กำลังส่องสว่าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดวงอาทิตย์มีความส่องสว่างที่แท้จริง 3.83×1026 วัตต์. ในทางดาราศาสตร์จำนวนนี้เท่ากับหนึ่งความสว่างดวงอาทิตย์ แสดงโดยใช้สัญลักษณ์ L. ดาวฤกษ์ที่มีอำนาจการแผ่รังสีสี่เท่าของดวงอาทิตย์จึงมีกำลังส่องสว่าง L.

กำลังส่องสว่าง (อังกฤษ: Luminosity) คือค่ากำลังของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาสัมบูรณ์หรือพลังงานการแผ่รังสีจากวัตถุที่แผ่แสง[1][2]

ในทางดาราศาสตร์ กำลังส่องสว่างคือจำนวนพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งหมดที่ปล่อยออกมาต่อหนึ่งหน่วยเวลาโดยดาวฤกษ์ ดาราจักร หรือวัตถุทางดาราศาสตร์อื่น ๆ[3][4]

ในระบบเอสไอ กำลังส่องสว่างจะถูกวัดในหน่วยจูลต่อวินาทีหรือวัตต์ ในทางดาราศาสตร์ค่าของกำลังส่องสว่างมักจะให้ข้อมูลตามความสว่างดวงอาทิตย์ L กำลังส่องสว่างยังสามารถใช้ตามระบบขนาดทางดาราศาสตร์: ความส่องสว่างโบโลเมตริกสัมบูรณ์ (Mbol) ของวัตถุ คือการวัดลอการิทึมของอัตราการปล่อยพลังงานทั้งหมด ในขณะที่ความส่องสว่างสัมบูรณ์เป็นการวัดลอการิทึมของความส่องสว่างภายในช่วงความยาวคลื่นเฉพาะบางช่วงหรือบางแถบ

ในทางตรงกันข้าม ความสว่าง ในทางดาราศาสตร์มักใช้สำหรับความสว่างที่มองเห็นได้ของวัตถุหรือความสว่างของวัตถุต่อผู้สังเกต ความสว่างที่มองเห็นได้ขึ้นอยู่กับทั้งกำลังส่องสว่างและระยะห่างระหว่างวัตถุและผู้สังเกตและการดูดซับแสงตามทางผ่านไปยังผู้สังเกต ความส่องสว่างปรากฏเป็นการวัดลอการิทึมของความสว่างที่มองเห็นได้ ระยะทางที่กำหนดโดยการวัดกำลังส่องสว่างอาจค่อนข้างคลุมเครือและบางครั้งจึงใช้ระยะทางกำลังส่องสว่าง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Luminosity | astronomy". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 June 2018.
  2. "* Luminosity (Astronomy) - Definition,meaning - Online Encyclopedia". en.mimi.hu. สืบค้นเมื่อ 24 June 2018.
  3. Hopkins, Jeanne (1980). Glossary of Astronomy and Astrophysics (2nd ed.). The University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-35171-1.
  4. Morison, Ian (2013). Introduction to Astronomy and Cosmology. Wiley. p. 193. ISBN 978-1-118-68152-7.