ข้ามไปเนื้อหา

ไฟนอลแฟนตาซี IV

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟนอลแฟนตาซี IV
ภาพกล่องของเกมซูเปอร์แฟมิคอมดั้งเดิม (ภาษาญี่ปุ่น)
ผู้พัฒนาสแควร์
ผู้จัดจำหน่าย
สแควร์
กำกับฮิโรโนบุ ซากางูจิ
ออกแบบทากาชิ โทกิตะ
โปรแกรมเมอร์เค็ง นาริตะ
ศิลปินโยชิตากะ อามาโนะ
เขียนบท
  • ทากาชิ โทกิตะ
  • ฮิโรโนบุ ซากางูจิ[1]
แต่งเพลงโนบูโอะ อูเอมัตสึ
ชุดไฟนอลแฟนตาซี
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
19 กรกฎาคม ค.ศ. 1991
แนวเล่นตามบทบาท
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

ไฟนอลแฟนตาซี IV[a] (อังกฤษ: Final Fantasy IV) หรือที่รู้จักกันในชื่อไฟนอลแฟนตาซี II สำหรับการเปิดตัวครั้งแรกในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทสแควร์ (ปัจจุบันคือสแควร์เอนิกซ์) สำหรับซูเปอร์แฟมิคอม ซึ่งเปิดตัวใน ค.ศ. 1991 โดยเป็นภาคหลักที่สี่ของซีรีส์ไฟนอลแฟนตาซี เรื่องราวของเกมนี้เดินตามเซซิล ผู้เป็นอัศวินดำ ในขณะที่เขาพยายามป้องกันไม่ให้ผู้วิเศษที่ชื่อโกลเบซยึดคริสตัลอันทรงพลังและทำลายโลก เขาเข้าร่วมในภารกิจนี้โดยกลุ่มพันธมิตรที่เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ไฟนอลแฟนตาซี IV นำเสนอสิ่งใหม่ที่กลายมาเป็นแก่นของซีรีส์ไฟนอลแฟนตาซีและเกมเล่นตามบทบาทโดยทั่วไป ซึ่งคือระบบ "แอกทีฟไทม์แบตเทิล" ที่ใช้ในเกมไฟนอลแฟนตาซีห้าภาคที่ตามมา และไม่เหมือนกับภาคก่อน ๆ ในซีรีส์นี้ เนื่องจากภาค IV มอบคลาสตัวละครให้แก่ตัวละครแต่ละตัวที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ไฟนอลแฟนตาซี IV ได้รับการย้ายไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ หลายระบบโดยมีความแตกต่างกันออกไป ส่วนฉบับรีเมกยังเรียกว่าไฟนอลแฟนตาซี IV ที่มาพร้อมกับกราฟิก 3 มิตินั้น ได้รับการเปิดตัวสำหรับนินเท็นโด ดีเอส ใน ค.ศ. 2007 และ ค.ศ. 2008 โดยในอดีต เกมนี้ได้รับการตั้งชื่อใหม่ว่าไฟนอลแฟนตาซี II ในระหว่างการเปิดตัวครั้งแรกนอกประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากภาค II และภาค III ดั้งเดิมยังไม่ได้วางจำหน่ายนอกประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้น กระทั่งมีการปรับไฟนอลแฟนตาซี IV ให้เข้ากับท้องถิ่นในภายหลัง ซึ่งเริ่มปรากฏหลังจากไฟนอลแฟนตาซี VII (วางจำหน่ายทั่วโลกภายใต้ชื่อนั้น) ได้ใช้ชื่อซึ่งมีมาแต่เดิม

การเกิดใหม่ของเกมนี้มียอดขายมากกว่าสี่ล้านชุดทั่วโลก ภาคต่ออย่างไฟนอลแฟนตาซี IV: ดิอาฟเตอร์เยียส์ ได้รับการเผยแพร่สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2008 และทั่วโลกผ่านทางบริการวีชอปแชนเนิลเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ครั้นใน ค.ศ. 2011 ทั้งไฟนอลแฟนตาซี IV ภาคปกติ และภาคดิอาฟเตอร์เยียส์ได้รับการเผยแพร่สำหรับเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรวมในไฟนอลแฟนตาซี IV: เดอะคัมพลีตคอลเลกชัน ซึ่งรวมถึงเกมใหม่ที่ตั้งอยู่ระหว่างทั้งสองเกมนี้ นั้นคือไฟนอลแฟนตาซี IV: อินเทอร์ลูด อนึ่ง พอร์ตของรีเมกนินเท็นโด ดีเอส ได้เปิดตัวสำหรับไอโอเอสใน ค.ศ. 2012, สำหรับแอนดรอยด์ใน ค.ศ. 2013 และสำหรับวินโดวส์ใน ค.ศ. 2014 ส่วนพอร์ตที่ได้รับการปรับปรุงอีกพอร์ตหนึ่งของไฟนอลแฟนตาซี IV ได้รับการเผยแพร่โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรวมซีรีส์ในไฟนอลแฟนตาซีพิกเซลรีมาสเตอร์สำหรับไอโอเอส, แอนดรอยด์ และวินโดวส์ใน ค.ศ. 2021 รวมถึงสำหรับนินเท็นโด สวิตช์ และเพลย์สเตชัน 4 ใน ค.ศ. 2023

หากมองย้อนกลับไป ไฟนอลแฟนตาซี IV มักได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในวิดีโอเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล โดยการบันทึกว่าไฟนอลแฟนตาซี IV เป็นเกมบุกเบิกคุณสมบัติเกมเล่นตามบทบาทในเครื่องเล่นทั่วไปหลายอย่างในปัจจุบัน รวมถึงแนวคิดของการเล่าเรื่องที่น่าทึ่งในเกมประเภทนี้[2][3] เกมนี้ได้รับการรวมอยู่ในรายชื่อเกมที่ดีที่สุดตลอดกาลโดยเว็บไซต์ไอจีเอ็น (อันดับ 9 ใน ค.ศ. 2003) ในฐานะเกมเล่นตามบทบาทที่มีอันดับสูงสุด[4][5] เช่นเดียวกับการสำรวจความคิดเห็นของผู้อ่านนิตยสารแฟมิซือใน ค.ศ. 2006 เกี่ยวกับเกมที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา[6] นอกจากนี้ เกมดังกล่าวยังปรากฏในการจัดอันดับต่าง ๆ สำหรับเกมที่ดีที่สุดตลอดกาลในนิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลีใน ค.ศ. 2001[7] และ ค.ศ. 2006,[8] นิตยสารเกมอินฟอร์เมอร์ใน ค.ศ. 2001[9] และ ค.ศ. 2009,[10] เว็บไซต์เกมสปอตใน ค.ศ. 2005,[11] ตลอดจนเว็บไซต์เกมแฟคส์ใน ค.ศ. 2005,[12] ค.ศ. 2009[13] และ ค.ศ. 2014[14]

รูปแบบการเล่น

[แก้]
ฉากการปะทะจากเกมเวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอม: ที่ทีมตัวเอกเข้าปะทะมังกรสีน้ำเงิน

ไฟนอลแฟนตาซี IV ผู้เล่นจะควบคุมตัวละครจำนวนมากและทำภารกิจให้สำเร็จเพื่อให้เรื่องราวก้าวหน้า เหล่าตัวละครของผู้เล่นจะเคลื่อนไหวและโต้ตอบกับผู้คนและวัตถุบนแผนที่ลาน ซึ่งอาจแสดงถึงฉากต่าง ๆ เช่น หอคอย, ถ้ำ และป่าไม้ ส่วนการเดินทางระหว่างแอเรียเกิดขึ้นในโลกใบใหญ่ นอกจากนี้ ผู้เล่นสามารถใช้เมืองเพื่อเติมเต็มความแข็งแกร่ง, ซื้ออุปกรณ์ และค้นหาเบาะแสเกี่ยวกับจุดหมายปลายทางต่อไป[15] ในทางกลับกัน ผู้เล่นจะต่อสู้กับสัตว์ประหลาดตามช่วงเวลาแบบสุ่มในโลกใบใหญ่และในดันเจียน ส่วนในการปะทะ ผู้เล่นมีตัวเลือกในการต่อสู้, ใช้เวทมนตร์หรือไอเทม, ถอย, เปลี่ยนตำแหน่งตัวละคร, ปัดป้อง หรือหยุดชั่วคราว โดยตัวละครบางตัวมีความสามารถพิเศษ[15] และเกมนี้เป็นภาคแรกในซีรีส์ที่อนุญาตให้ผู้เล่นควบคุมตัวละครได้สูงสุดห้าตัวในทีมของพวกเขา ขณะเกมภาคก่อนหน้าจำกัดไว้ที่สี่ตัว[16]

บรรดาตัวละครผู้เล่นและบรรดามอนสเตอร์จะมีค่าพลังชีวิต (HP) โดยค่าพลังชีวิตของตัวละครดังกล่าวจะระบุไว้ใต้หน้าจอการต่อสู้หลัก ซึ่งการโจมตีจะลดค่าพลังชีวิตที่เหลือจนกระทั่งไม่เหลือเลย จากนั้นตัวละครจะหมดสติหรือมอนสเตอร์ตาย และหากตัวละครผู้เล่นทั้งหมดพ่ายแพ้ เกมจะต้องได้รับการคืนค่าจากไฟล์เกมที่บันทึกไว้[15] ผู้เล่นสามารถฟื้นฟูค่าพลังชีวิตของตัวละครได้โดยการให้ตัวละครนอนในโรงเตี๊ยมหรือใช้ไอเทมในคลังของทีม เช่น โพชัน รวมถึงใช้คาถารักษา ส่วนอุปกรณ์ (เช่น ดาบและชุดเกราะ) ที่ซื้อในเมืองหรือพบในดันเจียนสามารถใช้เพื่อเพิ่มความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเหล่ามอนสเตอร์หรือลดความเสียหายที่ได้รับให้เหลือน้อยที่สุด[15] ตลอดจนผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าตัวละครจะปรากฏอยู่แนวหน้าหรือแนวหลังในการปะทะ โดยตำแหน่งของตัวละครส่งผลต่อความเสียหายที่ได้รับและสร้างขึ้นขึ้นอยู่กับประเภทของการโจมตี[15]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Final Fantasy Ultimania Archive. Vol. 1. Milwaukie: Dark Horse Comics. 2018. ISBN 978-15-0670-644-3.

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ファイナルファンタジーIV Fainaru Fantajī Fō

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ famitsusakaguchi
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ gamespot
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Turner
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ IGN2003
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ EGM2001
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ EGM2006
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GI2001
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GI2009
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GameSpot2006
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GF2005
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GF2009
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GF2014
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 Square Co., บ.ก. (1991). Final Fantasy II instruction manual. Square Co. p. 74. SFS-F4-USA-1.
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ FFIVGametrailers

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]