เพลแลกรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพลแลกรา
อาการทางผิวหนังของเพลแลกรา ผิวหนังลอก, แดง และหนาตัวตรงส่วนที่โดนแดด
สาขาวิชาตจวิทยา
อาการผิวหนังอักเสบ, ท้องเสีย, ภาวะสมองเสื่อม, เจ็บปาก[1]
ประเภทปฐมภูมิ, ทุติยภูมิ[1]
สาเหตุร่างกายมีไนอาซินไม่เพียงพอ[2]
วิธีวินิจฉัยBased on symptoms[3]
โรคอื่นที่คล้ายกันควาชิออร์คอร์, เพมฟีกัส, โฟโตเดอร์มาทิทิส, พอร์ฟัยเรีย[3]
การป้องกันขจัดความยากจน[3]
การรักษาให้เสริมไนอาซินหรือนิโคทินาไมด์[1]
พยากรณ์โรคดี (หากได้รับการรักษา), เสียชีวิตใน ~ 5 ปี (ไม่ได้รับการรักษา)[3]
ความชุกพบยาก (ประเทศพัฒนาแล้ว), ค่อนข้างทั่วไป (ประเทศกำลังพัฒนา)[3]

เพลแลกรา หรือ เพลลากรา (อังกฤษ: Pellagra) เป็นโรคที่เกิดจากการขาดไนอาซิน (วิตามิน บี3)[2] อาการประกอบด้วยการอักเสบของผิวหนัง, ท้องเสีย, ภาวะสมองเสื่อม และความเจ็บปวดในปาก[1] โดยผิวหนังส่วนที่เสียดสีบ่อยหรือโดนแดดจะแสดงอาการก่อน[1] เมื่อเวลาผ่านไปผิวหนังอาจเข้มลง หลุดลอก หรือแดงขึ้น[1][3]

เพลแลกราแบ่งออกเป็นสองชนิด ปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ[1] แบบปฐมภูมิเกิดจากอาหารการกินที่มีไนอาซินกับทริพโทแฟนไม่เพียงพอ[1] แบบทุติยภูมิเกิดจากความสามารถในการเอาไนอาซินจากอาหารออกมาใช้โดยร่างกาย.[1] อาจเป้นผลจากการติดสุรา, ท้องเสียยาวนาน, โรคคาร์ซินอยด์, โรคฮาร์ทนัพ หรือยาเช่นไอโซไนอาซิด[1] การตรวจโรคนั้นประเมินตามอาการแสดงและอาจตรวจปัสสาวะร่วมด้วย[3]

การรักษาสามารถทำด้วยการเสริมไนอาซินหรือนิโคทินาไมด์[1] อาการจะดีขึ้นได้ในเวลาเพียงไม่กี่วันหรือหนึ่งอาทิตย์[1] รวมถึงมักแนะนำให้ประบอาหารการกินควบคู่ไปด้วย[3] การลดการเผชิญกับแสดงแดดด้วยการทาครีมกันแดดหรือสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดนั้นจำเป็นเพื่อให้ผิวหนังค่อย ๆ รักษาอาการ[1] และเป้นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา[3] โรคนี้พบได้มากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในแอฟริกาแถบซับซาฮารา[3]

ระบาดวิทยา[แก้]

เพลลากราอาจพบได้ทั่วไปในผู้คนที่มีแหล่งพลังงานหลักจากการกินข้าวโพด โดยเฉพาะในแถบอเมริกาใต้ ที่ซึ่งข้าวโพดเป็นอาหารหลัก หากข้าวโพดไม่ได้ถูกนำไปผ่านกระบวนการนิกซ์ทามาไลส์จะทำให้ขาดทริพโทแฟนเช่นเดียวกับไนอาซิน นอกจากนี้ในอดีต เพลลากราเคยเป็นโรคระบาดในรัฐที่ยากจนของสหรัฐ เช่นมิสซิสซิพพี กับ อะลาแบมา ที่ซึ่งปรากฏอาการของเพลลากราเป็นวงจรเสมอ ๆ ทุก ๆ ฤดูใบไม้ร่วงหลังผ่านพ้นฤดูหนาวซึ่งมีแต่เนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก จนโรคนี้เป็นที่รู้จักในเวลานั้นว่า "โรคฤดูใบไม้ร่วง" (spring sickness) รวมถึงในทัณฑสถานและสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ตามที่ได้ศึกษาโดย ดร. จอเซฟ โกลด์เบอร์เยอร์[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 Ngan, Vanessa (2003). "Pellagra". DermNet New Zealand (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2017. สืบค้นเมื่อ 10 June 2017.
  2. 2.0 2.1 "Orphanet: Pellagra". orpha.net (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2017. สืบค้นเมื่อ 10 June 2017.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 Pitche P (2005). "Pellagra". Santé. 15 (3): 205–08. PMID 16207585.
  4. Spark, Arlene (2007). Nutrition in Public Health: Principles, Policies, and Practice. CRC Press. p. 79. ISBN 978-0-203-50788-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก