ไชนาเรดิโออินเตอร์เนชันแนล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
China Radio International
Shijingshan Road 16th Beijing
พื้นที่กระจายเสียงWorldwide
แบบรายการ
รูปแบบForeign-language radio shows
บริษัทในเครือState Administration of Radio, Film, and Television
การเป็นเจ้าของ
เจ้าของ จีน
ประวัติ
เริ่มกระจายเสียงDecember 3, 1941
ลิงก์
เว็บไซต์CRI, CRI in English

ไชนาเรดิโออินเตอร์เนชันแนล (อังกฤษ: China Radio International, CRI; จีน: 中国国际广播电台; พินอิน: Zhōngguó Guójì Guǎngbō Diàntái; ก่อนหน้านี้เรียกว่า Radio Beijing และชื่อแรกก่อตั้งคือ Radio Peking) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงนานาชาติของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Babaoshan ตำบลหนึ่งในกรุงปักกิ่ง

CRI แสดงจุดยืนของรัฐบาลจีนในทางการเมือง อาทิ ฐานะทางการเมืองของไต้หวัน ดาไลลามะ ฯลฯ CRI พยายามส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างจีนและนานาอารยประเทศ ในฐานะเครื่องมือในการโฆษณาต่อชาวโลกเช่นเดียวกับ Voice of America, BBC World Service และ Radio Australia CRI มีบทบาทสำคัญในกลยุทธ soft power ของรัฐบาลจีน

CRI มีสำนักงานในต่างประเทศ 30 แห่งและกระจายเสียงรายการ 1,520 ชั่วโมงต่อวัน (24 ชั่วโมงเป็นภาษาอังกฤษ) ประกอบไปด้วย ข่าว เรื่องราวปัจจุบัน สารคดี การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครื่องส่งคลื่นสั้นกว่า 50 เครื่องใช้ในการกระจายเสียงไป ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก ทั้งยังกระจายเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตและดาวเทียมอีกด้วย บางรายการถูกกระจายเสียงต่อผ่านวิทยุเอฟเอ็มและเอเอ็มท้องถิ่นทั่วโลก

ประวัติ[แก้]

จีนเริ่มมีวิทยุในคริสต์ทศวรรษ 1920 และ 1930 แต่มีเพียงไม่กี่ครอบครัวเท่านั้นที่มีเครื่องรับวิทยุ ไม่กี่เมืองเท่านั้นที่มีสถานีวิทยุเอกชน การใช้วิทยุส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น

พรรคคอมมิวนิสต์จีนเริ่มใช้วิทยุใน Yanan เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 โดยเครื่องส่งที่นำเข้ามาจากมอสโก Xinhua New Chinese Radio (XNCR) ออกอากาศจาก Yanan เมื่อ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1940 XNCR ขยายพื้นที่การส่งออกไปเป็นวงกว้างหลัง ค.ศ. 1945 และเริ่มมีรายการที่เป็นรูปร่างแบบแผน ซึ่งประกอบไปด้วย ข่าว ประกาศจากราชการ เรื่องเกี่ยวกับสงคราม ศิลปะ และวรรณกรรม

การกระจายเสียงในภาคภาษาอังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อง 11 กันยายน ค.ศ. 1947 จากถ้ำแห่งหนึ่งใน Shahe ในเทือกเขา Taihang Mountains,[1] ขณะที่จีนกำลังอยู่ระหว่างสงครามกลางเมือง การกระจายเสียงป่าวประกาศให้โลกรู้ถึงมุมมองทางการเมืองและวัฒนธรรมของจีน และพื้นที่ที่ยึดมาได้ใหม่จากสงคราม[2][3] สถานีได้ย้ายออกจากเทือกเขา Taihang ไปยังเมืองหลวงกรุงปักกิ่งเมื่อมีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อ ค.ศ. 1949 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Radio Peking เมื่อ 10 เมษายน ค.ศ. 1950 และ Radio Beijing ใน ค.ศ. 1983 เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1993 จึงเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น China Radio International เพื่อป้องกันความสับสนกับวิทยุท้องถิ่นในปักกิ่ง

รายการ[แก้]

ภาษา[แก้]

ไชนาเรดิโออินเตอร์เนชันแนลกระจายเสียงในภาษาต่าง ๆ ต่อไปนี้

ภาษาอัลเบเนีย
ภาษาอาหรับ
ภาษาเบลารุส
ภาษาเบงกอล
ภาษาบัลแกเรีย
ภาษาพม่า
ภาษาโครเอเชีย
ภาษาเขมร
ภาษาจีนกลาง
ภาษาเช็ก
ภาษาเดนมาร์ก
ภาษาดัตช์
ภาษาอังกฤษ
ภาษาเอสเปรันโต

ภาษาเอสโตเนีย
ภาษาฟิลิปีโน
ภาษาฟินแลนด์
ภาษาฝรั่งเศส
ภาษาเยอรมัน
ภาษากรีก
ภาษาเฮาซา
ภาษาฮิบรู
ภาษาฮินดี
ภาษาฮังการี
ภาษาไอซ์แลนด์
ภาษาอินโดนีเซีย
ภาษาอิตาลี
ภาษาญี่ปุ่น

ภาษาคาซัค
ภาษาเกาหลี
ภาษาลาว
ภาษาลิทัวเนีย
ภาษามาเลเซีย
ภาษามองโกเลีย
ภาษาเนปาล
ภาษานอร์เวย์
ภาษาเปอร์เซีย
ภาษาโปแลนด์
ภาษาโปรตุเกส
ภาษาปาทาน
ภาษาโรมาเนีย
ภาษารัสเซีย

ภาษาเซอร์เบีย
ภาษาสิงหล
ภาษาสเปน
ภาษาสวาฮีลี
ภาษาสวีเดน
ภาษาทมิฬ
ภาษาไทย
ภาษาทิเบต
ภาษาตุรกี
ภาษายูเครน
ภาษาอูรดู
ภาษาอุยกูร์
ภาษาเวียดนาม

การกระจายเสียงในภาษา Tibetan, Uygur และ Kazakh เป็นการดำเนินการร่วมกับสถานีท้องถิ่น (Tibet People's Broadcasting Station and Xinjiang People's Broadcasting Station)

อ้างอิง[แก้]

  1. "CRI Marks China's First English Radio Show." (Archive) CRI English. November 25, 2011. Retrieved on November 16, 2013.
  2. Chang, Won Ho, "Mass Media in China: The History and the Future", Ames, Iowa: Iowa State University Press, 1989, pp. 151-152.ISBN 978-081-380-272-5
  3. China Radio International, History and Milestones: CRI English Service (Archive)