การขาดโฟเลต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การขาดโฟเลต
(Folate deficiency )
กรดโฟลิก ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินบี9 แบบที่มีฤทธิ์
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10D52 E53.8
ICD-9266.2
DiseasesDB4894
MedlinePlus000354
eMedicinemed/802
MeSHD005494

การขาดโฟเลต (อังกฤษ: Folate deficiency) คืออาการเมื่อร่างกายมีระดับกรดโฟลิกที่ต่ำ โฟเลตซึ่งรู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า วิตามินบี9 มีบทบาทในการสังเคราะห์ adenosine, guanine, และ thymidine ซึ่งเป็นส่วนของการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ อาการขาดโฟเลตบ่อยครั้งสังเกตได้ยาก โดยภาวะเลือดจางเหตุขาดโฟเลต (folate deficiency anemia) เป็นอาการที่พบในภายหลัง[1] ซึ่งมีอาการเม็ดเลือดแดงที่โตผิดปกติ (megaloblast) เพราะไม่มีกรดโฟลิกเพียงพอในร่างกาย[2]

อาการ[แก้]

อาการอาจรวมความไม่อยากอาหารและน้ำหนักลด อาการอื่น ๆ รวมทั้งความอ่อนเพลีย ลิ้นเจ็บ ปวดหัว ใจสั่น หงุดหงิด และความผิดปกติทางพฤติกรรม[3] ในผู้ใหญ่ ภาวะโลหิตจาง (แบบเม็ดเลือดแดงใหญ่ เป็น megaloblastic anemia) อาจเป็นตัวชี้ว่ามีโรคมานานแล้ว ในทารกและเด็ก การขาดโฟเลตอาจทำให้โตช้า หญิงที่ขาดโฟเลตแล้วตั้งครรภ์มีโอกาสคลอดเด็กตัวเล็กก่อนกำหนดและมีทารกที่มีปัญหาหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) สูงกว่า งานศึกษาเมื่อไม่นานนี้แสดงว่าอาจมีส่วนร่วมกับการเกิดเนื้องอก โดยเฉพาะในลำไส้ใหญ่ผ่านกระบวนการ demethylation/hypomethylation ของเนื้อเยื่อที่กำลังแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ว่าอาการบางอย่างสามารถเกิดจากโรคอื่นได้ ดังนั้น การให้แพทย์ตรวจอาการเพื่อรักษาให้ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ความซึมเศร้า[แก้]

งานศึกษาหลายงานแสดงว่า สถานะของโฟเลตและวิตามินบี12 อาจมีบทบาทให้เกิดความซึมเศร้า[4] เพราะว่าทั้งสองมีส่วนในปฏิกิริยา transmethylation ซึ่งขาดไม่ได้ในการสร้างสารสื่อประสาทและสารอื่น ๆ (เช่น เซโรโทนิน, อีพิเนฟริน, nicotinamide, purines, และฟอสโฟลิพิด)[4][5]

ระดับโฟเลตหรือวิตามินบี12 ที่ต่ำสามารถระงับปฏิกิริยา transmethylation ทำให้สะสม homocysteine และขัดขวางกระบวนการเมแทบอลิซึมของสารสื่อประสาท (โดยเฉพาะกระบวนการ hydroxylation ของโดพามีนและเซโรโทนิน จาก tyrosine และ tryptophan) ฟอสโฟลิพิด ปลอกไมอีลิน และตัวรับในเซลล์ประสาท ระดับ homocysteine ที่สูงเกินในเลือด (hyperhomocysteinemia) อาจทำให้เส้นเลือดเสียหายจากออกซิเดชันซึ่งมีผลต่อการทำงานผิดปกติในสมอง และอาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ รวมทั้งโรคซึมเศร้า[4][5]

มีงานศึกษาหลายงานที่พบระดับโฟเลตและวิตามินบี12 ที่ต่ำในคนไข้โรคซึมเศร้า นอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาบางงานยังแสดงว่า การมีระดับโฟเลตต่ำทำให้รักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าได้ไม่ดี และมีงานอื่นที่แสดงว่า การมีวิตามินบี12 สูงสัมพันธ์กับผลการรักษาที่ดีกว่า ดังนั้น การได้วิตามินทั้งสองอย่างนี้เพียงพอไม่ใช่ช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าเท่านั้น แต่ยังช่วยบำบัดโรคเมื่อรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าด้วย[4][5]

เหตุ[แก้]

การขาดโฟเลตอาจเกิดขึ้นเมื่อต้องการโฟเลตมากขึ้น หรือเมื่อทานอาหารที่มีโฟเลตไม่เพียงพอ หรือว่าเมื่อร่างกายขับหรือเสียโฟเลตมากกว่าปกติ ยาที่ขัดขวางการใช้โฟเลตในร่างกายอาจจะทำให้จำเป็นต้องได้วิตามินนี้เพิ่มขึ้น[6][7][8][9][10][11] งานวิจัยบางงานแสดงว่าการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต รวมทั้งการใช้เตียงอาบแดด สามารถทำให้ขาดโฟเลต[12][13] การขาดมักสามัญกว่าในหญิงมีครรภ์ ทารก เด็ก และวัยรุ่น และอาจมาจากอาหารที่ไม่ถูกสุขภาพหรือเป็นผลของการติดเหล้า[14]

นอกจากนั้นแล้ว ความผิดปกติในเอนไซม์ homocysteine methyltransferase หรือการขาดวิตามินบี12 อาจนำไปสู่สถานการณ์ที่เรียกว่ากับดักเมทิล ("methyl-trap") ของ tetrahydrofolate (THF) ซึ่ง THF เปลี่ยนไปเป็นบ่อเก็บ methyl-THF ซึ่งไม่สามารถมีเมแทบอลิซึมต่อไปได้ และดังนั้นจึงกลายเป็นบ่อดูด THF ซึ่งในที่สุดมีผลขาดโฟเลต[15] ดังนั้น การขาดวิตามินบี12 จึงสามารถสร้างบ่อดูด methyl-THF ขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถทำปฏิกิริยาอะไรได้ และมีอาการปรากฏเหมือนกับขาดโฟเลต

ลำไส้เล็กทั้งตอนจะเป็นตัวดูดซึมโฟเลต แม้จะเกิดโดยหลักในลำไส้เล็กส่วนกลาง โดยโฟเลตจะเข้ายึดกับ receptor protein โดยเฉพาะเจาะจง การอักเสบของลำไส้เล็กแบบแพร่กระจาย หรือโรคที่ทำให้ลำไส้เสื่อม เช่น Crohn's disease, coeliac disease, ลำไส้อักเสบเรื้อรัง (chronic enteritis), หรือ entero-enteric fistulae อาจลดฤทธิ์ของ pteroyl polyglutamase (PPGH) ซึ่งเป็น เอนไซม์แบบ hydrolase ที่จำเป็นในการดูดซึมโฟเลต และดังนั้น จึงนำไปสู่การขาดโฟเลต

เหตุการณ์[แก้]

เหตุการณ์บางอย่างอาจทำให้จำเป็นต้องได้รับโฟเลตมากขึ้น รวมทั้ง

เภสัชวิทยา[แก้]

ยาบางอย่างอาจขัดขวางเมแทบอลิซึมของโฟเลต รวมทั้ง

เมื่อแพทยสั่งยา methotrexate บางครั้งก็จะให้กรดโฟลิกเสริมด้วย ผลการรักษาของ methotrexate มาจากฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ dihydrofolate reductase และดังนั้น จึงลดอัตราการสังเคราะห์แบบ de novo (คือจากโมเลกุลง่าย ๆ แทนการเวียนใช้ใหม่) ของ purine กับ pyrimidine และลดอัตราการแบ่งเซลล์ เพราะระงับการแบ่งเซลล์ ยาจึงมีพิษมากต่อเซลล์ที่ต้องแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เซลล์มะเร็ง และเซลล์ progenitor ของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้น การเสริมโฟเลตจึงมีประโยชน์กับคนไข้ที่ได้ยาขนาดต่ำระยะยาวเพื่อแก้อักเสบ เช่น โรคไขข้ออักเสบ (rheumatoid arthritis) หรือโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดโตจากการขาดโฟเลต บางครั้งแพทย์ก็จะให้โฟเลตเสริมก่อนเริ่มเคมีบำบัดขนาดสูงเพื่อป้องกันเซลล์ที่ยังดี แต่ว่า ไม่ควรใช้ methotrexate ร่วมกับกรดโฟลิกในการรักษามะเร็งเพราะอาจขัดกัน[16]

การป้องกันและรักษา[แก้]

กรดโฟลิกอยู่ในผักใบเขียวหลายอย่าง วิตามินรวมก็มักจะรวมโฟเลตกับวิตามินบีอื่น ๆ ด้วย วิตามินบี มีโฟเลตเป็นต้น ละลายน้ำได้ และที่เกินจะขับออกทางปัสสาวะ เมื่อทำอาหาร การนึ่งอาจช่วยเก็บโฟเลตไว้ในอาหารได้ดีกว่า (เทียบกับการต้ม) และดังนั้น จะช่วยป้องกันการขาดโฟเลต การขาดโฟเลตช่วงตั้งครรภ์สัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) สำหรับทารกในครรภ์สูงขึ้น[17] และภาวะเช่นนี้ในช่วงตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์แรกสามารถก่อให้เกิดปัญหาทางโครงสร้างและพัฒนาการ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) แนะนำหญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ให้เสริมวิตามินบีก่อนตั้งครรภ์และในเดือนแรกของการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันปัญหานั้น[18]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Huether, Sue; McCance, Kathryn (2004). "20". Understanding Pathophysiology (3rd ed.). Mosby. p. 543. ISBN 0-323-02368-1.
  2. Tamparo, Carol. Diseases of the Human Body (Fifth ed.). Philadelphia, PA. p. 337. ISBN 978-0-8036-2505-1.
  3. Haslam N, Probert CS (1998). "An audit of the investigation and treatment of folate deficiency". Journal of the Royal Society of Medicine. 91 (2): 72–3. PMC 1296488. PMID 9602741.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Coppen A, Bolander-Gouaille C (2005). "Treatment of depression: time to consider folic acid and vitamin B12". J Psychopharmacol. 19 (1): 59–65. doi:10.1177/0269881105048899. PMID 15671130.
  5. 5.0 5.1 5.2 Karakuła H, Opolska A, Kowal A, Domański M, Płotka A, Perzyński J (2009). "Does diet affect our mood? The significance of folic acid and homocysteine". Pol Merkur Lekarski. 26 (152): 136–41. PMID 19388520.
  6. Oakley GP Jr, Adams MJ, Dickinson CM (1996). "More folic acid for everyone, now". Journal of Nutrition. 126 (3): 751S–755S. PMID 8598560.
  7. McNulty, H (1995). "Folate requirements for health in different population groups". British Journal of Biomedical Science. 52 (2): 110–9. PMID 8520248.
  8. Stolzenberg, R (1994). "Possible folate deficiency with postsurgical infection". Nutrition in Clinical Practice. 9 (6): 247–50. doi:10.1177/0115426594009006247. PMID 7476802.
  9. Pietrzik KF, Thorand B (1997). "Folate economy in pregnancy". Nutrition. 13 (11–12): 975–7. doi:10.1016/S0899-9007(97)00340-7. PMID 9433714.
  10. Kelly, GS (1998). "Folates: Supplemental forms and therapeutic applications". Altern Med Rev. 3 (3): 208–20. PMID 9630738.
  11. Cravo ML, Gloria LM, Selhub J, Nadeau MR, Camilo ME, Resende MP, Cardoso JN, Leitao CN, Mira FC (1996). "Hyperhomocysteinemia in chronic alcoholism: correlation with folate, vitamin B-12, and vitamin B-6 status". The American Journal of Clinical Nutrition. 63 (2): 220–4. PMID 8561063.
  12. "Pregnancy and Tanning". American Pregnancy Association. มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2015.
  13. Borradale D, Isenring E, Hacker E, Kimlin MG (กุมภาพันธ์ 2014). "Exposure to solar ultraviolet radiation is associated with a decreased folate status in women of childbearing age". Journal of Photochemistry and Photobiology B: Biology. 131: 90–95. doi:10.1016/j.jphotobiol.2014.01.002.
  14. Tamparo, Carol (2011). Diseases of the Human Body (5th ed.). Philadelphia, PA: F. A. Davis Company. p. 337. ISBN 978-0-8036-2505-1.
  15. Hoffbrand, AV; Weir, DG (2001). "The history of folic acid". Br J Haematol. 113 (3): 579–589. doi:10.1046/j.1365-2141.2001.02822.x. PMID 11380441.
  16. "Folate: Evidence". Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2015.
  17. Czeizel AE, Dudás I, Vereczkey A, Bánhidy F (2013). "Folate deficiency and folic acid supplementation: the prevention of neural-tube defects and congenital heart defects". Nutrients. 5 (11): 4760–75. doi:10.3390/nu5114760. PMC 3847759. PMID 24284617.
  18. "Dietary Supplement Fact Sheet: Folate". National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]