือค่าการส่องสว่าง, R คือรัศมี, Teff คือผลจากอุณหภูมิพื้นผิว และ σ คือค่าคงที่ สเตฟาน–โบลทซ์มานน์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 F. van Leeuwen (2007). "HIP 53721". Hipparcos, the New Reduction. สืบค้นเมื่อ 2009-12-08.
  2. Elgarøy, Øystein; Engvold, Oddbjørn; และคณะ (March 1999), "The Wilson-Bappu effect of the MgII K line - dependence on stellar temperature, activity and metallicity", Astronomy and Astrophysics, 343: 222–228, Bibcode:1999A&A...343..222E
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Stars Table". Catalog of Nearby Exoplanets. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-10-04.
  4. G. T. van Belle; K. von Braun (2009). "Directly Determined Linear Radii and Effective Temperatures of Exoplanet Host Stars". Astrophysical Journal. 694 (2): 1085–1098. arXiv:0901.1206. Bibcode:2009ApJ...694.1085V. doi:10.1088/0004-637X/694/2/1085.
  5. V. V. Kovtyukh; Soubiran, C.; และคณะ (2003). "High precision effective temperatures for 181 F-K dwarfs from line-depth ratios". Astronomy and Astrophysics. 411 (3): 559–564. arXiv:astro-ph/0308429. Bibcode:2003A&A...411..559K. doi:10.1051/0004-6361:20031378.
  6. 6.0 6.1 C. Saffe; Gómez, M.; และคณะ (2005). "On the Ages of Exoplanet Host Stars". Astronomy and Astrophysics. 443 (2): 609–626. arXiv:astro-ph/0510092. Bibcode:2005A&A...443..609S. doi:10.1051/0004-6361:20053452.
  7. E. E. Mamajek; L. A. Hillenbrand (2008). "Improved Age Estimation for Solar-Type Dwarfs Using Activity-Rotation Diagnostics". Astrophysical Journal. 687 (2): 1264–1293. arXiv:0807.1686. Bibcode:2008ApJ...687.1264M. doi:10.1086/591785.
  8. "NameExoWorlds: An IAU Worldwide Contest to Name Exoplanets and their Host Stars". IAU.org. 9 July 2014.
  9. "NameExoWorlds The Process". IAU.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-15. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
  10. "The approved names of 14 stars and 31 exoplanets". The International Astronomical Union (IAU). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-01. สืบค้นเมื่อ 2016-03-06.
  11. "ชนะแล้ว "ชาละวัน" ชื่อดาวไทยสากลชื่อแรกบนฟากฟ้า". ข่าวดาราศาสตร์. รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย. สมาคมดาราศาสตร์ไทย. 15 ธันวาคม 2558.{{cite web}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  12. Martin, J. E.; Lauprasert, K.; และคณะ (2013). Angielczyk, Kenneth (บ.ก.). "A large pholidosaurid in the Phu Kradung Formation of north-eastern Thailand". Palaeontology. 57: 757–769. doi:10.1111/pala.12086.
  13. "IAU Working Group on Star Names (WGSN)". สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
  14. "Bulletin of the IAU Working Group on Star Names, No. 1" (PDF). สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  15. "IAU Catalog of Star Names". สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  16. R. P. Butler; Marcy, Geoffrey W. (1996). "A Planet Orbiting 47 Ursae Majoris". Astrophysical Journal Letters. 464 (2): L153–L156. Bibcode:1996ApJ...464L.153B. doi:10.1086/310102.
  17. 17.0 17.1 17.2 P. C. Gregory; D. A. Fischer (2010). "A Bayesian periodogram finds evidence for three planets in 47 Ursae Majoris". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 403 (2): 731–747. arXiv:1003.5549. Bibcode:2010MNRAS.403..731G. doi:10.1111/j.1365-2966.2009.16233.x.
  18. I. Han; D. C. Black; และคณะ (2001). "Preliminary Astrometric Masses for Proposed Extrasolar Planetary Companions". Astrophysical Journal Letters. 548 (1): L57–L60. Bibcode:2001ApJ...548L..57H. doi:10.1086/318927.
  19. D. Pourbaix; F. Arenou (2001). "Screening the Hipparcos-based astrometric orbits of sub-stellar objects". Astronomy and Astrophysics. 372 (3): 935–944. arXiv:astro-ph/0104412. Bibcode:2001A&A...372..935P. doi:10.1051/0004-6361:20010597.
  20. 20.0 20.1 D. A. Fischer; Marcy, Geoffrey W.; และคณะ (2002). "A Second Planet Orbiting 47 Ursae Majoris". Astrophysical Journal. 564 (2): 1028–1034. Bibcode:2002ApJ...564.1028F. CiteSeerX 10.1.1.8.9343. doi:10.1086/324336.
  21. D. Naef; Mayor, M.; และคณะ (2004). "The ELODIE survey for northern extra-solar planets. III. Three planetary candidates detected with ELODIE". Astronomy and Astrophysics. 414: 351–359. arXiv:astro-ph/0310261. Bibcode:2004A&A...414..351N. doi:10.1051/0004-6361:20034091.
  22. R. A. Wittenmyer; M. Endl; และคณะ (2007). "Long-Period Objects in the Extrasolar Planetary Systems 47 Ursae Majoris and 14 Herculis". Astrophysical Journal. 654 (1): 625–632. arXiv:astro-ph/0609117. Bibcode:2007ApJ...654..625W. doi:10.1086/509110.
  23. "Extrasolar Planets Encyclopaedia: 47 Ursae Majoris". Jean Schneider, Paris Observatory, CNRS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-13.
  24. "Planets Table". Catalog of Nearby Exoplanets. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-10-04.
  25. B. Jones; Underwood, David R.; และคณะ (2005). "Prospects for Habitable "Earths" in Known Exoplanetary Systems". Astrophysical Journal. 622 (2): 1091–1101. arXiv:astro-ph/0503178. Bibcode:2005ApJ...622.1091J. doi:10.1086/428108.
  26. S. Raymond (2006). "The Search for other Earths: limits on the giant planet orbits that allow habitable terrestrial planets to form". Astrophysical Journal Letters. 643 (2): L131–134. arXiv:astro-ph/0605136. Bibcode:2006ApJ...643L.131R. doi:10.1086/505596.
  27. А. Л. Зайцев (7 June 2004). "Передача и поиски разумных сигналов во Вселенной" (PDF). Пленарный доклад на Всероссийской астрономической конференции ВАК-2004 "Горизонты Вселенной", Москва, МГУ (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-30. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • "กว่าจะมาเป็นดาวชาละวัน"หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่ชื่อ "ชาละวัน" ได้ขึ้นไปประดับฟ้าสากล เผยเบื้องหน้าเบื้องหลัง และรายละเอียดเกี่ยวกับดาวชาละวัน โดย สมาคมดาราศาสตร์ไทย
  • "47 Ursae Majoris". SolStation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-11. สืบค้นเมื่อ 2008-06-26.
  • "47 Ursae Majoris". Exoplanet Data Explorer. สืบค้นเมื่อ 2013-10-05.

พิกัด: Sky map 10h 59m 28.0s, +40° 25′ 49″