ไฟนอลแฟนตาซี XIII
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ไฟนอลแฟนตาซี XIII | |
---|---|
ปกเกมฉบับวางจำหน่ายในยุโรป | |
ผู้พัฒนา | สแควร์เอนิกซ์ |
ผู้จัดจำหน่าย | สแควร์เอนิกซ์ |
กำกับ | |
อำนวยการผลิต | โยะชิโนะริ คิตะเซะ |
ศิลปิน | เทะสึยะ โนะมุระ นะโอะ อิเกะดะ |
เขียนบท | โมะโตะมุ โทะริยะมะ ไดซุเกะ วะตะนะเบะ |
แต่งเพลง | มะซะชิ ฮะมะอุซุ |
ชุด | ไฟนอลแฟนตาซี แฟบูลา โนวา คริสตัลลิส |
เอนจิน | Crystal Tools |
เครื่องเล่น | เพลย์สเตชัน 3 เอกซ์บอกซ์ 360 วินโดวส์ |
วางจำหน่าย | เพลย์สเตชัน 3
|
แนว | เกมเล่นตามบทบาท |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว |
ไฟนอลแฟนตาซี XIII (อังกฤษ: Final Fantasy XIII) เป็นวิดีโอเกมประเภทเกมสวมบทบาท แนวเรื่องวิทยาศาสตร์แฟนตาซี ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทสแควร์อีนิกซ์ให้กับเครื่องเกมเพลย์สเตชัน 3, เอ็กซ์บ็อกซ์ 360 และต่อมาได้รับการพอร์ตลงระบบไมโครซอฟท์วินโดวส์ ออกจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552 และออกจำหน่ายทั่วโลกเมื่อมีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นเกมหลักลำดับที่ 13 ในชุด ไฟนอลแฟนตาซี ระบบของเกมเน้นการต่อสู้ที่มีจังหวะรวดเร็ว ผู้เล่นสามารถพัฒนาตัวละครผ่านคริสตาเรียม และใช้ระบบพาราไดม์ในการเลือกความสามารถที่ตัวละครจะใช้ในการต่อสู้ เกมนี้ยังคงมีองค์ประกอบบางอย่างที่พบได้ร่วมกันในเกมชุดไฟนอลแฟนตาซี เช่น การอัญเชิญมนตร์อสูร โชโคโบะ และเรือเหาะ เป็นต้น
เนื้อเรื่องของเกมดำเนินอยู่ในดินแดนลอยฟ้าโคคูน ปกครองโดยรัฐบาลเดอะแซงค์ทัม ซึ่งมีคำสั่งให้กวาดล้างประชาชนทุกคนที่ได้สัมผัสกับพัลส์ โลกเบื้องล่างอันน่ารังเกียจ
เกมนี้เริ่มพัฒนาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 และเปิดตัวครั้งแรกในงาน E3 พ.ศ. 2549 แต่เดิมมีแผนจะให้เป็นเกมหลักของเกม ไฟนอลแฟนตาซี ชุด ฟาบูลา โนวา คริสตาลิส และเป็นเกมแรกที่ใช้เอนจินที่ชื่อว่าคริสตัลทูลส์ซึ่งพัฒนาโดยสแควร์อีนิกซ์เอง ไฟนอลแฟนตาซี XIII ได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวกเป็นส่วนใหญ่จากนิตยสารเกมหัวต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ชื่นชมงานภาพ การนำเสนอ และระบบการต่อสู้ ในขณะที่เนื้อเรื่องของเกมได้รับคำวิจารณ์แบบก้ำกึ่ง โดยเฉพาะเรื่องความเป็นเส้นตรงของเนื้อเรื่องเมื่อเทียบกับเกมภาคก่อนๆ ใน พ.ศ. 2552 เกมนี้ขายในประเทศญี่ปุ่นได้ 1.7 ล้านชุด กลายเป็นเกมไฟนอลแฟนตาซีภาคที่ขายได้เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมาในขณะนั้น จนถึง พ.ศ. 2556 เกมนี้ถูกขายไปแล้วกว่า 6 ล้านชุดทั่วโลก และมีภาคต่ออีก 2 ภาค ได้แก่ ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 (พ.ศ. 2554) และ ไลท์นิงรีเทิร์นส์: ไฟนอลแฟนตาซี XIII (พ.ศ. 2556)
ระบบการเล่น
[แก้]การต่อสู้
[แก้]ไฟนอลแฟนตาซีภาคนี้มีตัวละครที่บังคับได้ในฉากต่อสู้ 3 ตัว การบังคับตัวละครสามารถบังคับได้อิสระเพียงตัวเดียว ส่วนอีกสองตัวจะใช้ระบบออปติมา หรือพาราไดม์ในภาคภาษาอังกฤษ เพื่อกำหนดบทบาทตัวละครว่าจะเน้นการกระทำแบบใดในการต่อสู้ โดยออปติมาจะมีทั้งหมด 6 แบบ ซึ่งทั้ง 6 แบบสามารถตั้งให้ตัวละครที่ควบคุมได้สูงสุด 6 ชุด โดยระหว่างการต่อสู้สามารถเปลี่ยนแผนของกลุ่ม แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแผนเฉพาะตัวได้ โดยออปติมาทั้งหมด มีดังนี้
ชื่ออังกฤษ | ชื่อญี่ปุ่น อักษรโรมัน |
ชื่อญี่ปุ่น อักษรคะตะกะนะ |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
Commando-COM | Attacker-ATK | アタッカー | โจมตีอย่างรุนแรง |
Ravager-RAV | Blaster-BLA | ブラスター | โจมตีต่อเนื่องและโจมตีด้วยเวทย์เพื่อเพิ่มแถบเบรก |
Sentinal-SEN | Defender-DEF | ディフェンダー | ป้องกันตนเองและเพื่อน |
Saboteur-SAB | Jammer-JAM | ジャマー | สร้างความรำคาญด้วยเวทย์สายตัดกำลัง |
Medic-MED | Healer-HLR | ヒーラー | ฟื้นฟูพลังชีวิต |
Synergist-SYN | Enhancer-ENH | エンハンサー | เสริมความแข็งแกร่งด้วยเวทย์สนับสนุน |
ก่อนการต่อสู้ ตัวละครจะสามารถเห็นตัวศัตรู และค่าพลังชีวิต (HP) ของศัตรูได้ก่อนการต่อสู้ เมื่อสัมผัสศัตรูจะมีการตัดคัทซีนเข้าสู่ฉากต่อสู้แทบจะทันที และเมื่อจบการต่อสู้ เกมจะแสดงเวลาในการกำจัดศัตรู คอมโบสูงสุด จำนวนการโจมตีเบรก และการประเมินการต่อสู้ในแต่ละรอบ แสดงเป็นจำนวนดาว สูงสุดที่ 5 ดาว
สำหรับระบบการต่อสู้จะนำระบบแอกทีฟไทม์แบทเทิล (ATB) กลับมาใช้อีกครั้ง โดยเป็นการใส่คำสั่งโดยมีการกำหนดในแต่ละคำสั่งว่าจะใช้แถบ ATB กี่หลอด (เรียกค่า ATB ในแต่ละคำสั่งว่า "คอสต์พอยท์") เมื่อใส่คำสั่งแล้วเมื่อแถบเวลาเต็มตัวละครจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนหมดเทิร์นของตัวละครนั้นๆ ดังนั้นเวทมนตร์ในภาคนี้จะไม่ใช้ค่า MP จำนวนหลอด ATB จะเพิ่มเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ เช่น ได้มนต์อสูร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งบางส่วนที่ต้องใช้ค่าเทคนิค (TP) ซึ่ง TP จะเพิ่มมาเมื่อจบการต่อสู้ เช่น การดูข้อมูลศัตรู การเรียกมนต์อสูรประจำตัว และเวทย์บางชนิด เป็นต้น โดยในเทรลเลอร์แรกที่ออกมานั้น คำสั่งจะเรียงลงมาในแนวตั้ง และมีการกำหนดค่า ATB สูงสุด แต่ในตัวเกมจริงคำสั่งจะเรียงในแนวนอน 2 แถว และ ATB จะแสดงเฉพาะเวลารอคำสั่ง ซึ่งสามารถใส่คำสั่งได้สูงสุด 6 คำสั่ง
สถานะเบรก หรือสแต็กเกอร์ในภาคภาษาอังกฤษ เป็นระบบใหม่ในภาคนี้ โดยเมื่อตัวละครโจมตีต่อเนื่องจนศัตรูตอบโต้ไม่ได้ในระยะเวลาหนึ่ง ตัวศัตรูจะเรืองแสงสีเหลือง เมื่อผู้เล่นโจมตีศัตรูในสภาวะนี้จะเกิดความรุนแรงมาก สถานะเบรกมีระยะเวลาจำกัด เมื่อแถบเชนที่มุมขวาบนของจอลดลงจนหมด ภาวะเบรกจะสิ้นสุดลง หากตัวละครมีการพัฒนามาก อาจโจมตีศัตรูในสถานะเบรกได้ถึงหลักหมื่น
มนต์อสูรในภาคนี้ได้จากการต่อสู้เช่นเดียวกับไฟนอลแฟนตาซี XII และมีส่วนร่วมกับตัวละครในการต่อสู้มากขึ้น โดยระบบที่เรียกว่า ไดรฟ์โหมด หรือเกสตัลท์โหมดในภาคภาษาอังกฤษ โดยอสูรจะแปลงเป็นพาหนะให้ตัวละครขับขี่เพื่อใช้ท่าโจมตีพิเศษที่สามารถใช้ได้เฉพาะโหมดนี้ แต่ละคนจะมีมนต์อสูรได้เพียงคนละหนึ่งตัวเท่านั้น ยกเว้นสโนว์ที่มีอสูรพี่น้องฝาแฝด ซึ่งระดับหรือเลเวลของมนต์อสูรจะพัฒนาตามเลเวลของผู้ใช้ นอกจากนี้ มนต์อสูรยังมีบทบาทในเนื้อเรื่องหลักของเกมอีกด้วย
การพัฒนาตัวละครและอุปกรณ์
[แก้]การพัฒนาตัวละครในไฟนอลแฟนตาซีภาคนี้จะไม่ใช้ระบบค่าประสบการณ์ แต่จะใช้ระบบคริสตัล (อังกฤษ: Crystallium System) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับระบบกระดานสเฟียร์ในไฟนอลแฟนตาซี X นั่นคือ เมื่อจบการต่อสู้แต่ละรอบ ตัวละครจะได้รับแต้มคริสตัล (อังกฤษ: Crystallium Points:CP) เพื่อเดินในโครงข่ายคริสตัล CP ที่ได้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับคริสตัล (อังกฤษ: Crystallium Level:CL) ซึ่งจะเพิ่มมาเองเมื่อดำเนินเนื้อเรื่องไปเรื่อยๆ เป็นตัวแปรสำคัญ สำหรับโครงข่ายคริสตัล มีลักษณะเป็นข่ายสามมิติ โดยในโครงข่ายจะแบ่งออกเป็น 6 สายตามสายของออปติมา แต่ละสายประกอบด้วยอบิลิตี้ที่จับกันเป็นรูปแผ่นจาน และมีอบิลิตี้อื่นๆ แตกสาขาออกไปรอบๆ การเดินในโครงข่ายจะใช้ค่า CP เป็นตัวเดิน
สำหรับอาวุธในภาคนี้จะมีระดับ (เลเวล) และค่าประสบการณ์ ซึ่งค่าดังกล่าวจะเพิ่มเมื่อผู้เล่นนำวัตถุดิบที่ได้จากมอนสเตอร์และ/หรือสมบัติตามทางมาอัพเกรดอาวุธ เมื่อค่าประสบการณ์เพิ่มถึงระดับหนึ่ง ระดับอาวุธจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพของอาวุธ รวมทั้งรูปร่างของอาวุธจะมีการเปลี่ยนแปลงด้วย
โครงเรื่อง
[แก้]โลกทัศน์
[แก้]ไฟนอลแฟนตาซี XIII จะกล่าวถึงโลกที่มี "ฟาลซี" (fal'Cie) สิ่งมีชีวิตที่มีคริสตัลอยู่ภายใน ผู้คนต่างนับถือฟาลซีเสมือนเทพ ผู้ที่ถูกฟาลซีเลือกให้ทำภารกิจจะเรียกว่า "ลาซี" (l'Cie) เมื่อลาซีทำภารกิจสำเร็จจะเปลี่ยนสภาพเป็นคริสตัลเพื่อรอคำสั่งใหม่ของฟาลซี แต่ถ้าทำไม่สำเร็จจะแปลงสภาพเป็นมอนสเตอร์ที่เรียกว่า "ซีท" (Cie'th)
โลกทัศน์ของภาคนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ คือ "โคคูน" และ "พัลส์" หรือชื่อเต็ม "แกรนด์พัลส์" (Gran Pulse) โดยทั้งสองโลกมีฟาลซีเป็นของตนเอง ในเกมประชากรในโคคูนเริ่มกังวลว่าพวกเขาอาจถูกขับมายังพัลส์ โลกที่พวกเขาคิดว่าเป็นเหมือนนรก
สถานที่ในเกม
[แก้]
โคคูน[แก้]
|
พัลส์[แก้]
|
เนื้อเรื่อง
[แก้]ไฟนอลแฟนตาซี XIII แบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น 2บท เนื้อหาเป็นการผจญภัยของตัวละครหลักหกตัว ตั้งแต่การเดินทางโดยรถไฟจากโคคูนสู่พัลส์ การกลายเป็นลาซี การต่อสู้กับรัฐบาลศักดิ์สิทธิ์ของพัลโคคูน (แซงค์ทัม) นำโดยการานธ์หรือฟาลซีบาแทนเดอร์ลัส ราชาแห่งโคคูนฟาลซีที่ต้องการทำลายโคคูนไปจนถึงการช่วยเหลือมิให้โคคูนตกลงสู่พัลส์
รัฐบาลศักดิ์สิทธิ์ของโคคูน ซึ่งการานธ์ ไดส์ลีย์ เป็นผู้นำ มีเป้าหมายหลักคือ การเปิดประตูแห่งความตายเพื่อเรียกให้ผู้สร้างโลกกลับมา จึงสร้างความหวาดกลัวเหล่าลาซีจากพัลส์แก่มนุษย์บนโคคูน แต่การจำแนกเหล่าลาซีที่ปะปนกับมนุษย์ทั่วไปนั้นทำได้ยาก จึงต้องส่งกลุ่มคนที่ต้องสงสัยทั้งหมดไปยังพัลส์ โลกเบื้องล่างที่ประชากรในโคคูนต่างหวาดกลัว คนกลุ่มที่ถูกส่งมายังพัลส์ในช่วงต้นเกมก็คือ ชาวเมืองโบดัมที่ไลท์นิ่งอาศัยอยู่ นอกจากไลท์นิ่งที่โดยสารขบวนนี้แล้ว ยังมีซาสซ์ที่มีลูกชายเป็นลาซี สโนว์ที่ต้องการตามหาเซร่า น้องสาวของไลท์นิ่งและคู่หมั้นของเขา โฮป และวานิลล์ รวมอยู่ด้วย
เมื่อรถไฟมาถึงเขตชายขอบ ไลท์นิ่งและพรรคพวกได้ปฏิบัติการโจมตีเหล่าทหารของรัฐบาล (ไซคอม) และช่วยเหลือผู้คน จากนั้นจึงมุ่งหน้าไปยังโบราณสถานจากพัลส์ ณ ที่นั้น พวกเขาได้พบกับเซร่า แต่เธอก็กลายเป็นคริสตัลเสียแล้ว กลุ่มตัวเอกจึงไปขอร้องฟาลซีอะนิมาที่เฝ้าโบราณสถานให้ช่วยเซร่า แต่ฟาลซีอนิมากลับเข้าต่อสู้ เมื่อใกล้สิ้นชีพอะนิมาได้ส่งพวกเขาไปหาฟาลซีพัลส์และสาปพวกเขาให้กลายเป็นลาซี
เมื่อทั้งหมดกลายเป็นลาซี จึงได้ออกผจญภัยเพื่อตามหาความจริง และได้เจอกับการานธ์ ซึ่งที่จริงก็คือบาแทนเดอร์ลัส ราชาแห่งฟาลซี ผู้เคืองแค้นออร์แฟน ฟาลซีของพัลส์ที่ทรยศมาอยู่ฝ่ายโคคูน บาแทนเดอร์ลัสต้องการทำลายโคคูนทิ้ง โดยใช้กลุ่มตัวเอกให้เรียกแร็กนาร็อกอีกครั้ง จากนั้นกลุ่มตัวเอกได้ผจญภัยเข้าไปในพัลส์ ผ่านศัตรูโหดร้ายมากมาย จนกระทั่งได้เจอกับบาแทนเดอร์ลัสอีกครั้ง บาแทนเดอร์ลัสได้ฝากให้ปฏิบัติภารกิจทีเขามอบหมายให้สำเร็จ และทิ้งยานไว้ให้ตัวเอกกลับไปยังโคคูน เมื่อกลุ่มตัวเอกกลับไปยังโคคูนก็พบว่า สัตว์ขนาดมหึมาจากพัลส์ได้มุ่งตรงเข้าสู่โคคูนเป็นจำนวนมาก ทุกคนจึงฝ่าพวกมันไปยังเซ็นทรัลทาวเวอร์ หอคอยกลางมหานครเอเดน เพื่อพบกับบาแทนเดอร์ลัสอีกครั้ง
เมื่อมาถึงใจกลางหอคอย กลุ่มตัวเอกได้สู้กับบาแทนเดอร์ลัสเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อชนะแล้วทุกคนต่างดีใจยกเว้นไลท์นิ่งที่สังหรณ์ใจบางอย่าง และแล้ว มิเนอร์วา นกที่คอยติดตามบาแทนเดอร์ลัสมาตลอดได้พุ่งเข้ารวมร่างกับบาแทนเดอร์ลัสเป็นออร์แฟน ฟาลซีผู้สร้าง และกำลังจะเป็นผู้ทำลายโลกทั้งสอง ออร์แฟนได้ทรมานวานิลล์และฟาง สองผู้รอดชีวิตจากสงครามเมื่อ 600 ปีก่อน และเป็นผู้เรียกแร็กนาร็อกมาทำลายโลก โดยหวังให้เรียกมนต์อสูรตนนั้นออกมาอีกครั้ง แต่ด้วยพลังของเพื่อนทุกคนทำให้ทั้งสองควบคุมสติและร่วมมือกันกำจัดออร์แฟนจนสำเร็จ
เมื่อออร์แฟนสิ้นชีพ ก็เปรียบเหมือนแกนค้ำจุนโคคูนได้ทลายลงด้วย โคคูนกำลังจะร่วงลงสู่พัลส์ วานิลล์และฟางจึงประสานใจกันเกิดเป็นแร็กนาร็อกที่ไม่ได้เป็นผู้ทำลายอีกต่อไป หากแต่เป็นผู้คุ้มครองโคคูน แร็กนาร็อกได้แปลงพลังของตนและของพัลส์ทั้งหมดเป็นเสาคริสตัลค้ำโคคูนไม่ให้ตกลงสู่พัลส์ ทำให้มนุษย์รอดพ้นหายนะครั้งใหญ่นี้ได้
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตัวละคร
[แก้]กลุ่มตัวเอก
[แก้]- แคลร์ "ไลท์นิ่ง" ฟารอน อายุ 31 ปี อดีตทหารหญิงแห่งโคคูน ใช้ดาบที่มีไกปืนเป็นอาวุธ คริสตัลประจำตัวเธอมีรูปร่างเป็นดอกกุหลาบ และอสูรประจำตัวคือ โอดิน ธาตุสายฟ้า ที่สามารถแปลงเป็นม้าได้ เทตซึยะ โนะมุระ ผู้ออกแบบตั้งใจออกแบบให้เหมือนคลาวด์ สไตรฟ์ เวอร์ชันผู้หญิง และชื่อจริงของเธอก็เป็นคำภาษาฝรั่งเศสที่มีความหมายว่าสายฟ้าเช่นเดียวกับฉายาของเธออีกด้วย โดย มายะ ซาคาโมโตะ ผู้เคยพากย์เสียงแอริสใน ไครซิส คอร์: ไฟนอลแฟนตาซี VII เป็นผู้ให้เสียงพากย์ญี่ปุ่น ส่วนเสียงพากย์อังกฤษเป็นของ อาลี ฮิลลิส
- สโนว์ วิลเลอร์ส อายุ 31 ปี หัวหน้ากลุ่ม "โนระ" กลุ่มต่อต้านรัฐบาลโคคูน มีรอยสักที่แขนซ้าย มีอาวุธเป็นเสื้อโค้ทที่จะมีพลังเปลี่ยนไปเมื่อใส่ปลอกแขน และมีอสูรประจำตัวคือ ศิวะ ธาตุน้ำ ซึ่งในภาคนี้เป็นฝาแฝดชื่อ นิกซ์ กับ สตีเรีย ที่สามารถแปลงเป็นมอเตอร์ไซค์ได้ สโนว์มีชื่อเล่นในหมู่ทีมสร้างเกมว่า "Mr. 33 cm" ตามขนาดรองเท้าที่เขาใส่ ให้เสียงพากย์ญี่ปุ่นโดย ไดสุเกะ โอโนะ ผู้เคยพากย์เสียง พริสแมน ใน ร็อกแมน เอ็กเซ่ แอ็กเซส,เซบาสเตียน มิคาเอลิส ใน Kuroshitsuji และทรอย เบเคอร์ ผู้เคยให้เสียงพากย์ นากิ สปริงฟิลด์ ในคุณครูจอมเวท เนกิมะ! ฉบับอเมริกา เป็นผู้ให้เสียงพากย์อังกฤษ
- โอลบา เดีย วานีล อายุ 29 ปี ลาซีของพัลส์ ผู้รอดชีวิตจากสงครามล้างโลกพัลส์เมื่อ 500 ปีก่อน พร้อมกับแฟง และมีพลังในการเรียกแร็กนาร็อก สัตว์อสูรสุดยอดที่พร้อมทำลายล้างทุกสิ่ง มีมนต์อสูรประจำตัวคือ เฮกาตอนคริส ธาตุดิน ที่สามารถแปลงเป็นปืนสองขาคล้ายมาโดอาร์เมอร์หรือมาจิเทคในไฟนอลแฟนตาซี VI ได้ ให้เสียงพากย์โดย ยูคาริ ฟุกุอิ ผู้เคยพากย์เสียง ทีนา แบรนด์ฟอร์ด ใน ดิสซิเดีย:ไฟนอลแฟนตาซี
- ซาร์ซ คัทซ์รอย อายุ 40 ปี ชายผิวเข้ม ผมแอฟโฟร มีลูกโจโคโบะที่ซื้อมาให้ลูกชายซ่อนในผม ถือปืนพิสตอลเป็นอาวุธ ซาร์ซมีลูกชายชื่อ ดาจฮ์ มีอสูรประจำตัวคือ บรุนฮิลเด ธาตุไฟ ที่สามารถแปลงเป็นรถแข่งคล้ายรถสูตรหนึ่งได้ เท็ดสึยะ โนะมุระ ได้แรงบันดาลใจการออกแบบซาร์ซจากไลโอเนล ริชชี นักร้องแนวอาร์แอนด์บีชาวอเมริกัน ให้เสียงพากย์ญี่ปุ่นโดย มาซาชิ เอบาระ และเสียงพากย์อังกฤษโดย เรโน วิลสัน ผู้ให้เสียงพากย์หุ่นมัดแฟล็บ ในภาพยนตร์เรื่อง อภิมหาสงครามแค้น
- โอลบา ยุน แฟง อายุ 31 ปี ลาซีจากโลกพัลส์ที่รอดชีวิตมาพร้อมวานีลจากสงครามเมื่อ 500 ปีก่อน มีพลังเรียกแร็คนาร็อกได้เช่นเดียวกับวานิลลา ใช้หอกที่สามารถแปลงเป็นกระบองสามท่อนได้เป็นอาวุธ และมีบาฮามุท ธาตุความมืด เป็นอสูรประจำตัว เกสตัลท์โหมดของบาฮามุทคือร่างมังกร เดิมทีโนะมุระออกแบบแฟงให้เป็นผู้ชาย เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเกม แต่เปลี่ยนเป็นเพศหญิงในภายหลัง
- โฮป เอสไทม์ อายุ 14 ปี เด็กชายผมบลอนด์ สูญเสียแม่ไปจากการโจมตีของรัฐบาลโคคูนในช่วงต้นเกม ใช้บูมเมอร์แรงเป็นอาวุธ มีอสูรประจำตัวคือ อเล็กซานเดอร์ ธาตุแสง ซึ่งสามารถแปลงเป็นป้อมปราการได้ ให้เสียงพากย์ญี่ปุ่นโดย ยูกิ คาจิ ผู้ให้เสียง ฟีเนียน ใน Kuroshitsuji และเสียงพากย์อังกฤษโดย วินเซนต์ มาร์เตลลา
ฟาลซีที่สำคัญ
[แก้]- ออร์แฟน ฟาลซีแห่งอาทิตย์ รูปร่างกงจักร ผู้ทรยศกาเรนธ์ ราชาแห่งฟาลซีย์ และสร้างโลกโคคูนขึ้นมาร่วมกับฟาลซีตนอื่นๆ เพื่อเป็นที่พำนักของมนุษย์หลังสงครามเมื่อ 500 ปีก่อน ในเกมออร์ฟานได้จำแลงกายเป็นมิเนอร์วา นกคู่กายบัลดันเดอร์ เมื่อเขาถูกพวกตัวเอกกำจัด ออร์แฟนได้รวมร่างกับบัลดันเดอร์และเป็นบอสสุดท้ายของเกม ชื่อของออร์แฟนมาจากออร์แฟนิม คณะเทพผู้ดูแลบัลลังก์ของพระเจ้าซึ่งปรากฏในคัมภีร์ของศาสนายูดาย ให้เสียงพากย์ญี่ปุ่นโดยมะซะรุ ชิโนสุกะ (ร่างแรก) และฮิโระ ชิโมะโนะ (ร่างสอง) ส่วนผู้พากย์เสียงอังกฤษในร่างแรก คือ เอส. สก็อต บุลล็อก ร่วมกับจูเลีย เฟลตเชอร์ ผู้เคยพากย์เสียงยูนาเลสกาในไฟนอลแฟนตาซี X และจัดจ์เดรสในไฟนอลแฟนตาซี XII ในร่างที่สอง พากย์เสียงอังกฤษโดย ไมเคิล ซินเตอนิคลาส
- บาร์ธานเดลุส ราชาแห่งฟาลซี มีอีกร่างหนึ่งเป็น กาเรนธ์ ไดน์สลีย์ ผู้นำรัฐบาลศักดิ์สิทธิ์แห่งโคคูน ชื่อของบาร์ธานเดลุสมาจากบัลดันเดอร์ สัตว์ประหลาดตามตำนานของกลุ่มชนเจอร์มานิค ให้เสียงพากย์ญี่ปุ่นโดยมะซะรุ ชิโนสุกะ และเสียงพากย์อังกฤษโดยเอส. สก็อต บุลล็อก ผู้เคยพากย์เสียงโลกอส ในไฟนอลแฟนตาซี X-2
- อะนิมา ฟาลซีตนแรกที่กลุ่มตัวเอกได้สู้ อะนิมาเคยเป็นชื่อมนต์อสูรในไฟนอลแฟนตาซี X
- คุจาตา ฟาลซีประจำโรงงานในหุบเขาเอรีด เป็นผู้มอบหมายภารกิจให้ดาจฮ์ ลูกชายของซาร์ซ คุจาตาเคยเป็นชื่อมนต์อสูรในไฟนอลแฟนตาซี VII
- คาร์บังเคิล ฟาลซีผู้ปกป้องเมืองพาลัมโพลัม
- ฟีนิกซ์ ฟาลซีแห่งโคคูนผู้สร้างแสงสว่าง
- ดาฮากา ฟาลซีประจำหอคอยเทจินในพัลส์ที่ตัวเอกต้องสู้ก่อนผ่านไปยังหมู่บ้านโอร์บะ ดาฮากาเคยเป็นชื่อบอสตนหนึ่งในไฟนอลแฟนตาซี IX
- อะโตมอส ฟาลซีแห่งพัลส์ที่กลุ่มตัวเอกใช้ในการเดินทางช่วงสั้นๆ
- บิสมาร์ก ฟาลซีรูปร่างปลาผู้เฝ้าทะเลสาบ บิสมาร์กเคยเป็นชื่อมนต์อสูรในไฟนอลแฟนตาซี VI
- ไตตัน ฟาลซีแห่งพัลส์ มีรูปร่างสูงใหญ่ ในเกมจะมีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับไตตันอยู่ด้วย
- เอเดน ฟาลซีประจำมหานครเอเดนและเป็นฟาลซีตนแรกที่ตัวเอกพบในหอคอยออร์แฟนเครเดิล ดันเจี้ยนสุดท้ายของเกม เอเดนเคยเป็นชื่อมนต์อสูรในไฟนอลแฟนตาซี VIII
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดนตรี
[แก้]มะซะชิ ฮะมะอุซุ ผู้ประพันธ์ร่วมดนตรีประกอบเกมภาค X ได้กลับมาทำเพลงให้ภาคนี้ โดยมีวงดุริยางค์ฟิลฮาร์โมนิกแห่งวอร์ซอบรรเลงเพลง ร่วมกับการใช้เสียงสังเคราะห์ เพลงนำของเกมในภาคนี้ชื่อว่า "Because You're Here" (ญี่ปุ่น: 君がいるから, อักษรโรมัน: Kimi ga Iru Kara,ไทย: เพราะมีเธออยู่ตรงนี้) และ Eternal Love ขับร้องโดย ซายูริ ซุงะวาระ ซึ่งทั้งสองเพลงประพันธ์โดย โนะบุโอะ อุเอะมัตสึ สำหรับในเวอร์ชันอเมริกาเหนือจะเปลี่ยนเพลง Kimi ga Iru Kara เป็นเพลง "My Hands" ในอัลบั้ม Echo ของเลโอนา ลิวอิส โดยอัลบั้มเพลงประกอบเกมวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553 นอกจากนี้ ยังมีอัลบั้มเพลงประกอบเกมเพิ่มเติม Final Fantasy XIII Original Soundtrack PLUS ซึ่งประกอบด้วยเพลงที่นำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อใช้ในเกม เพลงจากเวอร์ชันภาษาอังกฤษ เพลงในเทรลเลอร์ และเพลงจากเวอร์ชันทดสอบ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
รายชื่อเพลง
[แก้]ลำดับ | ชื่อเพลง | ชื่อญี่ปุ่น | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "Prelude to Final Fantasy XIII" | FINAL FANTASY XIII プレリュード FINAL FANTASY XIII Preryūdo | 2:55 |
2. | "Final Fantasy XIII - The Promise" | FINAL FANTASY XIII ~誓い~ FINAL FANTASY XIII ~Chikai~ | 1:33 |
3. | "The Thirteenth Day" | 第13日 Daijūsannichi | 0:54 |
4. | "Defiers of Fate" | 運命への反逆 Unmei e no Hangyaku | 2:24 |
5. | "Saber's Edge" | ブレイズエッジ Bureizu Ejji | 3:14 |
6. | "The Hanging Edge" | 封鎖区画ハングドエッジ Fūsa Kukaku Hangudo Ejji | 3:26 |
7. | "Those For the Purge" | パージされる者たち Pājisareru Mono-tachi | 3:05 |
8. | "The Warpath Home" | 帰るための戦い Kaeru tame no Tatakai | 3:32 |
9. | "The Pulse Fal'Cie" | 下界のファルシ Parusu no Farushi | 1:13 |
10. | "Face It Later" | 逃げてもいいの Nigete mo Ī no | 0:55 |
11. | "Snow's Theme" | スノウのテーマ Sunō no Tēma | 3:48 |
12. | "The Vestige" | 異跡 Iseki | 2:48 |
13. | "Ragnarok" | ラグナロク Ragunaroku | 3:47 |
14. | "In the Sky That Night" | あの日の空 Ano Hi no Sora | 1:24 |
15. | "Promised Eternity" | 永遠の誓い Eien no Chikai | 2:24 |
16. | "Eternal Love (Short Version)" | Eternal Love (Short Version) | 3:27 |
17. | "Lake Bresha" | ビルジ湖 Biruji Mizūmi | 4:11 |
18. | "The Pulse L'Cie" | 下界のルシたち Parusu no Rushi-tachi | 1:37 |
19. | "Eidolons" | 召喚獣 Shōkanjū | 2:50 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ชื่อญี่ปุ่น | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "Blinded By Light" | 閃光 Senkō | 2:55 |
2. | "Glory's Fanfare" | 栄光のファンファーレ Eikō no Fanfāre | 0:08 |
3. | "Battle Results" | バトルリザルト Batoru Rizaruto | 1:15 |
4. | "A Brief Respite" | つかのまの安息 Tsukanoma no Ansoku | 2:08 |
5. | "Cavalry Theme" | 騎兵隊のテーマ Kiheitai no Tēma | 2:38 |
6. | "Escape" | 脱出 Dasshutsu | 1:59 |
7. | "Crash Landing" | 撃墜 Gekitsui | 1:04 |
8. | "Daddy's Got the Blues" | アフロブルース Afuro Burūsu | 4:28 |
9. | "The Vile Peaks" | 遺棄領域ヴァイルピークス Iki Ryōiki Vairu Pīkusu | 3:02 |
10. | "Lightning's Theme" | ライトニングのテーマ Raitoningu no Tēma | 2:26 |
11. | "Sazh's Theme" | サッズのテーマ Sazzu no Tēma | 3:25 |
12. | "March of the Dreadnoughts" | ドレッドノート大爆進! Doreddonōto Daibakushin! | 2:31 |
13. | "The Gapra Whitewood" | ガプラ樹林 Gapura Jurin | 2:45 |
14. | "Tension in the Air" | 緊迫 Kinpaku | 3:28 |
15. | "Forever Fugitives" | 果てなき疾走 Hatenaki Shissō | 1:50 |
16. | "The Sunleth Waterscape" | サンレス水郷 Sanresu Suigō | 3:46 |
17. | "Lost Hope" | 見失った希望 Miushinatta Kibō | 2:58 |
18. | "To Hunt L'Cie" | ルシ狩り作戦 Rushi Kari Sakusen | 2:40 |
19. | "No Way to Live" | 希望なき闘争 Kibōnaki Tōsō | 2:04 |
20. | "Sustained by Hate" | 恩讐の果て Onshū no Hate | 2:38 |
21. | "The Pulse L'Cie" | グラン=パルスのルシ Guran-Parusu no Rushi | 4:12 |
22. | "Serah's Theme" | セラのテーマ Sera no Tēma | 1:30 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ชื่อญี่ปุ่น | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "Can't Catch A Break" | 父ちゃん奮闘だぁ! Tō-chan Funtō dā! | 5:20 |
2. | "PSICOM" | PSICOM | 1:02 |
3. | "Hope's Theme" | ホープのテーマ Hōpu no Tēma | 3:30 |
4. | "This is Your Home" | おまえの家はここだ Omae no Ie wa Koko da | 2:16 |
5. | "Atonement" | 償い Tsugunai | 4:24 |
6. | "Vanille's Theme" | ヴァニラのテーマ Vanira no Tēma | 3:00 |
7. | "The Final Stage" | 刻限 Kokugen | 0:42 |
8. | "The Pompa Sancta" | ポンパ・サンクタ Ponpa Sankuta | 2:12 |
9. | "Nautilus" | 歓楽都市ノーチラス Kanraku Toshi Nōchirasu | 4:58 |
10. | "Chocobos of Cocoon - Chasing Dreams" | コクーンdeチョコボ~夢をみようよ~ Cokūn de Chokobo ~Yume o Miyō yo~ | 2:57 |
11. | "Feast of Betrayal" | 偽りの饗宴 Itsuwari no Kyōen | 3:17 |
12. | "Eidolons on Parade" | 夢の終わり Yume no Owari | 3:36 |
13. | "Test of the L'Cie" | ルシの試練 Rushi no Shiren | 2:23 |
14. | "All the World Against Us" | 世界の敵 Sekai no Teki | 1:16 |
15. | "Game Over" | ゲームオーバー Gēmu Ōbā | 1:15 |
16. | "Primarch Dysley" | 聖府代表ダイスリー Seifu Daihyō Daisurī | 3:03 |
17. | "Fighting Fate" | 宿命への抗い Unmei e no Arai | 2:28 |
18. | "Separate Paths" | ルシたちの想い Rushi-tachi no Omoi | 2:42 |
19. | "Setting You Free" | 継ぎゆく意志 Tsugiyuku Ishi | 2:17 |
20. | "Desperate Struggle" | 死闘 Shitō | 3:49 |
21. | "Mysteries Abound" | 神秘 Shinpi | 2:41 |
22. | "Will to Fight" | Choose to Fight | 4:20 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ชื่อญี่ปุ่น | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "Fang's Theme" | ファングのテーマ Fangu no Tēma | 3:38 |
2. | "Terra Incognita" | 異境大陸グラン=パルス Iki Tairiku Guran-Parusu | 2:18 |
3. | "The Archylte Steppe" | アルカキルティ大平原 Arukakiruti Daiheigen | 4:25 |
4. | "Chocobos of Pulse" | パルスdeチョコボ Parusu de Chokobo | 4:18 |
5. | "The Yaschas Massif" | ヤシャス山 Yashasu San | 2:11 |
6. | "Memories of Happier Days" | 優しい思い出 Yasashī Omoide | 3:13 |
7. | "Sulyya Springs" | スーリヤ湖 Sūriya Mizūmi | 3:25 |
8. | "Taejin's Tower" | テージンタワー Tējin Tawā | 3:08 |
9. | "Dust to Dust" | 色のない世界 Iro no nai Sekai | 3:49 |
10. | "The Road Home" | 帰郷 Kikyō | 1:07 |
11. | "Start Your Engines" | カウントダウン Kauntodaun | 3:23 |
12. | "Eden Under Siege" | 動乱のエデン Dōran no Eden | 2:33 |
13. | "The Cradle Will Fall" | 終焉の揺籃 Shūen no Yōran | 3:58 |
14. | "Born Anew" | 降誕 Kōtan | 2:59 |
15. | "Sinful Hope" | 罪深き希望 Tsumibukaki Kibō | 3:44 |
16. | "Fabula Nova Crystallis" | ファブラ・ノヴァ・クリスタリス Fabura Nova Kurisutarisu | 2:40 |
17. | "FINAL FANTASY XIII - Miracles" | FINAL FANTASY XIII ~奇跡~ FINAL FANTASY XIII ~Kiseki~ | 2:49 |
18. | "Focus" | 使命 Shimei | 2:21 |
19. | "Nascent Requiem" | 生誕のレクイエム Seitan no Rekuiemu | 5:03 |
20. | "Determination" | 決意 Ketsui | 3:22 |
21. | "Kimi ga Iru kara (Long Version)" | 君がいるから (Long Version) | 6:22 |
22. | "Ending Credits" | エンディングロール Endingu Rōru | 4:42 |