พัลซาร์
พัลซาร์ (อังกฤษ: Pulsar; มาจากการรวมกันของ 2 คำ คือ pulsating และ star) คือดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงมาก และแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ คาบการหมุนที่สังเกตได้อยู่ระหว่าง 1.4 มิลลิวินาที ถึง 8.5 วินาที[1] เราสามารถสังเกตเห็นการแผ่รังสีได้จากลำรังสีที่ชี้มาทางโลกเท่านั้น ลักษณะปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์ประภาคาร (lighthouse effect) และการที่สังเกตเห็นรังสีเป็นช่วงๆ (pulse) นี้เองเป็นที่มาของชื่อพัลซาร์ พัลซาร์บางแห่งมีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ เช่น ดาว PSR B1257+12 เวอร์เนอร์ เบ็คเกอร์ แห่งสถาบันมักซ์ พลังค์เพื่อการศึกษาฟิสิกส์นอกโลก (Max Planck Institute for Extraterrestrial Physics) ได้กล่าวเอาไว้ในปี 2549 ว่า "ทฤษฎีว่าด้วยเหตุที่พัลซาร์แผ่รังสีออกมายังคงเป็นสิ่งลึกลับ แม้จะมีการเฝ้าศึกษามาเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว"[2]
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: พัลซาร์ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Young, M.D.; Manchester, R.N.; Johnston, S. "A Radio Pulsar with an 8.5-Second Period that Challenges Emission Models." Nature, Volume 400, 26 August 1999 (pages 848-849).
- ↑ Press Release: Old Pulsars Still Have New Tricks to Teach Us. European Space Agency, 26 July 2006.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ภาพเคลื่อนไหวของพัลซาร์ เก็บถาวร 2008-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Einstein.com, 17 มกราคม 2551.
- "การค้นพบพัลซาร์." BBC, 23 ธันวาคม 2545.
- "A Pulsar Discovery: First Optical Pulsar เก็บถาวร 2007-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Moments of Discovery, American Institute of Physics, 2007 (มีเสียงประกอบพร้อมคำแนะนำ).
- "ค้นพบดาวพัลซาร์ชนิดใหม่ เก็บถาวร 2008-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Cosmos Online.
![]() |
บทความเกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือจักรวาลวิทยานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดาราศาสตร์ |