ข้ามไปเนื้อหา

ดาวแคระเหลือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดวงอาทิตย์ ตัวอย่างดาวฤกษ์ชนิด G V

ดาวแคระเหลือง (อังกฤษ: Yellow dwarf) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ดาว G-V คือดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักซึ่งมีชนิดสเปกตรัมเป็นแบบ G และความส่องสว่างในระดับ V ดาวแคระเหลืองมักมีขนาดเล็ก (ประมาณ 0.8 - 1.0 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) และมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,300-6,000 เคลวิน[1] ดาว G-V กำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงไฮโดรเจนในแกนกลางให้เป็นฮีเลียมด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น เช่นเดียวกับดาวฤกษ์อื่นในแถบลำดับหลัก[2] ดวงอาทิตย์ของเราถือเป็นตัวอย่างดาว G-V ที่รู้จักกันมากที่สุด (และสังเกตได้ง่ายที่สุด) ดาวฤกษ์ประเภทนี้เผาผลาญไฮโดรเจนราว 600 ล้านตันต่อวินาที และเปลี่ยนแปลงสสารประมาณ 4 ล้านตันให้กลายเป็นพลังงาน[3][4] สำหรับดาว G-V อื่น ๆ ได้แก่ แอลฟาคนครึ่งม้า เอ เทาวาฬ และ 51 ม้าปีก[5][6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Empirical bolometric corrections for the main-sequence, G. M. H. J. Habets and J. R. W. Heintze, Astronomy and Astrophysics Supplement 46 (November 1981), pp. 193–237.
  2. Stellar Evolution: Main Sequence to Giant เก็บถาวร 2020-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, class notes, Astronomy 101, Valparaiso University, สืบค้นข้อมูลเมื่อ 19 มิถุนายน 2007.
  3. Why Does The Sun Shine?, lecture, Barbara Ryden, Astronomy 162, Ohio State University, สืบค้นข้อมูลเมื่อ 19 มิถุนายน 2007.
  4. Sun เก็บถาวร 2007-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, entry at ARICNS, สืบค้นข้อมูลเมื่อ 19 มิถุนายน 2007.
  5. Alpha Centauri A, SIMBAD query result. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 4 ธันวาคม 2007
  6. Tau Ceti, SIMBAD query result. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 4 ธันวาคม 2007.
  7. 51 Pegasi, SIMBAD query result. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 4 ธันวาคม 2007.

ดูเพิ่ม

[แก้]